แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยเป็นผู้แจ้งกำหนดเวลาที่เรือจะเข้าเทียบท่าให้แก่ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้นำใบตราส่งไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้าจากจำเลยเพื่อนำไปขอรับสินค้าจากเรือและเป็นผู้ดำเนินการติดต่อทำพิธีการกับเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรกรมเจ้าทากองตรวจคนเข้าเมืองและการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อการนำเรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่าและมีสิทธิเรียกเก็บค่าระวางและค่าบริการที่ชำระปลายทางได้โดยได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในการขนส่งหลายทอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608และ618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเลเมื่อสินค้าที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือบุบสลายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ผู้รับขนส่ง ทางทะเลเพื่อ บำเหน็จ เป็น ทาง ค้า ปกติ ของ ตน ดำเนินงาน ร่วม กับ บริษัท ขนส่งใน ต่างประเทศ โดย เป็น ผู้ขนส่ง ทอด สุดท้าย โจทก์ ได้รับ ประกันภัยความเสียหาย ของ ปุ๋ย เคมี ให้ ไว้ แก่ บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด จำนวน 2 รายการ แต่ ปรากฏว่า ผู้ขนส่ง ได้ ส่งมอบ ปุ๋ย เคมี ให้ แก่บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด ไม่ครบ จำนวน และ ยัง มี ปุ๋ย เคมี ได้รับ ความเสียหาย คิด เป็น ความเสียหาย ตาม มูลค่า ที่ เอา ประกัน ทั้งสิ้นจำนวน 122,079.94 บาท จำเลย มี หน้าที่ ต้อง ชดใช้ ให้ แก่ บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด แต่ จำเลย เพิกเฉย โจทก์ ได้ ชดใช้ ค่าเสียหาย ดังกล่าว ให้ บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด ไป จึง เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ ของ บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด ขอให้ บังคับ จำเลย ชดใช้ เงิน 126,896.25 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 122,079.94 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่ใช่ ผู้ขนส่ง ร่วม หรือ ผู้ขนส่ง ทอด สุดท้ายจำเลย เป็น เพียง ผู้รับจ้าง ติดต่อ ประสานงาน กับ การท่าเรือแห่งประเทศไทยใน การ นำ เรือ เข้า หรือ ออก และ ขนของ ขึ้น ลง จาก เรือ กับ ส่งมอบ สินค้าพิพาท ให้ แก่ ผู้รับ สินค้า เท่านั้น ความเสียหาย ที่ โจทก์ ได้รับ จาก การขนส่ง สินค้า พิพาท เป็น ความเสียหาย ที่ โจทก์ ก่อ ให้ เกิดขึ้น ด้วยความสมัครใจ เพราะ ผู้เอาประกัน ทำ ผิด เงื่อนไข ที่ เอา ประกันภัย ไว้นอกจาก นี้ ความเสียหาย ดังกล่าว เป็น ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น หลังจากที่ ได้ ขนถ่าย สินค้า ออกจาก เรือ แล้ว ผู้ขนส่ง จึง ไม่ต้อง รับผิดชอบค่าเสียหาย ก็ ไม่เกิน 1,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน70,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยข้อ แรก มี ว่า จำเลยร่วม ขนส่ง สินค้า พิพาท กับ ผู้ขนส่ง อันเป็น การ ขนส่งหลาย ทอด หรือไม่ ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ว่า บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด สั่ง ซื้อ สินค้า พิพาท จาก บริษัท เคโมลิมเป็กซ์ฮังกาเรียน เทรดดิ้ง จำกัด ประเทศ ฮังการี บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด เอา ประกันภัย สินค้า ดังกล่าว ไว้ กับ โจทก์ บริษัท เคโมลิมเป็กซ์ฮังกาเรียน เทรดดิ้ง จำกัด ได้ว่า จ้าง บริษัท โปลิซโอเชี่ยนไลนส์กะดินเนีย จำกัด ขนส่ง สินค้า ทางทะเล มา ยัง กรุงเทพมหานคร เรือ โคนิน ซึ่ง บรรทุก สินค้า ดังกล่าว มา ถึง ท่าเรือ กรุงเทพ ฯ เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ก่อน ที่ เรือ บรรทุก สินค้าพิพาท จะ มา ถึง ประเทศ ไทย จำเลย เป็น ผู้แจ้ง กำหนด เวลา ที่ เรือ จะ เข้าเทียบท่า ให้ แก่ บริษัท เกียรติเสริมกิจ จำกัด ผู้รับตราส่ง ทราบ เพื่อ ให้ ผู้รับตราส่ง นำ ใบตราส่ง ไป เปลี่ยน เป็น ใบปล่อยสินค้า จาก จำเลยเพื่อ นำ ไป ขอรับ สินค้า จาก เรือ ครั้น เมื่อ เรือ บรรทุก สินค้า มา ถึงท่าเรือ กรุงเทพ ฯ จำเลย เป็น ผู้ดำเนินการ ติดต่อ ทำ พิธี การ กับเจ้าหน้าที่ ของ หน่วยงาน ที่ เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร กรมเจ้าท่ากองตรวจคนเข้าเมือง และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อ การ นำเรือ บรรทุก สินค้า เข้า เทียบท่า จำเลย มีสิทธิ เรียกเก็บ ค่าระวาง และค่าบริการ ที่ ชำระ ปลายทาง ได้ โดย จำเลย ได้รับ ค่า บำเหน็จ จาก การดำเนินการ ดังกล่าว ดังนี้ เห็น ได้ว่า กรณี เป็น การ ขนส่ง หลาย ทอด ตาม วิธีการ ขนส่ง ทางทะเล โดย จำเลย เป็น ผู้ มี หน้าที่ รับผิดชอบ ใน การ ดำเนินการขนส่ง ทอด สุดท้าย เพื่อ ให้ สินค้า พิพาท ได้ ขนส่ง ถึง มือ ผู้ซื้อ จำเลย จึงเป็น ผู้ขนส่ง ทอด สุดท้าย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608และ 618 ซึ่ง เป็น บท กฎหมาย ใกล้เคียง อย่างยิ่ง กับ กฎหมาย ว่าด้วยการ รับขน ทางทะเล เมื่อ สินค้า ที่ ได้รับ มอบหมาย ให้ ขนส่ง สูญหายหรือ บุบสลาย จำเลย จึง ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ซึ่ง เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ มาจาก ผู้รับตราส่ง ฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน