แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208เป็นคำสั่งภายหลังเมื่อศาลได้พิพากษาคดีแล้วจึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน1เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งคำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุดแม้ศาลอุทธรณ์ภาค3จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทจาก ป. แล้วครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ซึ่งเป็นเพียงคำเบิกความลอยๆง่ายแก่การกล่าวอ้างทั้งโจทก์เป็นคนยากจนไม่มีเงินเก็บไว้พอที่จะนำมาชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้ ป. และในการซื้อขายก็ไม่ปรากฏว่ามีการทำหลักฐานไว้เป็นหนังสือแม้โฉนดที่ดินโจทก์ก็ไม่ได้เป็นผู้เก็บรักษาไว้ซึ่งราคาที่ซื้อขายกันขณะนั้นก็เป็นราคาที่ค่อนข้างสูงประกอบกับหากโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ป. จริงก็น่าจะครอบครองทำประโยชน์เต็มเนื้อที่แต่โจทก์กลับครอบครองทำประโยชน์แต่เพียงบางส่วนเหมือนครั้งป. ยังมีชีวิตอยู่พยานหลักฐานโจทก์จึงขาดน้ำหนักขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ป. จริง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 354 เป็น กรรมสิทธิ์ ของนาย ถนอม ชูเหม นางสาว ปลีก ขาวเอี่ยม และ จำเลยร่วม กัน นางสาว ปลีก ได้ ขาย ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ ตน ให้ โจทก์ ใน ราคา 12,000 บาท โดย ไม่ได้ จดทะเบียน ตาม กฎหมาย แต่ ได้ มอบ ที่ดิน ให้ โจทก์ เข้า ครอบครองทำนา โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ เป็น เวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ จึง ได้ กรรมสิทธิ์ ตาม กฎหมาย โดย การ ครอบครองต่อมา นางสาว ปลีก ได้ ถึงแก่ความตาย จำเลย ซึ่ง รู้ อยู่ แล้ว ว่า โจทก์ มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ นางสาว ปลีก ได้ ขอรับ มรดก ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ดังกล่าว ใน ฐานะ ทายาท เป็น การ ใช้ สิทธิโดย ไม่สุจริต ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขอให้ ศาล เพิกถอน การ จดทะเบียน รับมรดก ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ นางสาว ปลีก เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ และ พิพากษา ว่า ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ นางสาว ปลีก ดังกล่าว ตกเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โดย การ ครอบครอง จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอนการ จดทะเบียน รับโอน มรดก ของ จำเลย ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 354ตำบล ยางหย่อง อำเภอแม่ประจันต์ (ปัจจุบัน ตำบล ท่าแลง อำเภอ ท่ายาง ) จังหวัด เพชรบุรี เฉพาะ ส่วน ของ นางสาว ปลีก ขาวเอี่ยม และ ให้ ที่ดิน ดังกล่าว ตกเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ โดย การ ครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
จำเลย ยื่น คำร้องขอ พิจารณา ใหม่ อ้างว่า มิได้ จงใจ ขาดนัดศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ พิจารณา ใหม่
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้น พิจารณา ใหม่ แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย อธิบดี ผู้พิพากษา ภาค 7 รับรอง ว่า มีเหตุ สมควรที่ จะ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา ใน ศาลชั้นต้น รับรองว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า คำร้องขอ ให้ พิจารณา ใหม่ของ จำเลย ไม่ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208ศาล ไม่ควร มี คำสั่ง อนุญาต ให้ มี การ พิจารณา ใหม่ นั้น เห็นว่า คำสั่ง ของศาลชั้นต้น ที่ ให้ พิจารณา ใหม่ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 เป็น คำสั่ง ภายหลัง เมื่อ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี แล้วไม่เป็น คำสั่ง ระหว่าง พิจารณา แต่ เป็น คำสั่ง ชี้ขาด ใด ๆ ซึ่ง อยู่ ในบังคับ ของ การ อุทธรณ์ คำพิพากษา หรือ คำสั่ง