คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทและทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้แก่จำเลยโดยจำเลยยอมยกทรัพย์สินดังกล่าวส่วนหนึ่งให้บุคคลภายนอกและอีกส่วนหนึ่งจำเลยยอมโอนคืนให้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมยกยุ้งข้าว1หลังให้แก่จำเลยบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องที่โจทก์จำเลยได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามสัญญาว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850-852โจทก์จำเลยจึงไม่มีความผูกพันต่อกันตามสัญญาให้เดิมโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น บุตร ของ โจทก์ เมื่อ ปี 2524 โจทก์ ได้ยก ที่ดิน ทั้ง สี่ แปลง และ ยุ้งข้าว หนึ่ง หลัง ซึ่ง รวมเป็น ราคา ทั้งสิ้น67,000 บาท ให้ จำเลย โดยเสน่หา ครั้น เมื่อ เดือน ธันวาคม 2532 จำเลยประพฤติ เนรคุณ โดย หมิ่นประมาท โจทก์ อย่างร้ายแรง และ บอกปัดไม่ให้ สิ่งจำเป็น เลี้ยง ชีวิต แก่ โจทก์ ใน เวลา ที่ โจทก์ ยากไร้ และ จำเลยยัง สามารถ ให้ ได้ ขอให้ พิพากษา เพิกถอน คืน การ ให้ และ บังคับจำเลย ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ทั้ง สี่ แปลง คืน ให้ โจทก์ ภายใน 15 วัน หากจำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ให้ ที่ดิน จำเลย สอง แปลง โดย มีค่า ตอบแทนและ เป็น การ ให้ โดย ศีลธรรม จรรยา เพราะ จำเลย เป็น ผู้ เลี้ยงดู โจทก์เพียง ผู้เดียว จำเลย ไม่เคย ประพฤติ เนรคุณ โจทก์ ได้ ให้การ เลี้ยงดูและ ให้ เกียรติโจทก์ ตลอดมา ไม่เคย ด่า โจทก์ หรือ ขับไล่ แต่ โจทก์ออกจาก บ้าน จำเลย ไป อยู่ กับ บุตร คนอื่น ของ โจทก์ เอง โจทก์ จึง ฟ้อง เรียกถอน คืน การ ให้ ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาง เคล็ม กรุมรัมย์ ทายาท ของ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ เล่ม ที่ 26 หน้า 148 สารบบ เล่มหมู่ ที่ 2 ตำบล สวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์ และ เล่ม ที่ 33 หน้า 123 สารบบ เล่ม หมู่ ที่ 7 ตำบล เสม็ด อำเภอ เมือง บุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์ คืน ให้ โจทก์
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่า โจทก์แต่งงาน กับ นาง บุญ กรุมรัมย์ แต่ มิได้ จดทะเบียนสมรส กัน ตาม กฎหมาย มี บุตร ด้วยกัน 3 คน คือ นาง เคล็ม กรุมรัมย์ จำเลย และ นาง ควน หรือ ควรหรือคราญ กรุมรัมย์ นาง บุญ ตาย ไป ประมาณ 15 ปี แล้ว เมื่อ ปี 2524 โจทก์ ได้ ยก ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ตำบล สวายจีก และ ตำบล เสม็ด อำเภอ เมือง บุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์ เนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา และ 11 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวาตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 ตามลำดับ ซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท และ ที่ดินแปลง อื่น อีก ให้ แก่ จำเลย ต่อมา ปี 2532 โจทก์ จำเลย ได้ ทำ บันทึก ข้อตกลงกัน เกี่ยวกับ ที่ดิน และ ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ ยกให้ แก่ จำเลย ตาม บันทึกข้อตกลง เอกสาร หมาย จ. 3 มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์มีสิทธิ เรียก ถอน คืน การ ให้ ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 เพราะเหตุ จำเลย ประพฤติ เนรคุณ หรือไม่
ศาลฎีกา เห็นสมควร ยก ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง ของโจทก์ ขึ้น วินิจฉัย ก่อน ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความ ว่า ภายหลัง จาก โจทก์ ยก ที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2ให้ แก่ จำเลย เมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน 2524 แล้ว ต่อมา วันที่2 พฤษภาคม 2532 โจทก์ จำเลย ได้ ทำ บันทึก ข้อตกลง เกี่ยวกับ ที่ดิน และทรัพย์สิน ที่ โจทก์ ยกให้ แก่ จำเลย ดังกล่าว รวมทั้ง ที่ดิน ตาม เอกสาร หมายจ. 1 และ จ. 2 ต่อหน้า นาย พวง ผู้ใหญ่บ้าน มี ใจความ ว่า ที่ดิน และ ทรัพย์สิน ที่ ยกให้ แก่ จำเลย และ เป็น ชื่อ ของ จำเลย แล้ว นั้น ที่ดิน ที่เป็น ที่ สำหรับ เพาะปลูก 1 แปลง จำเลย ยอม ยกให้ นาย ศักดิ์ วันดารัมย์ และ นาง ควน กรุมรัมย์ ส่วน ที่ดิน สำหรับ อยู่อาศัย และ สำหรับ เพาะปลูก อีก อย่าง ละ แปลง รวม 2 แปลง จำเลย ยอม โอน คืน ให้ แก่ โจทก์ โดย โจทก์ยอม ยก ยุ้งข้าว 1 หลัง ให้ แก่ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 นอกจาก นี้โจทก์ และ จำเลย ต่าง ก็ เบิกความ ยืนยัน ว่า ได้ ตกลง ทำ บันทึก เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 จริง ซึ่ง บันทึก ดังกล่าว มี ลักษณะ เป็นสัญญา ที่ โจทก์ และ จำเลย ตกลง ระงับ พิพาท ซึ่ง มี อยู่ หรือ จะ มี ขึ้นเกี่ยวกับ ที่ดิน และ ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ ยกให้ แก่ จำเลย ดังกล่าว นั้น ให้เสร็จ ไป ด้วย ต่าง ยอม ผ่อนผัน ให้ แก่ กัน บันทึก ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมายจ. 3 จึง เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850, 851 การ เรียกร้อง ที่ โจทก์ จำเลย ได้ ยอม สละ นั้น จึง ระงับสิ้นไป และ ทำให้ แต่ละ ฝ่าย ได้ สิทธิ ตาม ที่ แสดง ใน สัญญา นั้น ว่า เป็นของ ตน ตาม มาตรา 852 โจทก์ จำเลย จึง ไม่มี ความผูกพัน ต่อ กัน ตาม สัญญาให้ ที่ โจทก์ ยก ที่ดิน และ ทรัพย์สิน รวมทั้ง ที่ดินพิพาท ตาม เอกสาร หมายจ. 1 และ จ. 2 ให้ แก่ จำเลย อีก ต่อไป เมื่อ ไม่มี การ ให้ ที่ จะ เรียกถอน คืน การ ให้ โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง เรียก ถอน คืน การ ให้ ที่ดินพิพาทดังกล่าว จาก จำเลย และ เกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง เป็น ข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบ มาตรา 246,247 คดี ไม่ต้อง วินิจฉัย ประเด็น อื่น อีก ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ให้เพิกถอน คืน การ ให้ ที่ดินพิพาท มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาฎีกา จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ

Share