แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
แม้จำเลยจะซื้อสิทธิครอบครองที่ดินจากบุคคลผู้ครอบครองที่ดินมาก่อนที่ทางการจะประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติก็เป็นเพียงแสดงว่าเฉพาะตัวผู้ที่ขายสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยขาดเจตนาที่จะบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยซื้อได้มีกฎกระทรวงประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่12มิถุนายน2529จำเลยเบิกความว่าได้ซื้อมาระหว่างปีพ.ศ.2530ถึงปี2535จึงเป็นระยะเวลาที่รัฐประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วและจำเลยก็ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา54ซึ่งบัญญัติห้ามยึดถือครอบครองป่าเช่นกันด้วย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วัน เวลา และ เดือน ใด ไม่ปรากฏ ชัด ปี 2530ถึง วันที่ 9 มิถุนายน 2535 เวลา กลางวัน ต่อเนื่อง กัน จำเลย ได้ ก่นสร้างแผ้วถาง ทำ ไม้ และ เข้า ยึดถือ ครอบครอง ป่า และ ที่ดิน เพื่อ ตนเองใน เขต ป่า คลอง กะลาเส และ คลอง ไม้ตาย โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต จาก พนักงาน เจ้าหน้าที่ และ ไม่ได้ รับ การ ยกเว้น ตาม กฎหมาย เป็น เนื้อที่496 ไร่ 2 งาน 72 ตารางวา อันเป็น การ ทำลาย ป่า และ เป็น การ เสื่อมเสียแก่ สภาพ ป่า ซึ่ง เป็น ป่าสงวนแห่งชาติ เหตุ เกิด ที่ ตำบล ไม้ฝาด อำเภอ สิเกา จังหวัด ตรัง ขอให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54, 72 ตรี พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 ให้ จำเลย และ บริวาร ออก ไป จาก เขตป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง , 72 ตรี วรรคสองพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง ,31 วรรคสอง การกระทำ ของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่ง เป็นบทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 9 ปีทางนำสืบ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 6 ปีให้ จำเลย และ บริวาร ออกจาก เขต ป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี ฟัง เป็น ยุติ ใน ชั้น นี้โดย คู่ความ มิได้ โต้เถียง กัน ว่า ที่ดิน จำนวน ประมาณ 496 ไร่ 2 งาน72 ตารางวา ที่ จำเลย และ นาย สุพจน์ บัวเลิศ น้องชาย จำเลย ได้ ซื้อ มา จาก ผู้ขาย 13 ราย ซึ่ง เป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน เขต ที่ดิน ป่าคลอง กะสาเสและป่าคลองไม้ตาย ตำบล กะลาเส ตำบล เขาไม้แก้ว ตำบล บ่อหิน และตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัด ตรัง ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ ได้ ประกาศ ให้ เป็น เขตป่าสงวนแห่งชาติ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 และ ป.ล. 1 โดย ปรากฏว่าผู้ที่ ขาย ที่ดิน ให้ จำเลย และ น้องชาย จำเลย เป็น ผู้ที่ ได้ ครอบครอง ที่ดินมา ก่อน ที่ จะ ประกาศ ให้ เป็น ป่าสงวนแห่งชาติ และ ผู้ครอบครอง ได้ ไปร้อง แจ้ง สิทธิ การ ครอบครอง ไว้ ภายใน 90 วัน นับแต่ วันที่ ได้ประกาศ เขต ป่าสงวนแห่งชาติ แล้ว ปรากฏ ตาม หลักฐาน การ แจ้ง สิทธิ การครอบครอง เอกสาร หมาย ป.