คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่นายกรัฐมนตรีจะสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ไม่เป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ป.ที่จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน มีผู้ร้องเรียนกล่าวหาผู้คัดค้านที่1ต่อคณะกรรมการป.ป.ป.ในระหว่างที่ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าผู้คัดค้านที่1ร่ำรวยผิดปกติคณะกรรมการป.ป.ป.จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนเรื่อยมาและได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลเป็นการกระทำเกี่ยวพันสืบต่อกันมาโดยมุ่งหมายถึงทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้มาในระหว่างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ขณะยื่นคำร้องผู้คัดค้านที่1เกษียณอายุราชการแล้วก็ตามส่วนผู้คัดค้านที่2และที่3นั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทนผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่1ตกเป็นของแผ่นดินพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา20ที่บัญญัติให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มาโดยมิชอบตกเป็นของแผ่นดินนั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอันเป็นวิธีการทางวินัยเท่านั้นมิใช่เป็นการลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญาอันจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและได้กำหนดโทษไว้ดังนั้นกฎหมายนี้ย้อนหลังไปบังคับถึงทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้มาโดยมิชอบและยังคงมีอยู่ในขณะที่กฎหมายนี้ใช้บังคับได้เพราะการได้ทรัพย์สินมาโดยมิชอบด้วยหน้าที่นั้นเป็นการผิดวินัยตั้งแต่ที่ได้รับมาพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518มาตรา21จัตวาเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการสอบสวนโดยมีกำหนดระยะเวลามิใช่มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ออกจากราชการไปแล้วพระราชบัญญัติญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการพ.ศ.2518ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นไม่ได้แสดงสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐพ.ศ.2524ก็ตาม

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ว่า ทรัพย์สินของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ตาม บัญชีทรัพย์ สิน ท้าย คำร้อง จำนวน69,767,380.27 บาท จาก ทรัพย์สิน ทั้งหมด ตกเป็น ของ แผ่นดิน
ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ เรียก ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 เข้า มาเป็น คู่ความ ใน คดี ศาลชั้นต้น อนุญาต
ผู้คัดค้าน ที่ 1 คัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 คัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 3 คัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล วินิจฉัยสั่ง ว่า ทรัพย์สิน ต่าง ๆ ตาม คำร้องขอ เป็น ของ แผ่นดิน ซึ่ง เป็น การ ร้องขอให้ บังคับ เอา แก่ ตัวบุคคล คือ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม เป็น สำคัญ จึง เป็นคำร้องขอ ซึ่ง ไม่เกี่ยว ด้วย ทรัพย์ ต้อง ร้องขอ ต่อ ศาล ที่ ผู้คัดค้านทั้ง สาม มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขต นั้น แต่ ปรากฏ ตาม คำร้องขอ ของ ผู้ร้องและ คำคัดค้าน ของ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ว่า ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม มี ภูมิลำเนาอยู่ ใน เขต ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ซึ่ง เป็น เขต ของ ศาลแพ่ง ธนบุรี ผู้ร้อง ชอบ ที่ จะ ยื่น คำร้องขอ ต่อ ศาลแพ่ง ธนบุรี ไม่ชอบ ที่ จะ มา ร้องขอต่อ ศาล นี้ ซึ่ง ไม่มี เขตอำนาจ พิจารณา พิพากษาคดี นี้ จึง ให้ เพิกถอนคำสั่ง ที่ ให้ รับคำ ร้องขอ ของ ผู้ร้อง เสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คืน คำร้องขอ ไปเพื่อ ให้ ผู้ร้อง ยื่น ต่อ ศาล ที่ มี เขตอำนาจ
ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม อุทธรณ์ คำสั่ง แต่ ภายหลังผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ขอ ถอน อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ อนุญาต
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้นรับคำ ร้องของผู้ร้อง ไว้ พิจารณา ต่อไป
ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา พิจารณา แล้ว ให้ ศาลชั้นต้น รับคำ ร้องของผู้ร้อง ไว้พิจารณา ที่ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฎีกา เป็น ข้อกฎหมาย ว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มี มูล ที่ จะ ร้อง และ ไม่มี กฎหมาย ใด สนับสนุน นั้น ศาลฎีกา เห็นว่ายัง ไม่ควร ชี้ขาด ใน ชั้น นี้ พิพากษายืน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ หุ้น ใน บริษัท บ้านพัก พรสวรรค์ จำกัด จำนวน 9,250 หุ้น และ 10,000 หุ้น ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และที่ 3 ถือ อยู่ มูลค่า 9,250,000 บาท และ 10,000,000 บาท ตามลำดับกับ เงินฝาก ใน ธนาคาร กสิกรไทย สาขา ปากน้ำ อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร จำนวน 23 บัญชี ได้ แก่ บัญชี เลขที่ 1543, 1544, 1545,1546, 2316, 3298, 3416, 3525, 3572, 3644, 3716, 3817, 3859,4223, 5068, 5152, 5185, 5296, 5444, 5506, 5573, 5661, และ5783 ซึ่ง ฝาก ใน นาม ผู้คัดค้าน ที่ 2 ตกเป็น ของ แผ่นดิน ให้ ผู้คัดค้านทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ใช้ ค่า ทนายความ ชั้นอุทธรณ์ แทน ผู้ร้อง1,500 บาท
ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ได้ ตาม ที่ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม นำสืบ รับ กัน ฟังได้ ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1รับราชการทหาร ตั้งแต่ ปี 2490 ถึง ปี 2528 โดย ใน ระหว่าง ปี 2515ถึง ปี 2528 ดำรง ตำแหน่ง สำคัญ คือ ผู้ช่วย ปลัด บัญชี ทหารบกรอง ปลัด บัญชี ทหารบก ปลัด บัญชี ทหารบก รองเสนาธิการ ทหารบกผู้ช่วย ผู้บัญชาการ ทหารบก รอง ปลัดกระทรวง กลาโหม ปลัดกระทรวง กลาโหมและ เกษียณอายุ ราชการ ใน วันที่ 30 กันยายน 2528 เมื่อ ปี 2494ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ สมรส กับ ผู้คัดค้าน ที่ 2 มี บุตรธิดา ด้วยกัน 4 คนผู้คัดค้าน ที่ 3 เป็น บุตร ผู้เยาว์ อยู่ ใน ความ ปกครอง ดูแล ของ ผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 2 เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2522 คณะกรรมการ ป้องกัน และปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ หรือ เรียก ชื่อ ย่อ ว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. ได้รับ การ ร้องเรียน กล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1ซึ่ง ใน ขณะ นั้น เป็น เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ว่า เป็น ผู้ ร่ำรวย ผิดปกติ จึง ได้ทำการ สืบสวน สอบสวน และ ต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ป. ได้ ประชุมครั้งที่ 40/2528 ลงวันที่ 19 กันยายน 2528 มี มติ เป็น เอกฉันท์ ว่าผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้ ร่ำรวย ผิดปกติ โดย มี ผู้คัดค้าน ที่ 2 และที่ 3 ถือ กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน ต่าง ๆ ไว้ แทน รวม มูลค่า71,094,000.23 บาท ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้านทั้ง สาม และ ผู้ร้อง มี ดังนี้
ประการ แรก ผู้ร้อง มีอำนาจ ร้อง หรือไม่ โดย ผู้คัดค้าน ทั้ง สามฎีกา อ้าง เหตุ ว่า ตาม พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริตและ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ผู้ร้องจะ ร้อง ต่อ ศาล ให้ ทรัพย์สิน ของ ผู้คัดค้าน ตกเป็น ของ แผ่นดิน ได้ ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรี ได้ พิจารณา แล้ว ลงโทษ ทางวินัย ไล่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ออกจากราชการ เมื่อ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ มี คำสั่ง เรื่อง นี้ เนื่องจากผู้คัดค้าน ที่ 1 เกษียณอายุ ราชการ เสีย ก่อน ผู้ร้อง จึง ไม่มี อำนาจร้อง นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริตและ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 เดิมบัญญัติ ว่า “เมื่อ มี พฤติการณ์ แสดง ว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้ใด ร่ำรวยผิดปกติ ให้ คณะกรรมการ พิจารณา สอบสวน และ ให้ มีอำนาจ สั่ง ให้ ผู้ นั้นแสดง สินทรัพย์ และ หนี้สิน ของ ตน ตาม รายการ วิธีการ และ ระยะเวลา ที่คณะกรรมการ กำหนด เมื่อ คณะกรรมการ สอบสวน ได้ความ ปรากฏว่า ผู้ นั้น ร่ำรวยผิดปกติ และ ไม่สามารถ แสดง ได้ว่า ร่ำรวย ขึ้น ใน ทาง ที่ชอบ ให้ ถือว่าผู้ นั้น ใช้ อำนาจ หน้าที่ โดยมิชอบ ให้ คณะกรรมการ รายงานความเห็น ต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อ พิจารณา สั่ง ลงโทษ ไล่ออก
มติ ของ คณะกรรมการ ที่ วินิจฉัย ว่า ผู้ นั้น ร่ำรวย ผิดปกติ ตามวรรคหนึ่ง ต้อง มี คะแนน เสียง อย่างน้อย สอง ใน สาม ของ กรรมการทั้งหมด
บรรดา ทรัพย์สิน ที่ คณะกรรมการ วินิจฉัย ว่า เป็น ทรัพย์สินที่ ร่ำรวย ขึ้น โดย ผิดปกติ นั้น ให้ พนักงานอัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อให้ ศาล วินิจฉัย สั่ง ว่า ทรัพย์สิน นั้น เป็น ของ แผ่นดิน เว้นแต่ ผู้ นั้น จะแสดง ให้ ศาล เห็นว่า ตน ได้ ทรัพย์สิน นั้น มา ใน ทาง ที่ชอบ ใน กรณี นี้ ให้ นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม ” ดังนี้จะ เห็น ได้ว่า เมื่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป. มี มติ ว่า เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้ใด ร่ำรวย ผิดปกติ แล้ว ขั้นตอน ต่อไป คือ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ต้องดำเนินการ ต่อไป อีก สอง ประการ ประการ แรก คือ รายงาน ความเห็นต่อ นายกรัฐมนตรี เพื่อ พิจารณา สั่ง ลงโทษ ไล่ออก ตาม มาตรา 20 วรรคแรกประการ ที่ สอง คือ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงานอัยการ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ศาล วินิจฉัย สั่ง ว่า ทรัพย์สิน นั้น เป็น ของ แผ่นดิน การ ดำเนินการ ทั้ง สองประการ นี้ ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง กัน กล่าว คือ การ ที่นายกรัฐมนตรี จะ สั่งลงโทษ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้ ร่ำรวย ผิดปกติ หรือไม่ ไม่เป็น การ ตัด อำนาจของ คณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่ จะ ส่ง เรื่อง ให้ พนักงานอัยการ ยื่นคำร้อง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ ศาล สั่ง ให้ ทรัพย์สิน ดังกล่าว ตกเป็น ของ แผ่นดินผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฎีกา อ้าง เหตุ ประการ หนึ่ง ว่า พระราชบัญญัติ ป้องกันและ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ พ.ศ. 2518ใช้ บังคับ เฉพาะ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ เกษียณอายุราชการ ไป ก่อน ที่ ผู้ร้อง จะ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล และ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และที่ 3 ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้ร้อง จึง ไม่มี อำนาจ ร้อง เห็นว่าตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว มี เจตนารมณ์ ที่ จะ ใช้ บังคับ แก่เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่ ได้ ทรัพย์สิน มา โดยมิชอบ ใน ระหว่าง เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เท่านั้น สำหรับ กรณี เรื่อง นี้ ได้ มี ผู้ร้องเรียนกล่าวหา ผู้คัดค้าน ที่ 1 ต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ป. เมื่อ วันที่18 ตุลาคม 2522 ใน ระหว่าง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 ร่ำรวย ผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ป.จึง ได้ ทำการ สืบสวน สอบสวน เรื่อย มา และ ได้ ส่ง เรื่อง ให้ ผู้ร้อง ยื่นคำร้อง ต่อ ศาล เป็น การกระทำ เกี่ยวพัน สืบต่อ กัน มา โดย มุ่งหมายถึง ทรัพย์สิน ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ มา ใน ระหว่าง เป็น เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ส่วน ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่ ของรัฐแต่ เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แทน ผู้คัดค้าน ที่ 1 ผู้ร้อง จึง มีอำนาจ ยื่น คำร้อง ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฎีกา อ้าง เหตุ ประการ หนึ่ง ว่าพระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีผลย้อนหลัง ไป บังคับ ทรัพย์สิน หลาย รายการของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ที่ ได้ มา ก่อน กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ เห็นว่าพระราชบัญญัติ นี้ ใช้ บังคับ ถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่ ได้ มาโดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ ใน ความ ครอบครอง ของ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ผู้ นั้นหรือ บุคคลอื่น ซึ่ง ถือ กรรมสิทธิ์ ไว้ แทนที่ กฎหมาย นี้ บัญญัติ ให้ ศาล สั่งให้ ทรัพย์สิน ที่ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ได้ มา โดย ไม่ชอบ ตกเป็น ของ แผ่นดินตาม มาตรา 20 นั้น เป็น เพียง วิธีการ ที่ จะ ป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ อันเป็น วิธีการ ทางวินัยเท่านั้น มิใช่ เป็น การ ลงโทษ แก่ ผู้กระทำ ความผิด ทางอาญาอัน จะ ต้อง อยู่ ภายใต้ บังคับ ของ หลักกฎหมาย ที่ ว่า บุคคล จะ ต้อง รับโทษทางอาญา ต่อเมื่อ ได้ กระทำการ อัน กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ กระทำ นั้น บัญญัติเป็น ความผิด และ ได้ กำหนด โทษ ไว้ ดังนั้น กฎหมาย นี้ ย้อนหลัง ไป บังคับถึง ทรัพย์สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่ ได้ มา โดยมิชอบ และ ยัง คง มี อยู่ใน ขณะที่ กฎหมาย นี้ ใช้ บังคับ ได้ เพราะ การ ได้ ทรัพย์สิน มา โดยมิชอบด้วย หน้าที่ นั้น เป็น การ ผิด วินัย ตั้งแต่ ที่ ได้รับ มา ส่วน ที่พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการพ.ศ. 2518 มาตรา 21 จัตวา บัญญัติ มี ใจความ ว่า เมื่อ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ถูก กล่าวหา ว่า ทุจริต หรือ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ และคณะกรรมการ มี มติ ให้ รับ ไว้ พิจารณา ตาม มาตรา 20 แล้ว แม้ ภายหลังผู้ นั้น จะ พ้น จาก การ เป็น เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ไป ด้วย เหตุอื่น นอกจาก ตายก็ ให้ คณะกรรมการ มีอำนาจ ดำเนินการ ต่อไป ได้ แต่ ต้อง ดำเนินการให้ แล้ว เสร็จ ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วันที่ ผู้ นั้น พ้น จาก การ เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ บทบัญญัติ ดังกล่าว ให้ อำนาจ คณะกรรมการ สอบสวนโดย มี กำหนด ระยะเวลา มิใช่ ว่า กฎหมาย มิให้ ใช้ บังคับ แก่ ผู้ที่ ออกจาก ราชการ ไป แล้ว ดัง ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ฎีกา ไม่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ฎีกาอ้าง เหตุ ว่า กระทรวงกลาโหม ไม่ได้ มี คำสั่ง ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 แสดงสินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย การแสดง สินทรัพย์และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ พ.ศ. 2524 มาตรา 3(1)กระทรวงกลาโหม เพิ่ง มี คำสั่ง ดังกล่าว หลังจาก ผู้คัดค้าน ที่ 1เกษียณอายุ ราชการ ไป แล้ว ผู้คัดค้าน ที่ 1 จึง ไม่อยู่ ใน บังคับ แห่งพระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการพ.ศ. 2518 เห็นว่า การ ตรา พระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว ขึ้น ก็ โดย อาศัยอำนาจ ตาม ความใน มาตรา 159 ของรัฐ ธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทยพุทธศักราช 2521 และ มาตรา 23 แห่ง พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ ดังนั้นพระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 จึง ใช้ บังคับ แก่ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ทุกคนซึ่ง คำ ว่า “เจ้าหน้าที่ ของรัฐ ” คือ บุคคล ประเภท ใด ได้ บัญญัติ คำจำกัด ความ ไว้ ใน มาตรา 3 แล้ว ดังนั้น แม้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ไม่ได้ แสดงสินทรัพย์ และ หนี้สิน ตาม พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย การแสดง สินทรัพย์และ หนี้สิน ของ เจ้าหน้าที่ ของรัฐ พ.ศ. 2524 ก็ ต้อง ถูก บังคับตาม พระราชบัญญัติ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบใน วงราชการ พ.ศ. 2518 ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ที่ดิน ที่ ตำบล ปากน้ำ อำเภอ เมือง ชุมพร จังหวัด ชุมพร โฉนด เลขที่ 2562, 3126 น.ส.3 ก. เลขที่ 79ที่ดิน ที่ ตำบล ยายซา อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม โฉนด เลขที่ 28719, 28720, 28721, 28722, 28832 บ้าน เลขที่ 23/2 ซอย วิพัชร ตำบลยายซา อำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม บ้าน เลขที่ 276 และ 317 ซอย 27 ถนน สุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขต ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เงินฝาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา สามพราน บัญชี เลขที่ 747 บัญชี เงินฝาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา พระประแดง บัญชี เลขที่ 125208716-6 บัญชี เงินฝาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา บุคคโล 2 บัญชี บัญชี เลขที่ 1142048618บัญชี เลขที่ 1142030442 บัญชี เงินฝาก ธนาคาร ออมสิน สาขา ราษฎร์บูรณะ 2 บัญชี บัญชี เลขที่ 398-3 บัญชี เลขที่ 1924-3บัญชี เงินฝาก ธนาคาร ออมสิน สาขา สามพราน 1 บัญชี บัญชี เลขที่ 16752-1 ตกเป็น ของ แผ่นดิน ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เงิน ที่ ฝาก ไว้ ที่ ธนาคาร ตาม หลักฐาน ที่ มี ชื่อผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 มี ชื่อ อยู่ ให้ แก่ กระทรวงการคลัง หาก ไม่ โอนให้ ให้ ถือ คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share