คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เงินที่จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องเมื่อไม่ปรากฏตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่1เพราะเหตุที่จำเลยที่1ค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยนับแต่วันที่จำเลยที่1ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224จึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปีตามมาตรา164เดิม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง หก ร่วมกัน ชำระ เงิน 207,906.95บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 119,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ศาลชั้นต้น รับฟ้อง เฉพาะ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ คิด ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่12 กันยายน 2523 ถึง วันฟ้อง เพราะ เกินกว่า 10 ปี หาก โจทก์ มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ก็ เรียก ได้ไม่ เกิน 5 ปี ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ เพราะฟ้องคดี เมื่อ เกิน 10 ปี ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า จำเลย ทำ สัญญา ซื้อ ปุ๋ย จากโจทก์ แต่ ชำระ ราคา ไม่ครบ ถ้วน จึง ตกเป็น ผู้ผิดนัด ต้อง ชำระ ราคาที่ ค้าง พร้อม ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ ก่อน ฟ้อง เพียง ไม่เกิน 5 ปี พิพากษาให้ จำเลย ชำระ เงิน 119,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 30 สิงหาคม 2528 เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลชั้นต้น รับฟ้อง เฉพาะ จำเลย ที่ 1และ โจทก์ ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย การ วินิจฉัย ปัญหาเช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลยที่ 1 ทำ สัญญา ซื้อ ปุ๋ย และ รับมอบ ปุ๋ย ตาม ฟ้องโจทก์ และ ตาม เอกสารหมาย จ. 4 แต่ ชำระ ค่า ปุ๋ย ให้ โจทก์ เพียง 61,600 บาท คง ค้างชำระ119,000 บาท จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง รับผิด ชำระ ค่า ปุ๋ย ที่ ค้าง พร้อมดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ จำเลย ผิดนัด คือ วันที่ 12 กันยายน 2523 มี ปัญหาตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า โจทก์ มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ เกินกว่า5 ปี หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกา ว่า เงิน ดอกเบี้ย ที่ โจทก์ เรียกร้อง เป็น การเรียก ทดแทน ความเสียหาย เป็น ค่าบริการ เป็น เงิน อัน เกิดจาก การ ปฏิบัติผิดสัญญา ของ จำเลย ที่ 1 โจทก์ จึง มีสิทธิ เรียกร้อง ดอกเบี้ย ภายใน 10 ปีไม่ใช่ 5 ปี
พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ เงิน โจทก์ ค่าซื้อ ปุ๋ยตาม ฟ้อง แต่เมื่อ ไม่ปรากฏ ตาม สัญญา และ หนังสือ ขอ ซื้อ ปุ๋ย เชื่อเอกสาร หมาย จ. 4 ว่า ใน กรณี ที่ จำเลย ที่ 1 ค้างชำระ หนี้ ค่า ปุ๋ยส่วน ใด ส่วน หนึ่ง โจทก์ ผู้ขาย มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย จาก จำนวนเงิน ที่ค้างชำระ แล้ว ดอกเบี้ย ซึ่ง โจทก์ มีสิทธิ เรียก จาก จำเลย ที่ 1 เพราะเหตุ ที่ จำเลย ที่ 1 ค้างชำระ หนี้ ค่า ปุ๋ย จำนวน 119,000 บาท นับแต่วันที่ จำเลย ที่ 1 ผิดนัด คือ วันที่ 12 กันยายน 2523 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก จึง ไม่ใช่ ดอกเบี้ยค้าง ส่ง ตาม มาตรา 166 (เดิม ) หาก เป็น ดอกเบี้ย ที่ กำหนด ทดแทนค่าเสียหาย ภายหลัง เมื่อ ศาล พิพากษาคดี อัน ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ อายุความฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย เช่นนี้ ไว้ โดยเฉพาะ จึง ต้อง ใช้ อายุความทั่วไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 (เดิม ) ซึ่งมี กำหนด 10 ปี หาใช่ 5 ปี ดั่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ไม่ โจทก์จึง มีสิทธิ ได้ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี คำนวณ จาก ต้นเงิน119,000 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 12 กันยายน 2523 ซึ่ง จำเลย ที่ 1ผิดนัด จน ถึง วันฟ้อง วันที่ 30 สิงหาคม 2533 เป็น จำนวนเงิน 88,906.95บาท และ จนกว่า จำเลย ที่ 1 ชำระ เสร็จสิ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน 119,000 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่12 กันยายน 2523 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จสิ้น นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share