คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เช็คพิพาทมีผู้สั่งจ่ายสองนายลงนามร่วมกันโอนเช็คให้ผู้ทรงเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ทรงรับโอนเช็คโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับผู้สั่งจ่ายคนใดคนหนึ่งแล้วผู้สั่งจ่ายทั้งสองก็ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา989,914ผู้สั่งจ่ายจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างกันเองปฏิเสธความรับผิดไม่ได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ห้างหุ้นส่วน จำกัด มี จำเลย ที่ 2เป็น หุ้นส่วน ผู้จัดการ จำเลย ที่ 3 เคย เป็น ผู้ ถือหุ้น ใน ห้างจำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 2521 จำเลย ที่ 2 ได้ นำ เช็คธนาคาร กสิกรไทย จำกัด ลง วันที่ 12 มิถุนายน 2522 สั่ง จ่าย เงิน200,000 บาท โดย จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ลง ลายมือชื่อ สั่ง จ่าย ประทับตราจำเลย ที่ 1 มา แลก เงินสด ไป จาก โจทก์ ครั้น เช็ค ถึง กำหนด โจทก์นำ เช็ค เข้า บัญชี โจทก์ เพื่อ เรียกเก็บ เงิน ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธการ จ่าย เงิน เพราะ ลายมือชื่อ ผู้ สั่งจ่าย ไม่ เหมือนกับ ตัวอย่างที่ ให้ ไว้ โจทก์ ทวงถาม จำเลย เพิกเฉย ขอ ให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สามร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ตาม เช็ค พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 3 ขาย หุ้น ใน ห้าง จำเลย ที่ 1ให้ กับ จำเลย ที่ 2 และ ผู้ มี ชื่อ ไป ตั้งแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์2521 เช็ค พิพาท จำเลย ที่ 3 ลงนาม ไว้ โดย มิได้ กรอก ข้อความ เพื่อประโยชน์ แก่ การ ดำเนินการ ของ ห้าง จำเลย ที่ 1 แล้ว โจทก์ กับ จำเลยที่ 2 เอา เช็ค ดังกล่าว มา กรอก ข้อความ จำนวน เงิน และ วันที่สั่งจ่าย และ เพทุบาย ว่า จำเลย ที่ 2 เอา เช็ค ไป แลก เงินสด จากโจทก์ เพื่อ ให้ เกิด มูลหนี้ ขึ้น เช็ค พิพาท จึง ปราศจาก มูลหนี้โจทก์ รับ โอน ไว้ โดย ไม่ สุจริต และ ฉ้อฉล จำเลย ที่ 3 คดี ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เงิน ตาม เช็ค แก่ โจทก์ 200,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 3 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 3 ฎีกา
ศาล ฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า ที่ จำเลย ที่ 3 ฎีกา ว่า ไม่ต้อง รับผิด ใช้ เงิน ตาม เช็ค พิพาท เพราะ ขณะ ที่ จำเลย ที่ 2 นำเช็ค ดังกล่าว ออก ใช้ จำเลย ที่ 3 ได้ ออก จาก การ เป็น หุ้นส่วน ในห้าง จำเลย ที่ 1 โดย ขาย หุ้น ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ไป หมดแล้ว นั้นเห็น ว่า การ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน ลักษณะ ดังกล่าว เป็น การ อาศัยความ เกี่ยวพัน เฉพาะ บุคคล ระหว่าง ตนเอง กับ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ สั่งจ่าย อีก คนหนึ่ง จะ ยก ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ กับ โจทก์ ได้เฉพาะ กรณี การ โอน มี ขึ้น ด้วย คบคิด กัน ฉ้อฉล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989, 916 เท่านั้น แต่ คดี นี้ศาลฎีกา วินิจฉัย มา แล้ว ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ทรงเช็ค โดย สุจริต และไม่ มี การ โอน คบคิด กัน ฉ้อฉล จำเลย ที่ 3 จึง ต้อง ร่วม รับผิด ใช้เงิน ตาม เช็ค ดังกล่าว แก่ โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989, 914
พิพากษา ยืน

Share