แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
เมื่อผู้จัดการมรดกยังไม่ได้จัดการโอนทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้การจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นแม้ต่อมาผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมจะถึงแก่ความตายผู้จัดการมรดกก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดการตามที่จำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดแห่งพินัยกรรมโดยการสืบหาทายาทของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมเพื่อแจ้งให้ทราบและรับโอนทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719ซึ่งไม่ใช่เป็นการจัดการมรดกของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาล มี คำสั่ง ตั้งผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ตาม พินัยกรรม ของ นาง ละเมียด หมู่พยัคฆ์ ผู้ตาย ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน และ ขอให้ ตั้ง ผู้คัดค้าน เป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดกของ นาง ละเมียด ผู้ตาย ยก คำคัดค้าน ของ ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้าน อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน ผู้คัดค้าน ฎีกา ศาลฎีกา พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ยื่น คำร้อง ว่า คดี นี้ ได้ อ่าน คำพิพากษา ศาลฎีกาเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน 2536 แต่ ขณะ คดี อยู่ ใน ระหว่าง พิจารณาของ ศาลฎีกา นาย ดุษฎี ผู้รับพินัยกรรม ถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 18 เมษายน 2535 ผู้ร้อง ยัง มิได้ จัดการ โอน มรดก ให้ แก่ นาย ดุษฎี ตาม พินัยกรรม เมื่อ พินัยกรรม มี ลักษณะ เฉพาะ คือ ระบุ ยก ที่ดิน ให้ แก่นาย ดุษฎี เพียง ผู้เดียว ผู้ร้อง จึง จะ โอน ที่ดิน ให้ แก่ ผู้อื่น ไม่ได้ ดังนั้น ผู้ร้อง จึง หมด หน้าที่ จัดการ มรดก ตาม พินัยกรรม ขอให้ มี คำสั่งเพิกถอน ผู้ร้อง ออกจาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก และ ตั้ง ผู้คัดค้านเป็น ผู้จัดการมรดก แทน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ผู้ร้อง ยัง ไม่ หมด หน้าที่ ใน การ เป็นผู้จัดการมรดก ให้ยก คำร้อง
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า ก่อน นาง ละเมียด ถึงแก่ความตาย ได้ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์มรดก ที่ดิน 2 แปลง ให้ แก่ นาย ดุษฎี ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง ละเมียด ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา เมื่อ วันที่ 18 เมษายน 2535 นาย ดุษฎี ผู้รับพินัยกรรม ถึงแก่ความตาย โดย ผู้ร้อง ยัง มิได้ โอน มรดก ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง ของ นาง ละเมียด ให้ แก่ นาย ดุษฎี มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ว่า ผู้ร้อง หมด หน้าที่ จัดการมรดก ตาม พินัยกรรม แล้ว หรือไม่ ผู้คัดค้าน อ้างว่า เมื่อ นาย ดุษฎี ซึ่ง เป็น ผู้รับพินัยกรรม ลักษณะ เฉพาะ ถึงแก่ความตาย โดย ที่นาย ดุษฎี ยัง ไม่ได้ รับ ทรัพย์ ตาม พินัยกรรม สิทธิ ใน การ รับมรดก ยัง ไม่ ตกทอด ไป ยังทายาท ของ นาย ดุษฎี ผู้ร้อง จึง หมด หน้าที่ จัดการ มรดก ตาม พินัยกรรม ของ นาง ละเมียด และ ผู้ร้อง ไม่ใช่ ผู้จัดการมรดก ของ นาย ดุษฎี จึง ไม่มี หน้าที่ จัดการ มรดก ของ นาย ดุษฎี ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อ นาง ละเมียด ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดก ที่ดิน 2 แปลง ตาม พินัยกรรม ย่อม ตกทอด ไป ยัง นาย ดุษฎี ผู้รับพินัยกรรม ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาง ละเมียด มีสิทธิ หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง จัดการ รวบรวม และ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ทั้ง สอง แปลงให้ แก่ นาย ดุษฎี เมื่อ ต่อมา นาย ดุษฎี ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดก ของ นาย ดุษฎี ย่อม ตกทอด แก่ ทายาท ของ นาย ดุษฎี ต่อไป แต่ เนื่องจาก ผู้ร้อง ยัง มิได้ จัดการ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน 2 แปลง ดังกล่าว ให้ แก่นาย ดุษฎี การ จัดการ มรดก จึง ยัง ไม่ เสร็จสิ้น ผู้ร้อง ยัง มี หน้าที่ จัดการ ตาม ที่ จำเป็น เพื่อ ให้การ เป็น ไป ตาม คำสั่ง แจ้งชัด แห่ง พินัยกรรมของ นาง ละเมียด โดย สืบหา ทายาท ของ นาย ดุษฎี เพื่อ แจ้ง ให้ ทราบ และ รับโอน มรดก ที่ดิน 2 แปลง ของ นาย ดุษฎี ตาม ประมวล กฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1719 ซึ่ง มิใช่ เป็น การ จัดการ มรดก ของ นาย ดุษฎี แต่อย่างใด ผู้ร้อง จึง ยัง ไม่ หมด หน้าที่ ใน การ จัดการ มรดก ตาม พินัยกรรมของ นาง ละเมียด
พิพากษายืน