ล. 2 มี ปัญหา ที่ จะ ต้อง พิจารณา ว่า จำเลยมี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และ มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 หรือไม่ เห็นว่า ใน ข้อหา ความผิดตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ จำเลย นำสืบ ว่า ได้ ซื้อสิทธิ ครอบครอง จาก บุคคล ผู้ครอบครอง ที่ดิน มา ก่อน ที่ ทางการ จะ ประกาศให้ เป็น ป่าสงวนแห่งชาติ โดย ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ตาม ข้ออ้าง ของจำเลย ดังกล่าว ก็ เป็น เพียง แสดง ว่า เฉพาะตัว ผู้ที่ ขาย สิทธิ การ ครอบครองให้ แก่ จำเลย ดังกล่าว ขาด เจตนา ที่ จะ บุกรุก ป่าสงวนแห่งชาติ หรือไม่ มีความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ เท่านั้น แต่ สำหรับ จำเลยผู้รับโอน สิทธิ ครอบครอง จาก บุคคล ดังกล่าว จะ อ้าง สิทธิ ครอบครองที่ ได้รับ โอน มา ได้ ก็ แต่ ราษฎร ด้วยกัน เอง เท่านั้น แต่ ใน เรื่อง ที่ผู้ใด กระทำผิด กฎหมาย หรือไม่ สำหรับ กรณี นี้ นั้น เป็น เรื่อง เฉพาะตัวหรือ เหตุ เฉพาะตัว ของ ผู้กระทำ จำเลย จะ อ้างว่า ได้รับ โอนสิทธิ และขาด เจตนา บุกรุก ป่าสงวน เช่นกัน หาได้ไม่ เพราะ เป็น การ อ้าง เหตุเพื่อ หลีกเลี่ยง ให้ พ้น ผิด และ เป็น การ อ้าง ใน ลักษณะ ที่ ว่า ตนเองไม่รู้ ว่า กฎหมาย บัญญัติ ห้าม ไว้ เช่นนั้น เมื่อ ปรากฏว่า ที่ดินที่ จำเลย ซื้อ ได้ มี กฎกระทรวง ประกาศ เป็น เขต ป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ วันที่12 มิถุนายน 2529 จำเลย เบิกความ ว่า ได้ ซื้อ มา ระหว่าง ปี 2530ถึง ปี 2535 จึง เป็น ระยะเวลา ที่ รัฐ ประกาศ ให้ ที่ดิน ดังกล่าว เป็นเขต ป่าสงวนแห่งชาติ แล้ว และ จำเลย ก็ ทราบ ดี ว่า ที่ดิน ดังกล่าว เป็นป่าสงวนแห่งชาติ การ ที่ จำเลย อ้างว่า ได้ ก่นสร้าง เฉพาะ ต้น ไม้ที่ ผู้ขาย ได้ ปลูก ไว้ มิได้ ทำลาย ป่าไม้ ส่วน อื่น นั้น เห็นว่า ต้นยางต้นมะม่วง และ ต้นมะพร้าว ที่ ผู้ขาย ปลูก ไว้ เป็น ไม้ยืนต้น มี ลักษณะติด ตรึงตรา กับ ที่ดิน ที่ เป็น ป่า เป็น ส่วนควบ กับ ที่ดิน ป่า จึง เป็นส่วน หนึ่ง ของป่า สงวน การ ไป ตัด ทำลาย ก็ เป็น การ ทำลาย ป่าสงวนแต่ จะ อย่างไร ก็ ตาม การ ที่ จำเลย ยอมรับ ว่า ได้ เข้า ยึดถือ ครอบครองที่ดิน ป่าสงวน ดังกล่าว โดย การแสดง บอกกล่าว ต่อ เจ้าหน้าที่ และแสดง หลักฐาน การ เสีย ภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็น หลักฐาน แสดง ออก ถึงการ ครอบครอง ที่ ป่าสงวน ดังกล่าว กรณี ก็ เป็น ความผิด ตาม มาตรา 14แห่ง พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว เพราะ บทบัญญัติของ กฎหมาย ดังกล่าว ห้าม บุคคล ใด เข้า ยึดถือ ครอบครอง ป่าสงวน ข้ออ้างของ จำเลย จึง ไม่เป็นเหตุ ให้ จำเลย พ้น ผิด สำหรับ ข้ออ้าง ตาม ฎีกา ของ จำเลยเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ ว่า จำเลย เป็น เพียงผู้ซื้อ สิทธิ ครอบครอง ต่อ จาก ราษฎร ที่ ยึดถือ ครอบครอง อยู่ ก่อน เท่านั้นมิได้ กระทำการ ก่นสร้าง แผ้วถาง ป่า หรือ กระทำ ด้วย ประการใด ๆอันเป็น การ ทำลาย ป่า