คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนเงินค่าเสียหายและศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควร โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยเมื่อปี2528ในราคา105,000บาทแต่จำเลยผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จึงขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้หากไม่อาจจดทะเบียนโอนให้ได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้อง(ปี2533)เป็นเงิน420,000บาทดังนั้นการที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญา ซื้อ ที่ดิน จาก จำเลย 1 แปลง เนื้อที่70 ตารางวา ใน ราคา 105,000 บาท ชำระ งวด แรก 2,100 บาท งวด ต่อไปงวด ละ 1,500 บาท จำนวน 50 งวด ส่วน ที่ เหลือ จะ ชำระ ให้ หมด ใน งวด สุดท้ายซึ่ง เป็น วัน จดทะเบียน โอน ให้ แก่ โจทก์ โจทก์ ได้ ส่ง เงิน ชำระ ค่าที่ดินให้ จำเลย ไป แล้ว 53 งวด ซึ่ง มาก กว่า ข้อกำหนด ใน สัญญา คงเหลือ แต่การ ชำระ เงิน งวด สุดท้าย และ การ จดทะเบียน โอน ให้ แก่ โจทก์ ตาม สัญญาเท่านั้น แต่ จำเลย กลับ ไม่ยอม จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ ปัจจุบัน ที่ดินดังกล่าว มี ราคา 420,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย แบ่งแยก และ จดทะเบียนโอน ที่ดิน ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ หาก จำเลย ไม่อาจ ทำการ แบ่งแยก และจดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ได้ ให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ 420,000บาท โดย คิด ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ผิดสัญญา ต่อ โจทก์ แต่ โจทก์กลับ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โดย ไม่ชำระ หนี้ ตาม สัญญา ให้ แก่ จำเลย เป็น เวลามาก กว่า 2 เดือน ติดต่อ กัน สัญญา จึง ยกเลิก ไป ตาม เงื่อนไข ที่ กำหนด ไว้ใน สัญญา จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย แบ่งแยก และ จดทะเบียน โอน ที่ดินตาม ฟ้อง ให้ โจทก์ ภายใน 7 วัน นับแต่ วัน พิพากษา และ ให้ โจทก์ ชำระค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ให้ จำเลย ด้วย หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม หรือ ปฏิบัติ ตามไม่ได้ เพราะ เหตุ นอกเหนือ กรณี ให้ จำเลย ใช้ เงิน หรือ ราคา ที่ดินให้ โจทก์ 420,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ให้ จำเลย ชดใช้ เงิน หรือราคา ที่ดิน แก่ โจทก์ เป็น เงิน 280,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ข้อ แรก ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า โจทก์ ผิดสัญญา หรือไม่ ที่ จำเลย อ้างว่า โจทก์ผ่อนชำระ ค่าที่ดิน ให้ จำเลย เพียง 6 งวด นับแต่ งวด ที่ 7 เป็นต้น มาโจทก์ ผิดนัด มา ตลอด นั้น โจทก์ เบิกความ ยืนยัน ว่า หลังจาก ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย แล้ว ได้ ชำระ เงิน งวด แรก ให้ จำเลย 2,100 บาท และ ได้ชำระ ค่างวด งวด ละ 1,500 บาท ให้ จำเลย ผ่าน ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขา วงเวียนใหญ่ และ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด สาขา สี่แยกบ้านแขก รวม 53 งวด ตาม ใบ ฝากเงิน เอกสาร หมาย จ. 2ซึ่ง เอกสาร ดังกล่าว ปรากฏว่า ได้ ส่ง เข้าบัญชี ของ จำเลย จริง แสดง ว่าจำเลย ได้รับ เงิน ค่าที่ดิน พิพาท จาก โจทก์ ไป 53 งวด แล้ว แม้ โจทก์ไม่นำ พนักงานธนาคาร มา เบิกความ รับรอง ใบ ฝากเงิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 2ก็ ไม่ทำ ให้ น้ำหนัก พยานหลักฐาน โจทก์ ดังกล่าว เสีย ไป แต่อย่างใดที่ จำเลย กล่าวอ้าง ว่า โจทก์ ผิดนัด ไม่ชำระ เงิน ค่าที่ดิน ให้ แก่ จำเลยตั้งแต่ง วดที่ 7 นั้น คง มี ตัว จำเลย เบิกความ ลอย ๆ ไม่มี น้ำหนักใน การ รับฟัง ส่วน ที่ ใบ ฝากเงิน บาง ฉบับ ลงวันที่ วันเดียว กัน โจทก์เบิกความ ว่า บางครั้ง ชำระ ไม่ ตรง งวด มี บางครั้ง ชำระ ถึง 5 งวดโดย จำเลย ก็ ยอมรับ เงิน ที่ โจทก์ ชำระ ล่าช้า ทุก งวด ย่อม แสดง เจตนา ของคู่สัญญา ได้ว่า มิได้ ถือ ประโยชน์ แห่ง เงื่อนเวลา เป็น สาระสำคัญ ฉะนั้นจำเลย จะ อ้างว่า โจทก์ ผิดสัญญา ไม่ได้ โจทก์ จึง ขอให้ บังคับ จำเลยปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข แห่ง สัญญาจะซื้อจะขาย ได้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ข้อกฎหมาย ว่าการ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท มี ราคา เพียง 280,000 บาท ไม่ใช่ราคา 420,000 บาท ตาม ที่ โจทก์ ตีราคา มา ใน ฟ้อง นั้น ชอบ ด้วย กฎหมายหรือไม่ ปัญหา นี้ ตาม คำฟ้อง โจทก์ ระบุ ว่า โจทก์ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดินพิพาท จาก จำเลย เมื่อ ปี 2528 ใน ราคา 105,000 บาท ต่อมา โจทก์ ผ่อนชำระราคา ให้ จำเลย ตาม สัญญา แล้ว แต่ จำเลย ผิดสัญญา ไม่ จดทะเบียน โอนที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ จึง ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาทให้ แก่ โจทก์ หาก ไม่อาจ จดทะเบียน โอน ให้ ได้ ให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ตาม ราคา ที่ดิน ขณะ ฟ้อง (ปี 2533) เป็น เงิน 420,000 บาท เห็นว่าราคา ที่ดิน ขณะ ฟ้อง ส่วน ที่ เพิ่มขึ้น จาก ราคา ที่ดิน ที่ ตกลง ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กัน นี้ เป็น เงิน ที่ โจทก์ ขาด ประโยชน์ เนื่องจาก การ ที่จำเลย ไม่ได้ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ เป็น ของ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อจะขายจึง ถือ เป็น การ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญาแม้ จำเลย ไม่ได้ ให้การ โต้แย้ง จำนวนเงิน ค่าเสียหาย ดังกล่าว โจทก์ผู้กล่าวอ้าง ก็ มี หน้าที่ นำสืบ ถึง จำนวน ค่าเสียหาย ของ โจทก์ และ ศาลมีอำนาจ พิจารณา กำหนด ค่าเสียหาย ให้ ตาม ที่ สมควร ดังนั้น การ ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ เป็น เงิน 280,000 บาทจึง ไม่เป็น การ วินิจฉัย นอกประเด็น หรือ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ที่ ไม่ได้ว่ากล่าว กัน มา โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น ตาม ที่ โจทก์ ฎีกา แต่อย่างใดฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share