แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ฟ้องโจทก์เป็นการร้องขอต่อศาลให้บังคับกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของคชก.ตำบลหรือคชก.จังหวัดซึ่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคแรกให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมและตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการฯมาตรา24วรรคแรกให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในกรณีที่ศาลเห็นว่า คำชี้ขาด ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นเมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา56วรรคแรกบัญญัติให้ ผู้เช่านาต้องใช้สิทธิซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลา2ปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้หรือภายในกำหนดเวลา3ปีนับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนานั้นแต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่2เมื่อวันที่27สิงหาคม2538และโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องเมื่อประมาณเดือนมกราคม2532หลังจากนั้นจึงดำเนินการยื่นเรื่องราวต่อคชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดเวลา3ปีนับแต่จำเลยที่1โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่2คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่2จึงไม่ชอบแม้จำเลยที่1ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลเกินกำหนดเวลาตามมาตรา56และจำเลยที่2มิได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลศาลก็ต้องปฏิเสธไม่รับบังคับตาม คำชี้ขาดของคชก.ตำบลและเป็นเรื่อง อำนาจฟ้องซึ่งเป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งจำเลยที่2ก็ได้กล่าวแก้ในคำแก้ฎีกาด้วยศาลฎีกาวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ ศาล เพิกถอน การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5843 เลขที่ ดิน 209 ตำบล ลำโพ (แหลมใหญ่ฝั่งใต้) อำเภอ บางบัวทอง (ปากเกร็ด) จังหวัด นนทบุรี ที่ จำเลย ทั้ง สอง กระทำ ต่อ กัน เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2528 แล้ว ให้ จำเลย ทั้ง สองโอน ขาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ใน ราคา 20,000 บาท หาก ไม่อาจ เพิกถอน ได้ให้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ซื้อ ร่วมกัน หรือ แทน กัน กับ จำเลย ที่ 1โอน ขาย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ใน ราคา 20,000 บาท หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ปฏิบัติ ตาม ก็ ขอให้ โจทก์ ทั้ง สอง วางเงิน จำนวน 20,000 บาท ต่อ ศาลแล้ว ขอ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา โอน ขาย ที่ดิน ของจำเลย ทั้ง สอง ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การจดทะเบียน ที่ดินพิพาท ระหว่าง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 และ ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 โอน ขาย ที่ดิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สอง โดย อ้างว่า ที่ดินดังกล่าว เป็น นา ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สอง เช่า ทำนา และ จำเลย ที่ 1 โอน ขาย ให้จำเลย ที่ 2 โดย มิได้ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 และ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ยื่น เรื่องราว ต่อคชก. ตำบล ลำ โพ เพื่อ วินิจฉัย ข้อพิพาท ซึ่ง คชก. ตำบล ลำโพ วินิจฉัย ให้ โจทก์ ซื้อ ที่ดิน ดังกล่าว ตาม มาตรา 54 จำเลย ที่ 1อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ลำโพ ต่อ คชก. จังหวัด นนทบุรี แต่ คชก. จังหวัด นนทบุรี วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ยื่น เกินกำหนด จำเลย ที่ 2 ไม่ อุทธรณ์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง มี หน้าที่ปฏิบัติ ตาม คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ลำโพ เห็นว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ เป็น การ ร้องขอ ต่อ ศาล ให้ บังคับ กรณี มี การ ฝ่าฝืน หรือไม่ ปฏิบัติ ตามคำวินิจฉัย หรือ คำสั่ง อันเป็น ที่สุด ของ คชก. ตำบล หรือ คชก. จังหวัดซึ่ง ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติ ว่า ถ้า คำวินิจฉัย หรือ คำสั่ง นั้น มิใช่เป็น กรณี ที่ ระบุ ไว้ ใน มาตรา 62 เมื่อ ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอ ต่อ ศาลใน การ พิจารณา ของ ศาล ให้ ถือว่า คำวินิจฉัย หรือ คำสั่ง ดังกล่าว เป็นคำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ โดย ให้ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย การ พิจารณาพิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ใน ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มา ใช้ บังคับ แก่ การ พิจารณา พิพากษา ตาม คำวินิจฉัย หรือ คำสั่งของ คชก. ตำบล หรือ คชก. จังหวัด ใน กรณี นี้ โดย อนุโลม และ โดย การ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 บทบัญญัติ ว่าด้วยการ พิจารณา พิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ใน ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง ที่ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคแรก อ้าง ถึง นี้ ย่อม หมายถึง บทบัญญัติใน พระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ซึ่ง บัญญัติ เกี่ยวกับการ พิจารณา พิพากษา ตาม คำชี้ขาด ของ อนุญาโตตุลาการ ไว้ ใน มาตรา24 วรรคแรก ว่า ใน กรณี ที่ ศาล เห็นว่า คำชี้ขาด ใด ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ ใช้ บังคับ แก่ ข้อพิพาท นั้น หรือ เป็น คำชี้ขาด ที่ เกิดจาก การกระทำหรือ วิธีการ อัน มิชอบ อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ มิได้ อยู่ ใน ขอบเขตแห่ง สัญญา อนุญาโตตุลาการ ที่ มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมาย หรือ คำขอ ของ คู่กรณีให้ ศาล มีอำนาจ ทำ คำสั่ง ปฏิเสธ ไม่รับ บังคับ ตาม คำชี้ขาด นั้น สำหรับการ ใช้ สิทธิ ซื้อ นา ของ ผู้เช่า นา จาก ผู้รับโอน พระราชบัญญัติ การ เช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคแรก บัญญัติ ว่าผู้เช่า นา จะ ต้อง ใช้ สิทธิ ซื้อ นา ดังกล่าว ภายใน กำหนด เวลา 2 ปีนับแต่ วันที่ ผู้เช่า นา รู้ หรือ ควร จะ รู้ หรือ ภายใน กำหนด เวลา 3 ปีนับแต่ ผู้ให้เช่า นา โอน นา นั้น แต่ ตาม ฟ้อง ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1โอน ขาย ที่พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2528และ โจทก์ ทั้ง สอง ทราบ เรื่อง เมื่อ ประมาณ เดือน มกราคม 2532 หลังจาก นั้นจึง ดำเนินการ ยื่น เรื่องราว ต่อ คชก. ตำบล ลำโพ เพื่อ วินิจฉัย ข้อพิพาท เมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2532 ซึ่ง มี ความหมาย อยู่ ใน ตัว ว่า โจทก์ ทั้ง สองมิได้ ใช้ สิทธิ ซื้อ นา ภายใน กำหนด เวลา 3 ปี นับแต่ จำเลย ที่ 1 โอน ขายที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โจทก์ ทั้ง สอง จึง หมด สิทธิ ที่ จะซื้อ ที่ดินพิพาท ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคแรก แล้ว คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ลำโพ ที่ ชี้ขาด ให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 2จึง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังกล่าว แม้ จำเลย ที่ 1 ยื่น อุทธรณ์ คัดค้านคำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ลำโพ เกิน กำหนด เวลา ตาม มาตรา 56 และ จำเลย ที่ 2 มิได้ ยื่น อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ลำโพ ดัง ที่ โจทก์ ทั้ง สอง อ้าง มา ใน ฟ้อง ก็ ตาม ศาล ก็ ต้อง ปฏิเสธ ไม่รับ บังคับ ตามคำชี้ขาด ของ คชก. ตำบล ลำโพ ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก ประกอบ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 ดังกล่าว ปัญหา นี้ เป็น เรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่ง เป็น ข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนทั้ง จำเลย ที่ 2 ก็ ได้ กล่าว แก้ ใน คำ แก้ ฎีกา ด้วย ศาลฎีกา วินิจฉัย ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ปัญหา อื่นที่ โจทก์ ทั้ง สอง ฎีกา จึง ไม่ต้อง วินิจฉัย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ยกฟ้องโจทก์ ทั้ง สอง นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ”
พิพากษายืน