คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยว่าจ้างให้โจทก์สร้างบ้านโจทก์ทำการก่อสร้างและรับเงินไปแล้ว3งวดคงเหลืองานงวดที่4อันเป็นงวดสุดท้ายเมื่อสัญญาว่าจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างไว้ชัดแจ้งและจำเลยเห็นว่าหากให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อไปจะเกิดความเสียหายเพราะงานล่าช้ามากจำเลยจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387แต่จำเลยมิได้ทำเช่นนั้นจึงบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังกล่าวไม่ได้การที่โจทก์ขอทำการก่อสร้างต่อไปและจำเลยไม่ยอมโดยบอกเลิกสัญญากับโจทก์จึงเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยไม่ชอบและจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจกท์เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแต่การเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา605 ค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์ในกรณีผิดสัญญาว่าจ้างนั้นเมื่อสัญญาว่าจ้างเป็นการจ้างเหมารวมทั้งค่าวัสดุกับค่าแรงงานโดยแบ่งผลงานไว้เป็น4งวดมีการจ่ายเงินแล้ว3งวดคงเหลือยังไม่ได้จ่ายเฉพาะงวดที่4และงานที่โจทก์ทำให้จำเลยมาแล้วไม่มีการชำรุดบกพร่องโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินค่าจ้างงวดที่4กับเงินค่าจ้างที่จำเลยให้โจทก์ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายการตามสัญญาโดยนำราคางานที่โจทก์ยังไม่ได้ทำให้จำเลยไปหักออกจากยอดเงินดังกล่าวก่อน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ว่าจ้าง โจทก์ ให้ สร้าง บ้าน ใน ที่ดินของ จำเลย โดย จ้างเหมา รวมทั้ง ค่า วัสดุ และ ค่าแรงงาน เป็น เงิน420,000 บาท ตกลงจ่าย เป็น งวดๆ ชำระ ใน วัน ทำสัญญา 100,000 บาท งวด ต่อไป ถือ เอา ความ สำเร็จ ของ งาน แต่ ละ งวดเป็น กำหนด ชำระ ราคา ปรากฏ ตาม สัญญา ท้ายฟ้อง โจทก์ ทำงาน เสร็จงวด ที่ 2 แล้ว จำเลย จ่าย เงิน ให้ เพียง 81,493 บาท เพราะ หักค่า วัสดุ ที่ จำเลย ซื้อ มา เอง โจทก์ ก็ ยอม งวด ที่ 3 จำเลย จ่ายให้ โจทก์ เพียง 86,700 บาท โดย จำเลย หัก ค่า ไม้ ที่ จำเลย ซื้อ มาซึ่ง โจทก์ ก็ ยอม งาน งวด ที่ 3 นี้ โจทก์ ทำงาน เพิ่ม พิเศษ นอกเหนือจาก สัญญา คิด เป็น ค่าจ้าง เพิ่มขึ้น อีก 13,120 บาท จำเลย ไม่ ยอมจ่าย ค่าจ้าง เพิ่ม ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จำเลย ให้ ทนายความ บอก เลิกสัญญา ต่อ โจทก์ โจทก์ แจ้ง ไป ว่า จำเลย ไม่ มี สิทธิ เลิก สัญญาโจทก์ ได้ ไป เจรจา กับ จำเลย เพื่อ ก่อสร้าง ให้ เสร็จ แต่ จำเลย ไม่ยินยอม และ ไม่ ชำระ ค่า ก่อสร้าง ที่ ค้าง ด้วย โจทก์ จึง บอก เลิกสัญญา