แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมายก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไปและการที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และสั่งให้จำเลยที่2ดำเนินการตามระเบียบจำเลยที่2จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านตามคำสั่งของจำเลยที่1เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่. โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่1เกิดเมื่อวันที่13ธันวาคม2501และโจทก์ที่2เกิดเมื่อวันที่15กรกฎาคม2503ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่16มีนาคม2504ดังนั้นในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แล้วแม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิดโจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือส.ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เกิด เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2501 โจทก์ที่ 2 เกิด เมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2503 เป็น บุตร ของ นาย สุพรรณคน สัญชาติ ไทย กับ นาง เหมา คน ญวน อพยพ ซึ่ง ได้ รับ อนุญาต ให้ อยู่ใน ราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว แต่งงาน กัน ใน ปี 2499 บิดา มารดา ได้แจ้ง เพิ่ม ชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง เข้า ใน ทะเบียน บ้าน ต่อมา บิดา มารดาโจทก์ ได้ จด ทะเบียน สมรส กัน เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2504 จำเลย ที่1 ซึ่ง มี หน้าที่ ใน การ ปกครอง รักษา ความ มั่นคง ภายใน เขต จังหวัดอุบลราชธานี ควบคุม ดูแล กิจการ ญวนอพยพ ใน เขต จังหวัด สั่ง ให้ จำเลยที่ 2 ซึ่ง มี อำนาจ หน้าที่ เกี่ยวกับ การทะเบียนราษฎร เทศบาล เมืองอุบลราชธานี ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ออก จาก ทะเบียนบ้าน อ้าง ว่าโจทก์ ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337เป็น เหตุ ให้ จำเลย ที่ 2 ถอน ชื่อ โจทก์ ออก จาก ทะเบียนบ้าน ข้างต้นโจทก์ ทั้ง สอง เป็น บุตร ของ นาย สุพรรณ คน สัญชาติไทย จึง ไม่ ถูกถอน สัญชาติไทย ขอ ให้ ศาล พิพากษา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น คน สัญชาติไทย และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน เพิ่ม ชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ลง ในทะเบียนบ้าน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง จำเลยทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง ถูก เพิกถอน สัญชาติ ตาม ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว จำเลย ทั้ง สอง เพียง ปฏิบัติ ตาม กฎหมาย จึง ไม่ ได้โต้แย้ง สิทธิ โจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มี สัญชาติ ไทย ให้ เพิ่ม ชื่อใน ทะเบียนบ้าน ตาม ฟ้อง
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฟ้อง นาย บุญช่วย ศรีสารคาม จำเลย ที่ 1ใน ฐานะ ผู้ว่าราชการ จังหวัด อุบลราชธานี โดย บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยที่ 1 ได้ สั่งการ ให้ มี การ ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ออก จากทะเบียนบ้าน เนื่องจาก โจทก์ ทั้ง สอง ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตามประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และ ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่าผู้ว่าราชการจังหวัด เท่านั้น ที่ จะ มี อำนาจ ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สองออก จาก ทะเบียนบ้าน ได้ แสดง ชัด ว่า โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด อุบลราชธานี เท่านั้น ส่วน ที่ โจทก์ กล่าว ในฟ้อง ถึง จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น ผู้อำนวยการ รักษา ความมั่นคง ภายในเขต จังหวัด อุบลราชธานี มา ด้วย แม้ จะ เป็น ตำแหน่ง ที่ ไม่ มี ในกฎหมาย ดัง จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ก็ ไม่ ทำ ให้ ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ ฟ้องจำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ ผู้ว่าราชการ จังหวัด อุบลราชธานี เสีย ไป จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ต่อมา ว่า การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ปฏิบัติ การ เกี่ยวกับสัญชาติ ของ โจทก์ เป็น การ ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่ โดย ชอบ ด้วยกฎหมาย และ ระเบียบ แบบแผน จึง ไม่ เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์โจทก์ ไม่ มี อำนาจฟ้อง เห็น ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะผู้ว่าราชการ จังหวัด อุบลราชธานี มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 2ทราบ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง และ บุตร ทุกคน ของ นาย สุพรรณ ศรีธัญรัตน์ไม่ ได้ สัญชาติ ไทย ตาม ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และ สั่งให้ จำเลย ที่ 2 ดำเนินการ ถอน ชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ออก จาก ทะเบียนบ้านเลขที่ 63 – 65 ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตาม ระเบียบ ซึ่ง จำเลย ที่ 2 ได้ ปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของจำเลย ที่ 1 ผู้ว่าราชการ จังหวัด อุบลราชธานี แสดง ว่า จำเลย ทั้ง สองได้ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ แล้ว แม้ การ กระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง จะเป็น การ ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่ โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย และ ระเบียบแบบแผน ก็ ไม่ ทำ ให้ กลาย เป็น ไม่ ได้ โต้แย้ง สิทธิ โจทก์ ไป ไม่โจทก์ ทั้ง สอง จึง มี อำนาจ ฟ้อง คดี นี้
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ต่อมา ว่า แม้ โจทก์ ทั้ง สอง จะ ปรากฏ บิดา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สอง ก็ ย่อม ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตามประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ดังกล่าวด้วย ปัญหา นี้ เห็น ว่า ประกาศ ของคณะปฏิวัติ ดังกล่าว บัญญัติ ว่า ‘ให้ ถอน สัญชาติ ไทย ของ บุคคล ที่เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย โดย บิดา เป็น คนต่างด้าว หรือ มารดา เป็นคนต่างด้าว แต่ ไม่ ปรากฏ บิดา ที่ ชอบ ด้วย กฎหมาย และ ใน ขณะ เกิดบิดา มารดา นั้น เป็น
(1)…………
(2) ผู้ ที่ ได้ รับ อนุญาต ให้ เข้า อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย เพียงชั่วคราว หรือ
(3)…………’บทบัญญัติ ดังกล่าว แปล ความหมาย ได้ ว่า หาก โจทก์ ทั้ง สอง ปรากฏ บิดาโดย ชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ทั้ง สอง ย่อม ไม่ ถูก ถอน สัญชาติ ไทย ตามที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา แต่ ข้อเท็จจริง ใน คดีนี้ ได้ ความ ว่า โจทก์ทั้ง สอง มี มารดา คือ นาง เหมา หรือ ลัดดา เป็น คน ญวน อพยพ ซึ่ง เป็นคน ต่างด้าว ตาม ความหมาย ของ ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ดังกล่าว และ ได้รับ อนุญาต ให้ อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย ชั่วคราว ใน ขณะ ที่ โจทก์ ทั้งสอง เกิด ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มี บิดา ที่ ชอบ ด้วย กฎหมายได้ ความ ตาม ที่ โจทก์ ทั้ง สอง นำสืบ ว่า โจทก์ ที่ 1 เกิด เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และ โจทก์ ที่ 2 เกิด เมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม2503 แต่ นาง เหมา หรือ ลัดดา เพิ่ง จด ทะเบียน สมรส กับ นาย สุพรรณศรีธัญรัตน์ ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สอง อ้าง ว่า เป็น บิดา โจทก์ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ใน ขณะ เกิด มารดา โจทก์ ทั้ง สอง จึง เป็นคนต่างด้าว ที่ ได้ รับ อนุญาต ให้ อยู่ ใน ราชอาณาจักรไทย ชั่วคราวและ ไม่ ปรากฏ บิดา ที่ ชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง ได้สัญชาติไทย โดย การ เกิด ใน ราชอาณาจักรไทย จึง ถูก ถอน สัญชาติ ตามประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ ภายหลัง ที่ โจทก์ ทั้ง สองเกิด โจทก์ ทั้ง สอง จะ มี บิดา โดย ชอบ ด้วย กฎหมาย คือ นาย สุพรรณศรีธัญรัตน์ ก็ ตาม ก็ หา ทำ ให้ โจทก์ ทั้ง สอง เกิด สิทธิ ที่ จะ ได้สัญชาติไทย ไม่ แม้ ปัญหา หลัง นี้ จำเลย ทั้ง สอง จะ ไม่ได้ ฎีกา ก็ตาม แต่ ศาลฎีกา เห็น ว่า ปัญหา ดังกล่าว เป็น ปัญหา ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา มี อำนาจ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ดังนั้น เมื่อ โจทก์ทั้ง สอง ถูก ถอน สัญชาติไทย ตาม ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง จึง ไม่ มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง ให้ เพิ่มชื่อ โจทก์ ทั้ง สอง ลง ใน ทะเบียนราษฎร์ ตาม ฟ้อง ได้
พิพากษา กลับ ยกฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง