แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยไม่ได้ให้การว่าได้ บอกล้าง โมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วการนำสืบของจำเลยที่ว่าได้บอกล้างนิติกรรมไปยังโจทก์ก่อนวันที่พากันไปโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อจะขายที่เป็นโมฆียะที่สำนักงานที่ดินจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย แม้ในวันนัดจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ไม่ได้เพราะภรรยาจำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนครึ่งหนึ่งแต่แสดงว่าจำเลยตั้งใจที่จะปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขายตลอดมาซึ่งเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุที่เป็นโมฆียะกรรมได้สูญสิ้นไปโดยมิได้แสดงแย้งสงวนสิทธิไว้แจ้งชัดถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้วโดยปริยายและแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำให้การต่อสู้คดีโดยถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแต่เมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันก่อนแล้วจึงไม่อาจ บอกล้างได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ผู้ครอบครอง ทำประโยชน์ ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 5771 เนื้อที่44 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา เมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2532 จำเลย ได้ทำ หนังสือ สัญญาจะขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ โจทก์ ใน ราคา ไร่ ละ 10,000บาท คิด เป็น เงิน ทั้งสิ้น 447,000 บาท โจทก์ ได้ วางเงิน มัดจำ ในวัน ทำ สัญญา เป็น เงิน 50,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ อีก 397,000 บาทตกลง จะ ชำระ กัน ใน วันที่ 15 มีนาคม 2533 อันเป็น วัน จดทะเบียน โอนที่ดิน ต่อมา ได้ มี การ นัด วัน โอน กัน ใหม่ เป็น วันที่ 6 มีนาคม 2533ใน วัน ดังกล่าว โอน ที่ดิน กัน ไม่ได้ จึง ตกลง นัด จดทะเบียน โอน ตาม กำหนดเวลา เดิม ที่ ตกลง กัน ไว้ ใน สัญญา เมื่อ ถึง วันนัด จำเลย ผิดสัญญา ไม่ยอม ไปจดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน ขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 5771 ให้ แก่ โจทก์ และ รับ เงิน ค่าขาย ที่ดินจำนวน 397,000 บาท ไป จาก โจทก์ โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ออก ค่าภาษีและ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน ต่อ ทางราชการ แต่ ฝ่ายเดียว หาก จำเลยไม่ จดทะเบียน โอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ให้โจทก์ นำ คำพิพากษา ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน แปลง พิพาท ดังกล่าว ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ โดย ลำพัง ฝ่ายเดียว โดย ให้ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ออก ใบแทนสำหรับ น.ส.3 ก. ของ ที่ดินพิพาท เพื่อ จดทะเบียน ตาม คำพิพากษา ต่อไปให้ โจทก์ วางเงิน จำนวน 397,000 บาท ไว้ ต่อ สำนักงาน วางทรัพย์เพื่อ ให้ จำเลย รับ ไป เป็น ค่าขาย ที่ดินพิพาท โดย ให้ หัก ค่าภาษี และค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน ที่ดิน ออกจาก เงิน จำนวน ดังกล่าว เสีย ก่อน
จำเลย ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์ ที่ จำเลย และ นาง ตา พึ่งพา ได้ มา ระหว่าง อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กัน จึง เป็น สินสมรส เพียงแต่ ใส่ ชื่อ จำเลย เป็น เจ้าของ เพียง ผู้เดียว โจทก์ หลอกลวง จำเลยว่า บุตรสาว จำเลย ได้ ขาย ที่ดิน ซึ่ง อยู่ ติด กัน ทาง ทิศใต้ ให้ โจทก์แล้ว และ นาง ตา ก็ ยอม ขาย ด้วย โดย โจทก์ ได้ ให้ สัญญา ต่อไป ว่า หาก นาง ตา ไม่ยอม ขาย ก็ ให้ เลิกสัญญา และ ให้ จำเลย คืนเงิน มัดจำ แก่ โจทก์ จำเลย หลงเชื่อ จึง ลงชื่อ ใน สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ โจทก์ ทำ ขึ้นโจทก์ เขียน ข้อความ เพิ่มเติม สัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 4 อันเป็น การเปลี่ยนแปลง สาระสำคัญ ของ ข้อ สัญญา เดิม โดย จำเลย มิได้ รู้เห็น และยินยอม สัญญา ตกเป็น โมฆะ ใน วันนัด โอน เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2533นาง ตา ได้ คัดค้าน การ โอน ไม่ยอม ให้ ขาย ที่ดิน ส่วน ของ นาง ตา เพราะ ไม่ได้ รู้เห็น ใน การ ทำ สัญญา ดังกล่าว โจทก์ จะ ให้ นาง ตา ลงชื่อ ยินยอม ให้ จำเลย ขาย ที่ดิน ให้ โจทก์ ทั้ง แปลง แต่ นาง ตา ไม่ยินยอม จึง ทำให้ โอน ทะเบียน ที่ดิน กัน ไม่ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 5771 ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ไป จดทะเบียน โอน ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ส่วน ที่ โจทก์ ขอให้ ศาล สั่งเจ้าพนักงาน ที่ดิน ออก ใบแทน น.ส.3 ก. ที่ดินพิพาท นั้น ให้ยก เสียทั้งนี้ ให้ โจทก์ วางเงิน ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จำนวน 397,000 บาทต่อ ศาล เพื่อ ให้ จำเลย รับ ไป โดย ให้ หัก ค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียม ในการ จดทะเบียน ที่ ฝ่าย จำเลย ต้อง รับผิด ครึ่ง หนึ่ง ไว้ ก่อน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 5771 เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย จำนวน 2 ใน 3 ส่วนให้ โจทก์ ใน ราคา ไร่ ละ 10,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติ ตาม ที่ คู่ความมิได้ โต้แย้ง กัน ใน ชั้น นี้ ว่า เมื่อ วันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์กับ จำเลย ได้ ทำ หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ตาม เอกสารหมาย จ. 2 ซึ่ง นิติกรรม ดังกล่าว เป็น โมฆียะ เพราะ โจทก์ ทำ กลฉ้อฉลให้ จำเลย ทำ สัญญา โดย หลอกลวง ว่า นาง คิ้ม บุตรสาว ของ จำเลย จะขาย ที่ดิน ของ นาง คิ้ม แปลง ที่อยู่ ติดกับ ที่ดินพิพาท ด้วย มี ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ว่า จำเลย ได้ บอกล้าง โมฆียะ กรรม ภายใน กำหนดเวลา ตาม กฎหมาย แล้ว โดย จำเลย ได้ เบิกความ ไว้ โดยชัดแจ้ง แล้ว ว่า ได้โทรเลข บอกเลิก สัญญา ไป ยัง โจทก์ สัญญาจะซื้อจะขาย ตกเป็น โมฆะ นับแต่วันที่ จำเลย บอกกล่าว การ ที่ โจทก์ มา รับ จำเลย ไป โอน ที่ดินพิพาทใน วันที่ 6 มีนาคม 2533 ที่ อำเภอ โคกสำโรง จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย ให้ สัตยาบัน สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท เพราะ จำเลย ได้ บอกล้างโมฆียะ กรรม ก่อน แล้ว นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย ไม่ได้ ให้การว่า ได้ บอกล้าง โมฆียะ กรรม ภายใน กำหนด เวลา ตาม กฎหมาย แล้ว การ นำสืบของ จำเลย ที่ ว่า ได้ โทรเลข แจ้ง บอกล้าง นิติกรรม ไป ยัง โจทก์ ก่อน วันที่พา กัน ไป ที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ โคกสำโรง วันที่ 6 มีนาคม 2533จึง เป็น การ นำสืบ นอก คำให้การ เป็น ข้อ ที่ ไม่ได้ ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบใน ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย เมื่อ ไม่ปรากฏว่า จำเลย ได้ บอกล้าง โมฆียะ กรรม ก่อน วันที่ โจทก์ จำเลย พา กัน ไป ยังสำนักงาน ที่ดิน อำเภอ โคกสำโรง เพื่อ โอน ที่ดินพิพาท ใน วันที่ 6มีนาคม 2533 แม้ วัน ดังกล่าว นาง ตา ภรรยา จำเลย คัดค้าน ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ นาง ตา ครึ่ง หนึ่ง จึง จดทะเบียน โอน กัน ไม่ได้ แต่ การกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว แสดง ว่า จำเลย มี ความ ตั้งใจ ที่ จะ ปฏิบัติตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ที่ ทำ ไว้ กับ โจทก์ ตลอดมา จำเลยได้ กระทำการ ดังกล่าว ภายหลัง เวลา ที่ มูลเหตุ ให้ เป็น โมฆียะ กรรมนั้น ได้ สูญ สิ้นไป แล้ว การ ที่ จำเลย ไป ที่ สำนักงาน ที่ดิน อำเภอ โคกสำโรง เพื่อ โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ อันเป็น การ ชำระหนี้ ตาม โมฆียะ กรรม โดย จำเลย มิได้ แสดง แย้ง สงวนสิทธิ ไว้ แจ้งชัด ประการใด ถือได้ว่าจำเลย ได้ ให้ สัตยาบัน แก่ โมฆียะ กรรม นั้น แล้ว โดย ปริยาย ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ตาม เอกสาร หมาย จ. 2จึง สมบูรณ์ แม้ ต่อมา วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 จำเลย จะ ยื่นคำให้การต่อสู้ คดี ว่า จำเลย ทำ สัญญา ดังกล่าว เพราะ หลงเชื่อ ที่ โจทก์ นำ ความเท็จมา หลอกลวง สัญญา จึง ตกเป็น โมฆะ เพราะ โจทก์ เจตนา หลอกลวง ให้ จำเลยลงชื่อ ใน สัญญา ขอให้ ยกฟ้อง คำให้การ ของ จำเลย ดังกล่าว แม้ จะ ถือว่าเป็น การ บอกล้าง โมฆียะ กรรม แต่เมื่อ จำเลย ได้ ให้ สัตยาบัน แก่โมฆียะ กรรม ก่อน ยื่นคำให้การ แล้ว ย่อม ถือว่า การ นั้น เป็น อัน สมบูรณ์มา แต่ เริ่มแรก ไม่อาจ บอกล้าง ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน