แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ทั้งสองเคยฟ้องจำเลยขอให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายมาก่อนจำเลยให้การต่อสู้ทำนองเดียวกับในคดีนี้ว่าสัญยาจะซื้อขายเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางศาลในคดีก่อนพิพากษาถึงที่สุดว่าสัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาที่แท้จริงมิใช่นิติกรรมอำพรางใช้บังคับได้ตามกฎหมายแต่เนื่องจากโจทก์ยังมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้จึงบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทไม่ได้พิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิฟ้องใหม่ภายในอายุความเช่นนี้คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145จำเลยจะมาโต้เถียงในคดีนี้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสัญญาดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้และจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาอีกหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า ได้ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดิน พิพาท จาก จำเลย ใน ราคา300,000 บาท จำเลย ผิด สัญญา โจทก์ ได้ (เคย) ฟ้อง บังคับ จำเลย ให้ โอนที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์ ศาล พิพากษา คดี ถึงที่สุด ว่า เป็น สัญญาจะซื้อ จะขาย แต่ โดย ที่ โจทก์ ยัง มิได้ ปฏิบัติ การ ชำระ หนี้ แก่จำเลย จึง ได้ ยกฟ้อง แต่ ไม่ ตัด สิทธิ โจทก์ ที่ จะ ฟ้อง ใหม่ ภายในอายุความ ต่อมา โจทก์ ได้ ขอ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ และ ให้ จำเลย ไปจด ทะเบียน โอน ที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์ จำเลย เพิกเฉย โจทก์ จึง นำ เงิน 300,000 บาท ไป วาง ที่ สำนักงาน วางทรัพย์ กับ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบแล้ว ขอ ให้ บังคับ จำเลย ไป จด ทะเบียน ขาย ที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์หาก การ จด ทะเบียน ไม่ อาจ ทำ ได้ ก็ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย 600,000 บาท
จำเลย ให้การ ว่า สัญญา จะซื้อ ขาย เป็น นิติกรรม อำพราง ฟ้อง บังคับไม่ ได้ โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา เพราะ ไม่ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย ไปจด ทะเบียน ภายใน กำหนด และ ไม่ ได้ ชำระ ค่า ที่ดิน ขอ ให้ ยกฟ้อง
ใน วัน ชี้สองสถาน คู่ความ รับกัน ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เคย ฟ้อง จำเลยขอ ให้ โอน ที่ดิน พิพาท แก่ โจทก์ ตาม สัญญา จะซื้อ จะขาย ฉบับเดียวกันนี้ มา ครั้งหนึ่ง แล้ว จำเลย ให้การ ต่อสู้ ทำนองเดียว กับ คดี นี้ ว่าสัญญา จะซื้อ ขาย เป็น โมฆะ เพราะ เป็น นิติกรรมอำพราง ศาล พิพากษาถึงที่สุด ตาม คดี หมายเลขแดง ที่ 772/2524 ของ ศาลจังหวัด นครราชสีมาว่า สัญญา จะซื้อ จะขาย เป็น สัญญา ที่ แท้จริง ตาม เจตนา ของ คู่กรณีใช้ บังคับ ได้ ตาม กฎหมาย มิใช่ นิติกรรม อำพราง แต่ โจทก์ ยัง มิได้ขอ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ จึง บังคับ ให้ จำเลย โอน ที่ดิน พิพาท ไม่ ได้พิพากษา ยกฟ้อง โดย ไม่ ตัด สิทธิ ฟ้อง ใหม่ ใน อายุความ ศาลชั้นต้น จึงสั่ง งด สืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว วินิจฉัย ว่า โจทก์ ได้ ปฏิบัติการชำระหนี้ ตาม สัญญา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ไป จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์ และ รับ ชำระหนี้ ที่ โจทก์ วางไว้ ต่อ สำนักงานวางทรัพย์ หาก การ จด ทะเบียน โอน ขาย ไม่ อาจ กระทำ ได้ ให้ จำเลย ใช้ค่าเสียหาย เป็น เงิน 400,000 บาท ค่าฤชา ธรรมเนียม เป็น พับ
จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คำพิพากษา ใน คดี ก่อน ย่อม ผูกพัน คู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลย จะ มา โต้เถียง ใน คดีนี้ ว่า โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง เพราะ สัญญา ดังกล่าว เป็น โมฆะ ใช้บังคับ ไม่ ได้ และ จำเลย ไม่ ได้ ผิด สัญญา อีก หา ได้ ไม่ ส่วน ปัญหาเรื่อง ค่าเสียหาย ตาม สัญญา เมื่อ ปรากฏ ว่า จำเลย ผิด สัญญา ไม่ โอนที่ดิน พิพาท ให้ ตาม กำหนด ย่อม เกิด ความเสียหาย โจทก์ มี สิทธิ เรียกค่าเสียหาย ดังกล่าว ได้ และ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ใช้ ดุลพินิจ ให้จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย 400,000 บาท เห็นว่า เหมาะสม แล้ว เมื่อ โจทก์ได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา โดย วาง เงิน ค่า ที่ดิน พิพาท จำนวน 300,000บาท ณ สำนักงาน วางทรัพย์ กับ แจ้ง ให้ จำเลย ทราบ แล้ว จำเลย จึง ต้องปฏิบัติ ตาม สัญญา ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย และพิพากษา มา นั้น ชอบ แล้ว ฎีกา จำเลย ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าทนายความ ชั้นฎีกา แทน โจทก์ 2,000 บาท