ชี้ขาด ซึ่ง ต้อง ยื่น อุทธรณ์ภายใน กำหนด 1 เดือน นับแต่ วันที่ ศาลชั้นต้น อ่าน คำสั่ง ดังกล่าว ให้คู่ความ ฟัง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 และ 229เมื่อ โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ อนุญาต ให้ พิจารณา ใหม่ภายใน 1 เดือน นับแต่ วันที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้นดังกล่าว จึง ถึงที่สุด แล้ว โจทก์ ไม่มี สิทธิ หยิบยก ประเด็น ดังกล่าว ขึ้นอุทธรณ์ อีก แม้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ให้ ก็ ถือไม่ได้ว่า เป็น ข้อที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 โดยชอบ โจทก์ จะ ยกขึ้นฎีกา ต่อมา ไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
คง มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ประการ เดียว ว่า โจทก์ ได้ครอบครอง ที่ดินพิพาท จน ได้ กรรมสิทธิ์ แล้ว หรือไม่ โจทก์ นำสืบ ว่าโจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท มาจาก นางสาว ปลีก ประมาณ 20 ปี แล้ว ใน ราคา 12,000 บาท โดย ขาย บ้าน เก่า แล้ว นำ เงิน มา ซื้อ แต่ ไม่ได้ ทำ หลักฐานการ ซื้อ ขาย เป็น หนังสือ และ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่นางสาว ปลีก ได้ ส่งมอบ ที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ เข้า ไป ทำนา และ ทำไร่ ตลอดมา แต่ โจทก์ เบิกความ ตอบ ทนายจำเลย ถาม ค้าน ว่า โจทก์ และ จำเลย มี ฐานะยากจน มี บุตร 6 คน ไม่มี เงินเก็บ ไว้ เลย โจทก์ จ่ายเงิน ค่าที่ดิน ให้ แก่นางสาว ปลีก 2 ครั้ง ครั้งแรก เป็น เงิน 5,000 บาท ซึ่ง เป็น เงิน ที่ ได้ มาจาก การ ขาย บ้าน จำนวน 11,000 บาท ส่วน ที่ เหลือ อีก 7,000บาท โจทก์ ได้ ทยอย ให้ แก่ นางสาว ปลีก ไป เรื่อย ๆ เห็นว่า ข้ออ้าง ของ โจทก์ ที่ ว่า นำ เงิน จาก การ ขาย บ้าน เก่า บางส่วนจำนวน 5,000 บาท มา ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก นางสาว ปลีก นั้น มี แต่ คำเบิกความ ลอย ๆ ของ โจทก์ ง่าย แก่ การ กล่าวอ้าง ทั้ง โจทก์ เป็นคน ยากจน ไม่มี เงินเก็บ ไว้ เลย ดังนี้ แล้ว โจทก์ จะ นำ เงิน จาก ที่ ใดไป ชำระ ค่าที่ดิน พิพาท ส่วน ที่ ขาด อยู่ ให้ แก่ นางสาว ปลีก นอกจาก นั้น ก็ ไม่มี หลักฐาน การ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับ นางสาว ปลีก เป็น หนังสือ แม้ กระทั่ง โฉนด ที่ดินพิพาท โจทก์ ก็ ไม่ได้ เป็น ผู้ เก็บรักษา ไว้ จึง ขัด ต่อ เหตุผล หาก โจทก์ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก นางสาว ปลีก ใน ราคา 12,000 บาท ซึ่ง ราคา ใน ขณะ นั้น เป็น จำนวน ค่อนข้าง สูงสำหรับ โจทก์ โจทก์ ก็ น่า ที่ จะ ขวนขวาย ทำ หลักฐาน ไว้ บ้าง เกี่ยวกับการ ครอบครอง ที่ดินพิพาท โจทก์ นำสืบ ว่า นางสาว ปลีก มอบ ที่ดินพิพาท ให้ ครอบครอง ทั้ง 12 ไร่ เศษ แต่ นาง ผา ขันแดง พยานโจทก์ เบิกความ ว่า จำเลย กับ นางสาว ปลีก ทำนา ร่วมกัน ใน ที่ดิน ส่วนกลาง เป็น เนื้อที่ ประมาณ 5 ไร่ ที่ เหลือ เป็น ป่า เมื่อ โจทก์ แต่งงาน กับ จำเลยก็ ได้ ช่วย กัน ทำนา ใน ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 5 ไร่ และ เมื่อ โจทก์ มี บุตร6 คน ก็ ยัง คง ทำนา ใน เนื้อที่ 5 ไร่ เห็นว่า ตาม แผนที่ สังเขป เอกสารหมาย จ. 2 พื้นที่ ส่วน ใหญ่ ของ ที่ดินพิพาท มี สภาพ เป็น ป่า มี ที่นาเป็น ส่วน น้อย แสดง ว่า โจทก์ ยัง คง ทำนา ประมาณ 5 ไร่เหมือน เมื่อ ครั้ง นางสาว ปลีก ยัง มี ชีวิต อยู่ หาก โจทก์ ซื้อ ที่ดิน พิพาท จาก นางสาว ปลีก โจทก์ ก็ น่า ที่ จะ ครอบครอง ทำประโยชน์ เต็ม เนื้อที่ ทั้ง 12 ไร่ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ จึง ขาด น้ำหนักไม่ น่าเชื่อ ว่า โจทก์ ได้ ซื้อ ที่ดินพิพาท จาก นางสาว ปลีก แล้ว เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท โดย ความสงบ และ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนาเป็น เจ้าของ โจทก์ สืบ ไม่ สม คำฟ้อง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายก ฟ้องโจทก์ นั้น ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน