แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
กรณีที่สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนการเลิกจ้างซึ่งจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาตามความในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสามซึ่งจะทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้นได้แก่การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างหรือเลิกจ้างในวันที่ระยะเวลาที่ได้ตกลงว่าจ้างสิ้นสุดลงมิได้หมายความว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้างแล้วนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อใดก็ได้เมื่อสัญญาจ้างฉบับสุดท้ายครบกำหนดในวันที่20เมษายน2528จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์โดยให้โจทก์ทำงานกับจำเลยทั้งยินยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา581การที่สัญญาจ้างครบกำหนดในระหว่างที่โจทก์ทำงานอยู่บนเรือนั้นไม่ใช่เหตุซึ่งจะทำให้จำเลยไม่สามารถเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่24เมษายน2528ซึ่งอยู่ในระหว่างอายุของสัญญาจ้างใหม่จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง เป็น คดี สอง สำนวน ว่า โจทก์ เข้า ทำงาน เป็น ลูกจ้างประจำ ของ จำเลย รวม สอง ช่วง ช่วง แรก จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย โจทก์ไม่ มี ความผิด เป็น การ เลิกจ้าง ไม่ เป็น ธรรม ช่วง ที่ สอง โจทก์เข้า ทำงาน เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย เมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2527ได้ รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ 5,059 บาท ต่อมา วันที่ 24เมษายน 2528 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ อีก โดย โจทก์ ไม่ มี ความผิด เป็นการ เลิกจ้าง ไม่ เป็น ธรรม ขอ ให้ จำเลย จ่าย ค่าเสียหาย เนื่องจากการ เลิกจ้าง ไม่ เป็น ธรรม สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ค่าชดเชย และ ค่า ทำงาน ใน วันหยุด พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ใน การ ทำงาน ทั้ง สองช่วง
จำเลย ทั้งสอง สำนวน ให้การ ว่า โจทก์ มิได้ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลยโจทก์ รับจ้าง จาก เจ้าของ เรือ เดินทะเล จำเลย เป็น เพียง ผู้รับมอบอำนาจ จาก เจ้าของเรือ ให้ เป็น ผู้ทำ สัญญาจ้าง และ จ่าย ค่าจ้างแทน ใน บางครั้ง บางคราว เท่านั้น โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง จำเลยอย่างไร ก็ตาม โจทก์ ทำ สัญญาจ้าง กับ เจ้าของเรือ มี กำหนด ระยะเวลาการ จ้าง 1 ปี เมื่อ เจ้าของเรือ เลิกจ้าง โจทก์ ภายใน กำหนด ถือ ว่าเป็น การ เลิกจ้าง กรณี ที่ การ จ้าง มี กำหนด ระยะเวลา การ จ้างไว้ แน่นอน โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก เงิน ต่างๆ ตาม ฟ้อง ขอ ให้ยกฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน
ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่า เมื่อ โจทก์ ถูก เลิกจ้าง ครั้งแรก โจทก์ไป ร้องเรียน ต่อ กรมแรงงาน จำเลย จึง รับ โจทก์ กลับ เข้า ทำงานตาม เดิม อายุ การ ทำงาน จึง ต้อง นับ ติดต่อ กัน โจทก์ มี สิทธิได้ รับ ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า เพียงครั้งเดียว พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย เท่ากับ ค่าจ้าง อัตราสุดท้าย 180 วัน เป็น เงิน 25,100.70 บาท และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า เป็น เวลา 1 เดือน 5 วัน เป็น เงิน 4,880.65 บาทพร้อมด้วย ดอกเบี้ย คำขอ อื่น ให้ ยก
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ สัญญาจ้าง มี กำหนดระยะเวลา การ จ้าง ไว้ แน่นอน การ เลิกจ้าง ซึ่ง จะ ถือ ว่า เป็น การเลิกจ้าง ตาม กำหนด ระยะเวลา ตาม ความ ใน ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ซึ่ง จะ ทำ ให้ นายจ้าง ไม่ ต้องจ่าย ค่าชดเชย นั้น ได้แก่ การ ที่ นายจ้าง เลิกจ้าง ลูกจ้าง ใน วันที่ครบ กำหนด ตาม สัญญาจ้าง หรือ เลิกจ้าง ใน วันที่ ระยะเวลา ที่ ได้ตกลง ว่าจ้าง สิ้นสุด ลง มิได้ หมายความ ว่า เมื่อ ครบ กำหนด ตามสัญญาจ้าง แล้ว นายจ้าง จะ เลิกจ้าง ลูกจ้าง เมื่อใด ก็ ได้ คดีนี้ปรากฏ ว่า สัญญาจ้าง ฉบับ สุดท้าย ครบ กำหนด ใน วันที่ 20 เมษายน2528 จำเลย มิได้ เลิกจ้าง โจทก์ โดย ให้ โจทก์ ทำงาน กับ จำเลย ทั้งยินยอม จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ ต้อง ถือว่า โจทก์ และ จำเลย ได้ทำ สัญญาจ้าง กัน ใหม่ โดย ความ อย่างเดียวกัน กับ สัญญา เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 581 ดังนั้น เมื่อ จำเลย เลิกจ้างโจทก์ ใน ระหว่าง อายุ ของ สัญญาจ้าง ใหม่ จึง ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็นการ เลิกจ้าง กรณี ที่ สัญญาจ้าง มี กำหนด ระยะเวลา การ จ้าง ไว้ แน่นอนและ จำเลย ได้ เลิกจ้าง ตาม กำหนด ระยะเวลานั้น ซึ่ง จะ ทำ ให้ จำเลยไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย การ ที่ สัญญาจ้าง ครบ กำหนด ใน ระหว่าง ที่โจทก์ ทำงาน อยู่ บน เรือ นั้น ไม่ ใช่ เหตุ ซึ่ง จะ ทำ ให้ จำเลย ไม่สามารถ เลิกจ้าง โจทก์ ไม่ ได้ จำเลย ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย ดอกเบี้ย ใน ค่าชดเชย นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง