แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกโดยยังไม่มีการกรอกข้อความ แล้วโจทก์นำสัญญานั้นไปให้บุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานและกรอกข้อความ ซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของจำเลย เพราะจำเลยลงชื่อในสัญญาดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานที่จำเลยได้กู้เงินโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อสัญญาซื้อขายที่โจทก์นำมาฟ้องปลอม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดส่งมอบข้าวเปลือกหรือชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาขายข้าวเปลือกจำนวน 22เกวียน รวมราคา 77,000 บาทให้แก่โจทก์ และได้รับเงินค่าข้าวเปลือกไปแล้ว ส่วนข้าวเปลือกโจทก์ฝากจำเลยไว้ต่อมาจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยคืนข้าวเปลือกหรือใช้ราคาแทน
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยขายข้าวเปลือกให้โจทก์และรับเงินจากโจทก์ แต่จำเลยเคยกู้เงินโดยโจทก์ให้ดจำเลยลงชื่อในสัญญาขายข้าวเปลือก ที่ยังไม่ด้กรอกข้อความ ต่อมาจำเลยชำระหนี้เงินกู้คืนแล้ว โจทก์ไม่คืนหลักฐานให้ อ้างว่าสูญหาย แล้วกรอกข้อความเท็จลงในสัญญาดังกล่าว ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “…ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่าโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในหนังสือสัญญาตามภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้องโดยที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แล้วโจทก์นำสัญญานั้นไปให้นายสุเทพลงชื่อเป็นพยานและให้นายประเทืองกรอกข้อความ ซึ่งไม่ตรงตามความประสงค์ของจำเลย เพราะจำเลยลงชื่อในสัญญาดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้เงินโจทก์ไป 10,000 บาท แต่เมื่อจเลยชำระเงินคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์ไม่คืนสัญญาให้จำเลย อ้างว่าสัญญาสูญหายไปดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมจำเลยนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อฟังว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องปลอม จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดส่งมอบข้าวเปลือกหรือชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังที่โจทก์ฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน”.