นั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 54 ก็ ได้ บัญญัติ ห้าม ยึดถือ ครอบครอง ป่า เช่นกัน ฉะนั้น การ ที่จำเลย เข้า ยึดถือ ครอบครอง ป่า จึง มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ดังกล่าว ถึง แม้ จำเลย จะ มิได้ กระทำการ ก่นสร้าง ทำลาย ป่า ก็ ตามเมื่อ การ ที่ รัฐ ประกาศ เขตท้องที่ ดังกล่าว เป็น เขต ป่าสงวนแห่งชาติก็ มิได้ กระทำ ให้ ป่า ส่วน นั้น หมด สภาพ จาก การ เป็น ป่า ที่ดิน ดังกล่าวก็ ยัง มี สภาพ เป็น ป่า อยู่ เช่น เดิม มิได้ ทำให้ การ เป็น ป่า อยู่ แต่ เดิมสิ้นสภาพ ไป การ ที่ จำเลย เข้า ไป ยึดถือ ครอบครอง จึง เป็น การกระทำ ผิดตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ ดังกล่าว ด้วย ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 และ มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ชอบแล้ว
สำหรับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ ขอให้ ลงโทษ สถาน เบา และ รอการลงโทษ จำคุกให้ จำเลย นั้น เห็นว่า จำเลย เพียง เป็น ผู้ซื้อ สิทธิ การ ครอบครองและ เข้า ยึดถือ ครอบครอง ป่าสงวน ต่อ จาก บุคคลอื่น เมื่อ เจ้าหน้าที่ไป ตรวจสอบ จำเลย ก็ ได้ ชี้แจง ข้อเท็จจริง ใน การ ที่ ได้ ซื้อ มา ให้เจ้าหน้าที่ ทราบ พา ไป ดู เขต ที่ดิน แจ้ง จำนวน เนื้อที่ดิน ที่ ซื้อ มาแสดง ใบเสร็จ การ เสีย ภาษี แสดง หลักฐาน คำร้อง อ้าง สิทธิ การ ครอบครองของ ผู้ขาย ให้ เจ้าหน้าที่ ทราบ เป็น การ ให้ ความ ร่วมมือ กับ เจ้าหน้าที่จำเลย เคย รับ ราชการ ครู ขณะ รับ ราชการ ได้รับ เครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ได้รับ เหรียญ กาชาด สมนาคุณ ได้รับ ประกาศ เกียรติคุณ บัตร ปรากฏ ตามภาพถ่าย ท้าย ฎีกา หมายเลข 1 ถึง 3 และ รับ ราชการ ครู มา จน เกษียณอายุแสดง ว่า จำเลย เป็น ผู้ ประพฤติ ดี มา ตลอด การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็นเรื่อง ที่ จำเลย มิได้ กระทำ ความผิด เพราะ เหตุ ที่ จำเลย มี สันดาน เป็นผู้ร้าย เมื่อ ได้ พิจารณา ประกอบ กับ ว่า จำเลย เป็น หญิง ปัจจุบัน อายุประมาณ 66 ปี และ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย เคย ต้องโทษ จำคุก มา ก่อน ด้วย แล้วกรณี มีเหตุ สมควร ให้ จำเลย ปรับตัว ให้ เข้า กับ สังคม เป็น พลเมือง ดี ต่อไปที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ลงโทษ จำคุก จำเลย 9 ปี หนัก เกิน ไป สมควร กำหนด โทษให้ เบาลง ตาม สมควร แก่ โทษ และ รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ลงโทษ จำคุก 3 ปี ปรับ 150,000 บาทลดโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 2 ปีปรับ 100,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ คุมประพฤติ จำเลย โดย ให้ จำเลยกระทำ กิจกรรม บริการ สังคม ตาม ที่ พนักงานคุมประพฤติ และ จำเลย เห็นสมควรไม่ น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ภายใน กำหนด เวลา รอการลงโทษ ให้ จำเลย ไป ติดต่อพนักงานคุมประพฤติ เพื่อ ดำเนินการ ดังกล่าว ภายใน กำหนด 30 วันนับแต่ วัน ฟัง คำพิพากษา ศาลฎีกา นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3