คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

กรมพลาธิการทหารบก และกรมยกกระบัตรทหารบก แม้จะเรียกว่า “กรม” แต่ตามกฎหมายถือเพียงเป็นส่วนหนึ่ง ในกองทัพบก ซึ่งเป็นกรมเท่านั้น จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จะฟ้องให้รับผิดชอบฐานเป็นนิติบุคคลไม่ได้
เมื่อศาลคำนวณว่า ค่าปรับที่จำเลยปรับเอาแก่โจทก์ตามสัญญา ในการที่โจทก์ส่งของให้ไม่ถูกต้อง โดยเทียบกับค่าปรับทั้งหมดที่จะปรับเอาแก่โจทก์ได้เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเลย ถ้าเห็นสูงเกินไป ศาลอาจลดค่าปรับลงเท่าที่เห็นสมควรได้.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องและเพิ่มเติมฟ้องว่าโจทก์ เป็น บริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ รับโอนกิจการทั้งหมดรวมทั้งสิทธิเรียกร้อง และหน้าที่อันจะพึงเกิดขึ้นจากสัญญา ซื้อขาย ๓ ฉบับ ท้ายฟ้องที่พิพาทกันในคดีนี้ของร้าน ทิฆัมพร ซึ่ง นางสุนีรัตน์ เดลาน เป็นเจ้าของมาดำเนินกิจการต่อไป จำเลยที่ ๑ ที่ ๒- ๓ – ๔ เป็น กระทรวงกรมกองของราชการของรัฐบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จำเลยที่ ๕ เป็นนายทหาร ประจำการอยู่ในกรมยกกระบัตรทหารบก มีหน้าที่เป็นแม่กองจัดซื้อ ในกรมยกกระบัตรทหารบก เพื่อประโยชน์ในราชการ ในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยที่ ๑ – ๒ – ๓ ๔- จำเลยที่ ๕ ได้ซื้อสิ่งของต่าง ๆ ของร้านทิฆัมพร โดยจำเลยที่ ๕ เป็นผุ้ลงนามในสัญญาซื้อขายกับ นางสาวชนัตต์ เตลาน ผู้จัดการร้านทิฆัมพร คือ สัญญาซื้อขายที่ ๑๗/๒๔๘๘ – ๓๖ / ๒๔๘๘ – และ ๔๐/๒๔๘๘ รวม ๓ รายการ เป็นเงิน ๓,๕๘๕,๐๐๐ บาท ร้านทิฆัมพร ได้วางมัดจำไว้กับจำเลยเพื่อประกันในการปฏิบัติ ๕๕,๗๐๐ บาท ซึ่งจะต้องคืนเมื่อได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว
เมื่อถึงกำหนด โจทก์ได้ส่งสิ่งของครบ และ จำเลยก็ชำระราคาให้แล้ว แต่จำเลยกลับหาว่า โจทก์ผิดสัญญาส่งของช้ากว่ากำหนด จะปรับจำเลยบังคับให้จำเลยนำเงินส่งฝากไว้เพื่อค่าปรับ ซึ่งจะคิดกันภายหลัง โจทก์จึงนำเงินฝากจำเลยไว้ แต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึง ๒๔๙๐ รวม ๒๗๗,๔๒๓ บาท ๗๘ สตางค์ ซึ่งความเป็นจริงโจทก์ได้ส่งของครบทันเวลา หากมีบางสิ่งจำเลยขอให้โจทก์นำไปแก้ไข โจทก์เอื้อเฟื้อนำไปแก้ไขให้ ในการพิจารณาข้อโต้เถียงซึ่งมีกันหลายคราว ครั้งสุดท้ายจำเลยตกลงค่าปรับเอาแก่โจทก์เพียง ๑๔,๑๖๒ บาท ๗๘ สตางค์ ซึ่งโจทก์ตกลงด้วย ต่อมาเนื่องมาจากเหตุขัดข้องซึ่งเป็นเรื่องภายในของจำเลย ๆ ไม่สามารถเอาเงินคืนมาให้โจทก์ได้ จึงแกล้งมากล่าวว่า โจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยให้ศษลบังคับตามโจทก์ให้คืนเงินมัดจำและค่าปรับตามที่ตกลงไว้
จำเลยให้การว่า จำเลยที่ ๓ ที่ ๔ ไม่ใช่นิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ไม่มมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๕ ซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนให้รับผิดสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ๓ ฉบับท้ายฟ้องไม่มโอนมาเป็นของโจทก์ และการโอนมาก็มิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด จำเลยไม่เคยขอให้โจทก์นำสิ่งของไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง โจทก์ส่งของเกินกำหนดในสัญญา โจทก์จึงยอมให้หักเงินราคาสิ่งของเป็นค่าปรับ และยอมให้ริบมัดจำจำเลยไม่เคยตกลงจะปรับโจทก์เพียง ๑๔,๑๖๒ บาท ๗๘ สตางค์ ฯลฯ และ คดีโจทก์ขาดอายุความจึงขอให้ศาลยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว ให้พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยดังนี้
๑. โจทก์ฎีกาว่า กรมพลาธิการทหารบกจำเลยที่ ๓ กรมยกกระบัตรทหารบกจำเลยที่ ๔ เป็นกรมในรัฐบาล นับว่าเป็นทบวงการเมือง เป็นนิติบุคคลจึงถูกฟ้องคดีได้ ศาลฎีกาว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๓ กรมในรัฐบาลซึ่งจะเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องอนยู่ในบังคับ มาตรา ๗๔ ด้วย คือ ต้องเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งปวงว่า ด้วยการนั้น ๆ ซึ่งมีการจัดควบคุมทบวงการเมือง จำเลยที่ ๓- ๔ เป็นหน่วยราชการของกองทัพบกขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหม และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในกระทรวงอันเกี่ยวกับการทหารให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร์ พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๑๔ บัญญัติว่าให้ กองทัพบกมีฐานะเป็นนิติบุคคล และตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๑ มาตรา ๓ ข้อ ๔ กรมพลาธิการทหารบกให้จักเป็นหน่วยหนึ่งขึ้นอยู่ในกองทัพบก และตามมาตรา ๗ ข้อ ๑ กรมยกกระบัตรทหารบก ได้จัดเป็นหน่วยราชการที่ขึ้นแก่กรมพลาธิการทหารบกเท่านั้นหาได้จัดให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไม่ แม้ต่อมาจะได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๕
ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๑ และต่อมามีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพบกในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๘ ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพบก ในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๕ เสียแล้ว ก็ดี ตามพระราชกฤษฎีกา ฯ พ.ศ. ๒๔๙๕ พ.ศ.๒๔๙๘ ก็ดี หาได้บัญญัติให้กรมพลาธิการทหารบกเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไม่ ถึงแม้ขณะนี้ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๐ ออกแล้ว โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร์ตลอดรวมทั้ง ๕ ฉบับ ที่ประกาศใช้อยู่แล้วก็ดี ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๐ ฉบับใหม่ตามมาตรา ๑๗ ก็คงบัญญัติให้กอบทัพบก ฯลฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคลเท่านั้น ฉะนั้น กรมพลาธิการทหารบกจำเลยที่ ๓ และกรมยกกระบัตรทหารบกจำเลยที่ ๔ โจทก์ฟ้องจึงหาใช่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาตรา ๗๒-๗๓ ไม่ โจทก์จึงขอ ให้จำเลยที่ ๓ – ๔
รับผิดตามฟ้องของโจทก์ไม่ได้ฯลฯ
๑๐. ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลดค่าปรับ อ้างว่าค่าปรับสูงเกินไป จึงขอให้ปรับพอสมควร และคืนเงินค่ามัดจำด้วยนั้น เมื่อได้พิจารณาตลอดท้องเรื่องแล้วเห็นว่าค่าปรับฐานผิดสัญญาส่งของล่าช้าตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้จน กว่าจะนำของอย่างถูกสัญญามาส่ง แม้นานเท่าไรก็ให้ปรับกันตลอดไปนั้น ดูออกจะสูงเกินไป เพราะแมผู้ขายไม่ส่งของให้เลย ยังปรับเพียงร้อยละ ๒๕ ของเงินราคาของที่ซื้อจ่ายกันทั้งหมด เมื่อคิดแล้วจากหลักนี้ค่าปรับโจทก์ ๓ คราว จึงสูงเกินไป ๑๔๘,๒๑๖ บาท ๒๒ สตางค์ เพราะสิ่งของที่โจทก์ส่งให้จำเลยได้ครบ เพียงล่าช้าไป ศาลจึงมีอำนาจลดค่าปรับที่สูงเกินไปได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘๓
จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นว่าให้จำเลยที่ ๑ – ๒ คืน เงินค่าปรับที่เรียกสูงเกินไป ให้แก่โจทก์ ๑๔๘,๒๑๖ บาท ๒๒ สตางค์ ค่าธรรมเนียมและค่าทนายต่างให้พับไปทั้ง ๓ ศาล.

Share