แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ประมวลรัษฎากรเป็น กฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชนจึงต้อง ตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้นโดยมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลย มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากตามมาตรา40(1)และก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำมาตรา57ตรีมาใช้บังคับได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ภริยา นาย สุนทร มี หน้าที่ ต้อง ร่วมกัน ชำระ ภาษีเงินได้ นาย สุนทร ถึงแก่ความตาย ไป แล้ว โจทก์ จึง แจ้ง การ ประเมิน ภาษีเงินได้ ของ นาย สุนทร แก่ จำเลย จำเลย อุทธรณ์ การ ประเมิน แต่ แล้ว มิได้ ฟ้อง เพิกถอน การ ประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์หนี้ ค่าภาษี เงินได้ จึง เป็น หนี้ เด็ดขาด จำนวน แน่นอน เป็น เงิน41,156,691.18 บาท โจทก์ ทวงถาม จำเลย 2 ครั้ง ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า30 วัน แล้ว จำเลย ไม่ชำระ ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย เด็ดขาดและ พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
โจทก์ ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่น อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อ ศาลฎีกา พร้อม คำฟ้อง อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์และ ส่ง สำเนา คำฟ้อง อุทธรณ์ และ คำร้อง แก่ จำเลย แล้ว จำเลย มิได้คัดค้าน คำร้อง ดังกล่าว ภายใน กำหนด เวลา ยื่น คำแก้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น จึงสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย มา สู่ ศาลฎีกา ว่า จำเลยซึ่ง เป็น ภริยา ของ นาย สุนทร ไกรธรรมจิตกุล จะ ต้อง ร่วมรับผิด ใน หนี้ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ที่นาย สุนทร ค้างชำระ แก่ โจทก์ หรือไม่ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า จำเลย จะ ต้อง ร่วมรับผิด ใน การ เสีย ภาษี ที่ ค้างชำระของ สามี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี นั้น ศาลฎีกา เห็นว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก ที่ บัญญัติ ว่า “ใน การ เรียกเก็บ ภาษีเงินได้ จาก สามี และ ภริยา นั้น ถ้า สามี และ ภริยา อยู่ ร่วมกันตลอด ปีภาษี ที่ ล่วง มา แล้ว ให้ ถือเอา เงินได้พึงประเมิน ของ ภริยา เป็นเงินได้ ของ สามี และ ให้ สามี มี หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบ ใน การ ยื่นรายการ และ เสีย ภาษี แต่ ถ้า ภาษี ค้างชำระ และ ภริยา ได้รับ แจ้งล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า เจ็ด วัน แล้ว ให้ ภริยา ร่วมรับผิด ใน การ เสีย ภาษีที่ ค้างชำระ นั้น ด้วย ” นั้น ใช้ บังคับ เฉพาะ ใน กรณี ที่ สามี และ ภริยาต่าง ฝ่าย ต่าง มี เงินได้ ซึ่ง กฎหมาย ให้ ถือเอา เงินได้พึงประเมิน ของภริยา เป็น เงินได้ ของ สามี โดย ให้ สามี มี หน้าที่ และ ความรับผิด ชอบใน การ ยื่น รายการ และ เสีย ภาษี เท่านั้น ฉะนั้น หาก ภริยา ไม่มี เงินได้พึง ประเมิน ใน ปีภาษี ที่ ล่วง มา แล้ว หรือ มี เฉพาะ เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) เพียง อย่างเดียว ซึ่ง ภริยา ได้ แยก ยื่น รายการ และ เสีย ภาษีต่างหาก จาก สามี โดย มิให้ ถือว่า เป็น เงินได้ ของ สามี ตาม มาตรา 57 ตรีตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน มาตรา 57 เบญจ แล้ว ก็ มิใช่ กรณี การ เก็บภาษีเงินได้ จาก สามี และ ภริยา ที่ กฎหมาย บังคับ ให้ ถือเอาเงินได้พึงประเมิน ของ ภริยา เป็น เงินได้ ของ สามี ซึ่ง สามี มี หน้าที่ และความรับผิด ชอบ ใน การ ยื่น รายการ และ เสีย ภาษี และ ถ้า ภาษี ค้างชำระและ ภริยา ได้รับ แจ้ง ล่วงหน้า ไม่ น้อยกว่า 7 วัน แล้ว ภริยา ต้อง ร่วมรับผิด ใน การ เสีย ภาษี ที่ ค้างชำระ นั้น ตาม มาตรา 57 ตรี วรรคแรกแต่อย่างใด เมื่อ คดี นี้ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย มีเงินได้พึงประเมิน ประเภท อื่น นอกจาก เงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(1)และ จำเลย ก็ ได้ แยก ยื่น รายการ และ เสีย ภาษี ต่างหาก จาก สามี ตามมาตรา 57 เบญจ แล้ว จึง ไม่อาจ นำ บทบัญญัติ ใน มาตรา 57 ตรี มา ใช้บังคับ ให้ จำเลยร่วม รับผิด ใน การ เสีย ภาษี ที่ สามี ค้างชำระ ได้ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่าการ แยก ยื่น รายการ และ เสีย ภาษี ต่างหาก ตามมาตรา 57 เบญจ เป็น เพียง บทบัญญัติ ต่อเนื่อง เกี่ยวกับ วิธีการ ชำระภาษี ของ สามี ภริยา ซึ่ง ได้ มี การ กำหนด หลักเกณฑ์ ทั่วไป ไว้ ใน มาตรา 57ตรี แห่ง ประมวลรัษฎากร เท่านั้น ดังนั้น แม้ ภริยา จะ แยก ยื่น รายการและ เสีย ภาษี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 เบญจ แล้ว ก็ ตามความรับผิด ของ ภริยา ร่วม กับ สามี ใน ภาษีอากร ค้างชำระ ใน ส่วน ที่ ถือว่าเป็น เงินได้ ของ สามี ก็ ยัง คง มี อยู่ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรีไม่ว่า ภริยา จะ มี เงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40 กี่ ประเภท ก็ ตาม นั้นศาลฎีกา เห็นว่า ประมวลรัษฎากร เป็น กฎหมาย มหาชน ที่ กำหนด ภาระ หน้าที่ให้ ประชาชน ปฏิบัติ ต่อ รัฐ อัน มีผล กระทบ กระเทือน ต่อ สิทธิ เสรีภาพและ ทรัพย์สิน ของ ประชาชน จึง ต้อง ตีความ โดย เคร่งครัด ใน ทาง ที่จะ ไม่ ก่อ ให้ เกิด ภาระ หน้าที่ หรือ กระทบ กระเทือน ต่อ สิทธิ ของ ประชาชนผู้ซึ่ง เป็น ฝ่าย จะ ต้อง เสีย เพิ่มขึ้น ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา มา นั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน