คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนย้ายสิ่งปลูกสร้างพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาทของโจทก์ซึ่งมีค่าเช่าปีละ1,000บาทจำเลยให้การเพียงว่า ช. สามีโจทก์เอาเงินจากจำเลยไปซื้อที่ดินพิพาทมิได้กล่าวอ้างโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของและในการอุทธรณ์และฎีกาจำเลยก็อุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทมิได้อุทธรณ์และฎีกาในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่อย่างใดจึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทและต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงไม่เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาจำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นต่อมา

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญาเช่า ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ที่ดินของ โจทก์ มี กำหนด 3 ปี ค่าเช่า ปี ละ 1,000 บาท เมื่อ ครบ กำหนดการ เช่า แล้ว จำเลย ไม่ยอม รื้อถอน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง พร้อม ทั้ง บริวารออก ไป จาก ที่ เช่า โจทก์ มอบ ให้ ทนายความ มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่าและ ให้ ออก ไป จาก ที่ เช่า แต่ จำเลย เพิกเฉย เป็น การ ละเมิด ทำให้ โจทก์เสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง พร้อม ทั้งบริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ และ ส่งมอบ ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ใน สภาพ เรียบร้อย ให้ จำเลย ชำระ ค่าเสียหาย 5,666 บาท พร้อม ดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 2,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราเดียว กัน นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ รื้อถอน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้างพร้อม ทั้ง บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศุภโชควนกิจ โดย เมื่อ ปี 2511 นาย ชาญศักดิ์ หิรัญเรืองโชค บุตรชาย ของ จำเลย ซึ่ง เป็น สามี ของ โจทก์ ได้ นำ เงิน ของ จำเลย ไป ซื้อ ที่ดินดังกล่าว เมื่อ ปี 2519 นาย ชาญศักดิ์ ถึงแก่กรรม โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ได้รับ โอน มรดก ที่ดิน ดังกล่าว ไป และ ไม่ โอน คืน ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศุภโชควนกิจ หรือ แบ่ง ให้ ทายาท ของ นาย ชาญศักดิ์ รวมทั้ง จำเลย โจทก์ เป็น ผู้ จัดทำ หนังสือ สัญญาเช่า ตาม ฟ้อง ขึ้น เองโดย จำเลย ไม่ได้ รับ รู้ จึง มิใช่ หนังสือ สัญญาเช่า อัน ชอบ ด้วย กฎหมายที่ จะ นำ มา ฟ้องร้อง จำเลย ได้ จำเลย ไม่ได้ เป็น ผู้เช่า โจทก์ จึงไม่มี อำนาจฟ้อง และ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ขับไล่ จำเลย ให้ จำเลย รื้อถอนขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง และ บริวาร ออกจาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 7082ตำบล อินทร์บุรี (ท่างาม) อำเภอ อินทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี ของ โจทก์ ให้ จำเลย ส่งมอบ ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อยให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ปี ละ 1,000 บาท นับแต่ วันที่ 31ธันวาคม 2534 จนกว่า จำเลย จะ รื้อถอน ขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง และ บริวารออกจาก ที่ดิน ของ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอนขนย้าย สิ่งปลูกสร้าง พร้อม ทั้ง บริวาร ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ของ โจทก์อัน มีค่า เช่า ปี ละ 1,000 บาท จำเลย ให้ เพียง ว่า นาย ชาญศักดิ์ หิรัญเรืองโชค สามี โจทก์ เอา เงิน จาก จำเลย ไป ซื้อ ที่ดินพิพาท มิได้ กล่าวอ้าง โดยชัดแจ้ง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ จำเลย หรือ จำเลยมี ส่วน เป็น เจ้าของ ที่ดินพิพาท นอกจาก นั้น ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ฎีกาจำเลย ก็ อุทธรณ์ และ ฎีกา แต่เพียง ว่า จำเลย ไม่ได้ ทำ สัญญาเช่าที่ดินพิพาท และ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ และ ฎีกา ใน เรื่องกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท แต่อย่างใด จึง เป็น คดี ฟ้องขับไล่ บุคคล ใด ๆออกจาก อสังหาริมทรัพย์ อัน มีค่า เช่า ใน ขณะ ยื่นฟ้อง ไม่เกิน เดือน ละสี่ พัน บาท ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 224 ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ไม่ได้ทำ สัญญาเช่า ที่ดินพิพาท และ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ นั้น เป็น การ โต้แย้งคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ที่ ฟัง ว่า จำเลย ทำ สัญญาเช่า ที่ดินพิพาท และต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เป็น อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บท กฎหมายดังกล่าว ข้างต้น แม้ ศาลอุทธรณ์ จะ รับ วินิจฉัย ให้ ก็ ไม่ชอบ ด้วยกระบวนพิจารณา จำเลย ไม่มี สิทธิ ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ต่อมา ได้ฎีกา ของ จำเลย จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และ ยก ฎีกา ของ จำเลย ให้ บังคับคดีไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share