คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามสัญญาประกันภัยมีเงื่อนไขระบุว่าเมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยมีสิทธิซ่อมเปลี่ยนหรือใช้รถยนต์สภาพเดียวกันนั้นผู้รับประกันภัยจะต้องเลือกซ่อมโดยช่างซ่อมที่มีฝีมือด้วยการที่ผู้เอาประกันภัยไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ให้ซ่อมเพราะยังไม่พอใจว่าช่างซ่อมของผู้รับประกันภัยจะซ่อมรถได้ดีหรือไม่และไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยจะไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้รับประกันภัยโดยเด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไขในสัญญา. การที่ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่อ้างว่าทำละเมิดนั้นเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยจะถือว่าผู้เอาประกันภัยสละสิทธิที่จะให้ผู้รับประกันภัยปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่.

ย่อยาว

โจทก์ สำนวน ที่ สาม ฟ้อง จำเลย ให้ รับ ผิด ตาม กรมธรรม์ ประกันภัยพร้อม ค่าเสียหาย และ ดอกเบี้ย รวม เป็น เงิน ทั้งสิ้น 121,906.93 บาท
จำเลย ให้การ ว่า รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ เอา ประกันภัย ไว้ ไม่ ได้เสียหาย ตาม ฟ้อง เมื่อ เกิดเหตุ แล้ว โจทก์ ไม่ ส่งมอบ รถยนต์ ให้จำเลย จัดการ ซ่อม ให้ ตาม เงื่อนไข แห่ง กรมธรรม์ ประกันภัย โจทก์ จึงเป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 86,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า แม้ จะ มี ข้อตกลง ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน เงื่อนไขของ สัญญา ประกันภัย ระหว่าง โจทก์ จำเลย ให้ จำเลย มี สิทธิ เลือก ซ่อมเปลี่ยน หรือ ใช้ รถ สภาพเดียวกัน รวมทั้ง ใช้ เป็น เงิน แทน ตาม แต่จะ เห็น สมควร ได้ ก็ ตาม แต่ จำเลย ก็ จะ ต้อง เลือก ซ่อม โดย ช่างซ่อม ที่ มี ฝีมือ ด้วย เมื่อ โจทก์ นำ ช่าง ซ่อม มา ดู ความ เสียหายของ รถ โจทก์ แล้ว ช่าง ซ่อม คิดค่า ซ่อม เป็น เงิน 99,070 บาท ส่วนจำเลย ว่า ค่า ซ่อม ที่ จำเลย จะ นำ รถ ไป ซ่อม คิด เป็น เงิน เพียง60,000 บาท การ ที่ โจทก์ ยัง ไม่ ยอม ส่งมอบ รถ ให้ จำเลย เพราะ ยังไม่ แน่ใจ ว่า ช่าง ซ่อม ของ จำเลย จะ ซ่อม รถ ดี หรือไม่ และ ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ จะ ไม่ ส่งมอบ รถ ให้ จำเลย โดย เด็ดขาดหรือไม่ จึง ยัง ถือ ไม่ ได้ ว่า โจทก์ ผิด สัญญา อัน จำเลย ไม่ ต้องรับผิด ส่วน การ ที่ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลยที่ 3 นั้น เห็นว่า การ ฟ้อง คดี เป็น การ ใช้ สิทธิ ตาม กฎหมาย ของจำเลย ที่ 1 จะ ถือ ว่า จำเลย ที่ 1 สละสิทธิ ที่ จะ ให้ จำเลย ที่ 2ปฏิบัติ ตาม สัญญา หา ได้ ไม่
พิพากษา ยืน (เฉพาะ คดี สำนวน ที่ สาม)

Share