คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วางหลักเกณฑ์การนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้2กรณีกรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยกรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันรับอุทธรณ์ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน1ปีนับแต่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องร้องและปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นี้เป็นหน้าที่ของศาลต้องพิจารณาหาใช่อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน 162,096,022.50 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 140,840,000 บาทนับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยเป็น ข้อ แรก ว่า ใน กรณี ที่ รัฐมนตรี มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ให้ เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ อุทธรณ์ โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี ต่อ ศาลภายใน 1 ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัย ของรัฐ มนตรีหรือไม่ ใน ปัญหา นี้ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่า โจทก์ ซึ่งเป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 16798 แขวง แสมดำ เขต บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่ดิน ดังกล่าว ถูก เวนคืน ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ และ โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ได้รับ ค่าทดแทนตาม มาตรา 18 แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ไม่พอ ใจ จำนวนเงิน ค่าทดแทน ที่ คณะกรรมการ กำหนดได้ อุทธรณ์ ต่อ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม2533 ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้วินิจฉัย อุทธรณ์ ตาม เอกสาร ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2535และ แจ้ง คำวินิจฉัย ให้ โจทก์ ทราบ เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2535เห็นว่า พระราชบัญญัติ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่ง เป็นกฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ ใน ขณะ เกิด กรณี พิพาท คดี นี้ มาตรา 26 บัญญัติ ว่า”ใน กรณี ที่ ผู้มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าทดแทน ยัง ไม่พอ ใจ คำวินิจฉัย ของรัฐมนตรี ตาม มาตรา 25 หรือ ใน กรณี ที่ รัฐมนตรี มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ให้ เสร็จสิ้น ภายใน กำหนด เวลา ตาม มาตรา 25 วรรคสอง ให้ มีสิทธิฟ้องคดี ต่อ ศาล ได้ ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัยของรัฐ มนตรี หรือ นับแต่ วันที่ พ้น กำหนด เวลา ดังกล่าว แล้วแต่ กรณี “ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว เมื่อ พิเคราะห์ ประกอบ บทบัญญัติมาตรา 25 แล้ว จะ เห็น ได้ว่า บทบัญญัติ ของ มาตรา 26 ได้ วางหลักเกณฑ์ ใน การ นำ คดี มา ฟ้อง ศาล เมื่อ ผู้มีสิทธิ ได้รับ ค่าทดแทนยัง ไม่พอ ใจ คำวินิจฉัย ของรัฐ มนตรี ไว้ 2 กรณี คือ กรณี แรก เป็นกรณี ที่ รัฐมนตรี ได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ เสร็จสิ้น ใน 60 วัน นับแต่ วันที่ได้รับ อุทธรณ์ เมื่อ ผู้มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าทดแทน ยัง ไม่พอ ใจคำวินิจฉัย ของรัฐ มนตรี ก็ มีสิทธิ นำ คดี มา ฟ้อง ต่อ ศาล ภายใน 1 ปีนับแต่ ที่ ได้รับ แจ้ง คำวินิจฉัย นั้น กรณี ที่ สอง เป็น กรณี ที่ รัฐมนตรีวินิจฉัย อุทธรณ์ ไม่ เสร็จสิ้น ภายใน 60 วัน นับแต่ วัน รับ อุทธรณ์กรณี เช่นนี้ ผู้มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าทดแทน มีสิทธิ นำ คดี มา ฟ้อง ศาล ภายใน1 ปี นับแต่ พ้น กำหนด 60 วัน นับแต่ วันที่ ได้รับ อุทธรณ์ คดี นี้ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า เป็น กรณี ที่ รัฐมนตรี มิได้ วินิจฉัย อุทธรณ์ ให้เสร็จสิ้น ภายใน 60 วัน นับแต่ วัน รับ อุทธรณ์ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในมาตรา 25 วรรคสอง ดังนี้ สิทธิ ใน การ นำ คดี มา ฟ้อง ต่อ ศาล ภายใน1 ปี จึง เริ่ม นับแต่ วัน พ้น กำหนด ดังกล่าว คือ ภายใน วันที่ 19 ตุลาคม2534 โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง เมื่อ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2536 เกินกว่า1 ปี นับแต่ วัน พ้น กำหนด ที่ รัฐมนตรี ต้อง วินิจฉัย ให้ แล้ว เสร็จ ตาม ที่กฎหมาย บัญญัติ ไว้ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องร้อง
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า คณะกรรมการ วินิจฉัย ร้องทุกข์ ที่ ได้ วินิจฉัยอุทธรณ์ ของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 และ นาย วัฒนา รัตนวิจิตร เลขาธิการ คณะกรรมการ กฤษฎีกา ใน ขณะ นั้น ต่าง มี ความเห็น ว่าโจทก์ มีสิทธิ ฟ้องคดี ต่อ ศาล ได้ ตาม มาตรา 26 แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการ เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น เห็นว่า แม้ จะ ปรากฏตาม คำเบิกความ ของ นาย วัฒนา ที่ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ติง ว่า ได้ มี ความเห็น ของ คณะกรรมการ ร่าง กฎหมาย ว่า รัฐมนตรี วินิจฉัย เกิน กำหนดระยะเวลา ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้ ไม่ทำ ให้ คำวินิจฉัย เสีย ไป กรณี ที่โจทก์ ได้ ฟ้องคดี นี้ หลังจาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ได้ วินิจฉัยจะ ทำให้ คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ นั้น เป็น ไป ตาม มาตรา 26แห่ง พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ แปล ความหมาย ได้ว่า คณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ได้ วินิจฉัย ว่า โจทก์ มีสิทธิ ฟ้องร้อง เป็น หน้าที่ ของ ศาลต้อง พิจารณา ข้อเท็จจริง ว่า สิทธิ ของ โจทก์ ที่ นำ คดี มา ฟ้อง นั้น เป็น ไปตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 26 หรือไม่ และ เมื่อ ได้ วินิจฉัย แล้ว ว่าโจทก์ ไม่นำ คดี มา ฟ้อง ภายใน 1 ปี นับแต่ วัน พ้น กำหนด ที่รัฐมนตรี ต้อง วินิจฉัย ตาม มาตรา 25 โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องร้อง แล้วกรณี ก็ ไม่จำต้อง วินิจฉัย ใน ประเด็น อื่น อีก ต่อไป ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share