คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2150/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

แม้ลูกจ้างซึ่งทำงานขนส่งจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ36(3)ก็ตามแต่นายจ้างก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกตินั้นหาใช่ว่าเมื่อลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่.

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เคย เป็น ลูกจ้าง ประจำของ จำเลย โดย โจทก์ สำนวน แรก เป็น พนักงาน ขับรถ ปรับอากาศ โจทก์สำนวน หลัง เป็น พนักงาน ต้อนรับ ประจำรถ ปรับอากาศ ระหว่าง ที่ โจทก์ทั้ง สอง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย นั้น จำเลย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ทำงานเกินกว่า ชั่วโมง ทำงาน ตาม ปกติ โดย ไม่ จ่าย ค่าล่วงเวลา ให้ และจำเลย ค้าง จ่าย ค่า ทำงาน ใน วันหยุด ประจำ สัปดาห์ ค่า ทำงาน ในวันหยุด ตาม ประเพณี และ ค่า ทำงาน ใน วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี แก่โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ยัง ต้อง คืน เงิน ประกัน แก่ โจทก์ ทั้ง สองอีก ด้วย ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย เงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ ทั้ง สองหาก ศาล พิจารณา เห็น ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ ควร จะ ได้ รับ ค่าล่วงเวลา ก็ ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ใน ชั่วโมง ที่ จำเลย ให้โจทก์ ทั้ง สอง ทำงาน เกิน เวลา ทำงาน ปกติ วัน ละ 8 ชั่วโมง แก่ โจทก์ด้วย
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ ได้ ทำงานล่วงเวลา และ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ล่วงเวลาเพราะ เป็น งาน ขนส่ง ซึ่ง กฎหมาย ยกเว้น ค่าล่วงเวลา โจทก์ทั้ง สอง มี วันหยุด ประจำ สัปดาห์ และ ไม่ เคย ทำงาน ใน วันหยุดประจำ สัปดาห์ หาก โจทก์ ทั้ง สอง ทำงาน ใน วันหยุด ประจำ สัปดาห์ จำเลยได้ จ่าย ค่าจ้าง แล้ว และ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ใน การ ทำงาน วันหยุดตาม ประเพณี และ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี แก่ โจทก์ ทั้ง สอง แล้วระหว่าง ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ทำงาน จำเลย ได้ จ่าย เบี้ยเลี้ยง เป็นพิเศษ ไม่ ได้ จ่าย ค่าจ้าง ใน ชั่วโมง ทำงาน ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ทำงานเกินกว่า เวลา ปกติ เพราะ งาน ที่ โจทก์ ทำ เป็น งาน ขนส่ง ซึ่ง จำเลยไม่ ต้อง จ่าย ค่าล่วงเวลา ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าล่วงเวลาและ ค่าจ้าง ใน ชั่วโมง ที่ ทำงาน เกิน เวลา ปกติ เบี้ยเลี้ยง ที่ โจทก์ได้ รับ ถือ เป็น ค่าตอบแทน การ ทำงาน ใน ชั่วโมง ที่ ทำงาน มากกว่าชั่วโมง ทำงาน ปกติ ไป ด้วย แล้ว ให้ จำเลย จ่าย ค่า ทำงาน ใน วันหยุดประจำ สัปดาห์ ค่า ทำงาน ใน วันหยุด ตาม ประเพณี และ ค่าทำงาน ในวันหยุด พักผ่อน ประจำปี แก่ โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน คำขอ อื่น ให้ ยก
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ทั้ง สอง สำนวนอุทธรณ์ เป็น ทำนอง เดียวกัน ว่า จำเลย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ทำงานเกินกว่า วัน ละ แปด ชั่วโมง โดย ไม่ ได้ รับ อนุญาต จาก อธิบดี หรือผู้ ซึ่ง อธิบดี มอบหมาย จึง ต้อง จ่าย ค่าจ้าง ใน ชั่วโมง ที่ จำเลยให้ โจทก์ ทำงาน เกิน เวลา ปกติ และ เงิน เบี้ยเลี้ยง ที่ จำเลย จ่ายแก่ โจทก์ ทั้ง สอง มิใช่ เป็น ค่า ตอบแทน การ ทำงาน เกิน เวลา ปกตินั้น ศาลฎีกา เห็น ว่า ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลง วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 36 (3) ซึ่ง กำหนด ว่าลูกจ้าง ที่ ทำงาน ใน งาน ขนส่ง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ล่วงเวลา ในชั่วโมง ที่ ทำงาน เกิน เวลา ทำงาน ปกติ แต่ จำเลย ก็ ยัง คง มีหน้าที่ ต้อง จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ สำหรับ เวลา ที่ ทำงาน เกินเวลา ทำงาน ปกติ นั้น หา ใช่ ว่า เมื่อ ลูกจ้าง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับค่า ล่วงเวลา แล้ว จะ ถูก ตัดสิทธิ มิให้ ได้ รับ ค่าจ้าง ธรรมดา ไปด้วย ไม่ และ เมื่อ ได้ พิจารณา ถึง เงินเดือน ของ โจทก์ ที่ 1 ได้เงินเดือน เพียง เดือนละ 1,110 บาท (วันละ 37 บาท) โจทก์ ที่ 2 เดือนละ810 บาท (วันละ 27 บาท) ด้วย แล้ว จะ เห็น ได้ ว่า เป็น เงิน จำนวนน้อยมาก แม้ โจทก์ ทั้ง สอง จะ ได้ เบี้ยเลี้ยง เป็น รายเที่ยว เมื่อเทียบ กับ เวลา ทำงาน ที่ ต้อง ทำงาน เกิน เวลา ทำงาน ปกติ แต่ ละเที่ยว เป็น ส่วนหนึ่ง ของ ค่าจ้าง ตาม เกณฑ์ คำนวณ โดย ละเอียด ของศาลแรงงานกลาง โจทก์ที่ 1 จะ ได้ ค่าจ้าง วันละ 115.90 บาท โจทก์ ที่ 2วัน ละ 61.70 บาท โจทก์ ทั้ง สอง จึง ย่อม มี สิทธิ ได้ ค่าตอบแทนสำหรับ เวลา ที่ ทำงาน เกิน เวลา ปกติ ตาม จำนวน เวลา ที่ โจทก์ แต่ ละคน ได้ ทำงาน เกิน ไป จาก วันละ 8 ชั่วโมง นั้น
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ใน ส่วน ที่ ให้ โจทก์ที่ 1 ทำงาน เกิน เวลา ใน วัน ทำงาน ปกติ เป็น เงิน 8,462.16 บาท และจ่าย แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 4,812.60 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ สิบห้า ต่อปี ของ ต้นเงิน แต่ละ จำนวน นับแต่ วัน ที่ โจทก์แต่ละ คน ลาออก จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share