กับ จำเลย โจทก์ ไม่ ได้ ผิด สัญญา จำเลย จะ บอก เลิก สัญญาไม่ ได้ เพราะ ไม่ ได้ บอกกล่าว กำหนด เวลา พอ สมควร ให้ โจทก์ ทำงานให้ แล้วเสร็จ ก่อน โจทก์ ทำงาน งวด ที่ สี่ เสร็จแล้ว ซึ่ง งวดนี้โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน 100,000 บาท หัก งาน ที่ ยัง ไม่ แล้วเสร็จออก โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เงิน อีก 86,800 บาท เป็น ค่าจ้าง ที่จำเลย ต้อง ชำระ ให้ โจทก์ 99,920 บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงินดังกล่าว แก่ โจทก์ พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ตกลง จ้าง โจทก์ สร้าง บ้านให้ แล้วเสร็จ ภายใน 3 เดือน จำเลย ชำระ ค่าจ้าง ไปแล้ว 3 งวด ในงวด ที่ 3 จำเลย ให้ โจทก์ ทำงาน เพิ่ม เพียง ติดตั้ง วงกบ เป็น เงิน4,165 บาท เท่านั้น การ ก่อสร้าง งวด ที่ 4 โจทก์ ยัง มิได้ เริ่มก่อสร้าง งวด ที่ 3 ยัง ไม่ แล้วเสร็จ งาน งวด ที่ 4 หมายถึง งานต้อง เสร็จ สมบูรณ์ อยู่อาศัย ได้ เมื่อ โจทก์ ยัง ไม่ ได้ เริ่ม งานงวด ที่ 4 จึง ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าจ้าง สำหรับ งวด นี้ เหตุ ที่จำเลย เลิก สัญญา เพราะ โจทก์ ไม่ จัดหา วัสดุ ที่ ได้ มาตรฐาน มา ใช้ไม่ จัดหา ช่าง ฝีมือ ดี ไม่ ก่อสร้าง ตาม แบบแปลน และ ไม่ ก่อสร้างให้ แล้วเสร็จ ภายใน 3 เดือน กับ ทิ้ง งาน ไป โดย หา เหตุ จาก การที่ จำเลย ไม่ จ่าย ค่าจ้าง พิเศษ นอกเหนือ จาก สัญญา ให้ ฟ้อง โจทก์เคลือบคลุม เพราะ ไม่ ได้ บรรยาย ว่า จำเลย ผิด สัญญา อย่างไร และขอ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ผิด สัญญา ไม่ ก่อสร้าง ให้ เสร็จ ภายใน กำหนดทอดทิ้ง งาน โดย ไม่ มี เหตุผล ไม่ ใช้ วัสดุ และ สัมภาระ ที่ ดีพร้อมทั้ง หา ช่าง ฝีมือ ดี มา ทำการ ก่อสร้าง ตาม แบบแปลน การก่อสร้าง งวด ที่ 3 ยัง ไม่ แล้วเสร็จ แต่ โจทก์ รับ เงิน ค่าจ้างไป แล้ว ครบ 3 งวด โจทก์ ทอดทิ้ง งาน เป็น เหตุ ให้จำเลย บอกเลิกสัญญา และ ปรากฏ ว่า มี งาน ก่อสร้าง ที่ ยัง ทำ ไม่ เสร็จ และ มีข้อบกพร่อง ต้อง แก้ไข รวม 17 รายการ รวม ราคา ค่า ก่อสร้าง ซ่อมแซมเป็น เงิน 125,000 บาท จำเลย ได้ ให้ ผู้ รับเหมา รายใหม่ มา จัดการแก้ไข และ จ่าย ค่าจ้าง ไป แล้ว เป็น เงิน เกิน ค่าจ้าง งวด ที่ 4ที่ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ เป็น เงิน 25,000 บาท โจทก์ ต้อง รับ ผิดขอ ให้ พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ และ ให้ โจทก์ ชำระ เงิน 25,000 บาทแก่ จำเลย พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วัน ฟ้องแย้งจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ ไม่ เคย ผิด สัญญา ตาม ฟ้องแย้งไม่ เคย ผิด ข้อตกลง เรื่อง ระยะเวลา ก่อสร้าง และ จำเลย ไม่ ได้ ถือระยะเวลา เป็น สำคัญ โจทก์ ไม่ เคย ทอดทิ้ง งาน โจทก์ จะ ทำงาน ต่อไปแล้ว แต่ จำเลย ไม่ ยินยอม จึง เป็น ความผิด ของ จำเลย เอง โจทก์จัดหา วัสดุ และ สัมภาระ ที่ ดี กับ จัดหา ช่าง ฝีมือ มา ทำ ก่อสร้างถูกต้อง ตาม สัญญา แล้ว โดย จำเลย ให้ บิดา มา ควบคุม การ ก่อสร้างใน สัญญา มิได้ ระบุ ไว้ ให้ โจทก์ จะ ต้อง ทำการ ก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จ เมื่อใด และ จำเลย มิได้ ระบุ ไว้ ให้ โจทก์ จะ ต้อง ทำการก่อสร้าง ให้ แล้วเสร็จ เมื่อใด และ ไม่ ได้ กำหนด เวลา พอ สมควร ให้โจทก์ ทำ ให้ แล้วเสร็จ ก่อน จำเลย จึง ไม่ มี สิทธิ บอก เลิก สัญญาข้อ บกพร่อง 17 รายการ นั้น ไม่ เป็น ความจริง ฟ้องแย้ง ของ จำเลยเคลือบคลุม ขอ ให้ พิพากษา ยก ฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว ฟัง ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา พิพากษาให้ จำเลย ใช้ เงิน แก่ โจทก์ 68,250 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ร้อยละ7 ครึ่ง ต่อปี นับแต่ วัน ฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ตกลง ว่าจ้าง โจทก์ เป็น ผู้ก่อสร้าง บ้าน รวม ราคา ค่าแรง และ ค่า วัสดุ เป็น เงิน 420,000บาท ตกลง จ่าย ค่าจ้าง เป็น งวดๆ ตาม เอกสาร หมาย จ.4 ใน ระหว่างก่อสร้าง งวด ที่ 3 จำเลย ตกลง จ้าง โจทก์ ก่อสร้าง เพิ่มเติม นอกจากที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา คิด ราคา เป็น เงิน 10,000 บาท จำเลย ยัง มิได้ชำระ เงิน ส่วนนี้ ให้ โจทก์ โจทก์ ก่อสร้าง บ้าน ให้ จำเลย และได้ รับ ค่าจ้าง งวด ที่ 3 ไป แล้ว งาน งวด ที่ 3 โจทก์ ยัง ทำงานบางส่วน ไม่ แล้วเสร็จ สำหรับ งวด ที่ 4 โจทก์ ยัง ทำ ไม่ แล้วเสร็จจำเลย ได้ บอก เลิก สัญญา กับ โจทก์ โจทก์ ปฏิเสธ การ บอก เลิก สัญญาโจทก์ จำเลย ได้ เจรจา กัน โดย โจทก์ ขอ ทำงาน ต่อ ให้ แล้วเสร็จ แต่จำเลย ไม่ ยอม ปัญหา ข้อแรก ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ จำเลย ใช้ สิทธิ เลิก สัญญา โดยชอบ แล้ว นั้น เห็นว่าสัญญา ว่าจ้าง ไม่ มี ข้อตกลง กัน ไว้ แน่ชัด ว่า โจทก์ จะ ต้อง ทำให้ เสร็จ เมื่อใด ทั้ง ยัง เหลือ งาน ใน งวด ที่ 4 อัน เป็น งวดสุดท้าย เท่านั้น และ จำเลย ได้ บอก เลิก สัญญา ก็ อ้าง เหตุ ที่โจทก์ ปฏิบัติ ผิด สัญญา เฉพาะ เรื่อง ไม่ ทำการ ก่อสร้าง ให้ แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โจทก์ ทอดทิ้ง งาน และ ไม่ จัดหา วัสดุ กับ ช่าง ที่มี ฝีมือ มา ทำการ ก่อสร้าง ให้ ตรง ตาม แบบแปลน เท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริง ได้ความ ชัด ว่า สัญญา ว่าจ้าง เอกสาร หมาย จ.4 ไม่ ได้กำหนด ระยะเวลา การ ก่อสร้าง ไว้ ด้วย แต่ อย่างใด และ ยัง ไม่ พอรับฟัง ว่า โจทก์ ทอดทิ้ง งาน ส่วน เรื่อง โจทก์ ใช้ วัสดุ ไม่ ได้คุณภาพ และ ช่าง ไม่ มี ฝีมือ ก็ รับฟัง ไม่ ได้ เช่นเดียว กัน เมื่อสัญญา จ้าง ไม่ ได้ กำหนด ระยะเวลา การ ก่อสร้าง ไว้ ชัดแจ้ง และจำเลย เห็นว่า หาก ให้ โจทก์ ทำการ ก่อสร้าง ต่อไป จะ เกิด ความเสียหาย เพราะ งาน ล่าช้า มาก จำเลย จะ เลิก สัญญา ได้ ก็ ต้อง บอกกล่าวกำหนด ระยะเวลา พอสมควร ให้ โจทก์ ปฏิบัติ เสียก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 แต่ จำเลย ก็ มิได้ ทำ เช่นนั้นจึง บอก เลิก สัญญา ด้วย เหตุ ดังกล่าว ไม่ ได้ การ ที่ โจทก์ ขอทำการ ก่อสร้าง ต่อไป และ จำเลย ไม่ ยอม โดย ยืนยัน ให้ เลิก สัญญาตาม เอกสาร หมาย จ.8 จะ ถือ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ไม่ ได้แต่ เป็น เรื่อง จำเลย ใช้ สิทธิ เลิก สัญญา โดย ไม่ ชอบ และ ต้องถือ ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา
ปัญหา อีก ข้อหนึ่ง ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับเงิน ค่าจ้าง งวด ที่ 4 และ ให้ ค่า เสียหาย แก่ โจทก์ มาก ไป นั้นศาลฎีกา เห็นว่า เรื่องนี้ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา จำเลย จะ ต้องรับผิด ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ เพื่อ ความ เสียหาย อย่างใดๆ อัน เกิด แต่ การ เลิก สัญญา นั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 605 เมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า สัญญา ว่าจ้าง เป็น การจ้างเหมา รวมทั้ง ค่าวัสดุ และ ค่าแรง เป็น เงิน 420,000 บาท จ่ายเงิน แล้ว 3 งวด คงเหลือ ไม่ ได้ จ่าย เฉพาะ งวด ที่ 4 เป็น เงิน100,000 บาท เท่านั้น โจทก์ จึง มี สิทธิ จะ ได้ รับ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม เงิน จำนวน ดังกล่าว กับ เงิน ค่าจ้าง ที่ จำเลยให้ ทำการ ก่อสร้าง เพิ่มเติม อีก 10,000 บาท รวม เป็น เงิน 110,000บาท แต่ มี งาน ที่ โจทก์ ยัง ไม่ ได้ ทำ ให้ จำเลย อีก หลาย อย่างคิด ราคา รวมกัน เป็น เงิน 41,750 บาท เมื่อ หัก เงิน จำนวน นี้ ออกจาก ยอดเงิน ที่ จะ ได้ รับ 110,000 บาท คงเหลือ เป็น เงิน ที่ โจทก์มี สิทธิ จะ ได้ รับ เป็น ค่าเสียหาย 68,250 บาท ฎีกา ของ จำเลยฟัง ไม่ ขึ้น แต่ ที่ ศาลล่าง ทั้งสอง มิได้ พิพากษา ยกฟ้อง แย้ง ด้วยนั้น ศาลฎีกา เห็น สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ค่า ฤชาธรรมเนียมใน ส่วน ฟ้องแย้ง ให้ เป็น พับ และ ให้ จำเลย ใช้ ค่า ทนายความชั้นฎีกา 1,200 บาท แทน โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.

Share