คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ทวิวรรคแรกกำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรก่อนถึงกำหนดสำหรับภาษีการค้าที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นมาตรา85ทวิและมาตรา86กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่15ของเดือนถัดไปเว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดออกไปได้อีกถ้าอธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นแก่กรณีตามมาตรา3อัฏฐเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงปี2527ถึง2529ไม่มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่27กรกฎาคม2531โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529จึงเป็นการประเมินภายหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529ไปแล้วซึ่งเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการจึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา18ทวิ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมินและ ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์
จำเลย ให้การ ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมินและ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ จึง ชอบ ด้วยข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมาย แล้ว ไม่มี เหตุ ที่ โจทก์ จะ ขอให้ ศาล เพิกถอนการ ประเมิน และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์แต่อย่างใด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีภาษีอากร วินิจฉัย ว่า “ประมวลรัษฎากร มาตรา 18ทวิ วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ใน กรณี จำเป็น เพื่อ รักษา ประโยชน์ ใน การจัดเก็บ ภาษีอากร เจ้าพนักงาน ประเมิน มีอำนาจ ที่ จะ ประเมิน เรียกเก็บ ภาษี จาก ผู้ต้องเสียภาษี ก่อน ถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ ได้ เมื่อ ได้ประเมิน แล้ว ให้ แจ้ง จำนวน ภาษี ที่ ต้อง เสีย ไป ยัง ผู้ต้องเสียภาษี และ ให้ผู้ต้องเสียภาษี ชำระ ภาษี ภายใน เจ็ด วัน นับแต่ วัน ได้รับ แจ้ง การ ประเมินใน กรณี นี้ จะ อุทธรณ์ การ ประเมิน ก็ ได้ ” การ ประเมิน ตาม บทบัญญัติของ มาตรา 18 ทวิ วรรคแรก ดังกล่าว จะ ต้อง เป็น การ ประเมิน ก่อนถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ ซึ่ง ประมวลรัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรกบัญญัติ ว่า “การ ยื่น รายการ ให้ ยื่น ภายใน เวลา ที่ กำหนด ไว้ ใน หมวด ว่าด้วยภาษีอากร ต่าง ๆ และ ตาม แบบแสดงรายการ ที่ อธิบดี กำหนด “สำหรับ ภาษีการค้า ประมวลรัษฎากร บท มาตรา ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ นั้น คือ มาตรา 84วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ให้ ผู้ประกอบการค้า ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า ตามแบบ ที่ อธิบดี กำหนด เป็น รายเดือน ภาษี ไม่ว่า จะ มี รายรับ ใน เดือน ภาษีหรือไม่ ก็ ตาม ” ซึ่ง มาตรา 85 ทวิ บัญญัติ ว่า “เว้นแต่ อธิบดี จะ กำหนดเวลา เป็น อย่างอื่น แบบแสดงรายการ การค้า ที่ ต้อง ยื่น ตาม มาตรา 84สำหรับ เดือน ภาษี ใด ให้ ยื่น ภายใน วันที่ 15 ของ เดือน ถัด ไป ” และมาตรา 86 บัญญัติ ว่า “ให้ ผู้ มี หน้าที่ ยื่น แบบแสดงรายการ ตาม ส่วน5 ชำระ ภาษี ภายใน กำหนด เวลา ตาม มาตรา 85 ทวิ พร้อม กับ การ ยื่น แบบแสดง รายการ นั้น “ยิ่ง ไป กว่า นั้น กำหนด เวลา ยื่น แบบแสดงรายการ ต่าง ๆดังกล่าว ยัง สามารถ ขยาย หรือ เลื่อน กำหนด เวลา ออก ไป อีก ถ้า เป็น กรณีที่ อธิบดี หรือ รัฐมนตรี เห็น เป็น การ สมควร ตาม ความจำเป็น แก่ กรณี ตามมาตรา 3 อัฏฐ จาก บทบัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าว แสดง ว่า กำหนด เวลายื่น รายการ นั้น กฎหมาย ได้ กำหนด ไว้ แน่นอน ทั้งนี้ ไม่ว่า ผู้ประกอบการค้า จะ มี รายรับ ที่ จะ ต้อง เสีย ภาษีการค้า หรือไม่ ก็ ตาม ก็ จะ ต้องยื่น แบบแสดงรายการ ทุกเดือน ภาษี ภายใน วันที่ 15 ของ เดือน ถัด จากเดือน ภาษี และ ต้อง ยื่น ตาม แบบ ที่ กำหนด หาก มี รายรับ ที่ จะ ต้อง เสีย ภาษีการค้า ก็ ให้ ยื่น ชำระหนี้ พร้อม กับ ยื่น รายการ ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าวเช่นกัน กำหนด เวลา ยื่น รายการ นั้น อาจ เปลี่ยนแปลง ได้ เฉพาะ เมื่ออธิบดี ของ จำเลย หรือ รัฐมนตรี เห็นสมควร ให้ ขยาย หรือ เลื่อน กำหนดเวลา นั้น ออก ไป ตาม มาตรา 3 อัฏฐ แต่ ข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏ ว่าใน ปี 2527 ถึง 2529 ได้ มี ประกาศ ให้ ขยาย หรือ เลื่อน กำหนด เวลาออก ไป กำหนด เวลา ยื่น แบบแสดงรายการ การค้า ใน เดือน ใด ของ ปี2527 และ 2528 ดังกล่าว จึง ถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ ภายใน วันที่15 ของ เดือน ถัด ไป ไม่ว่า จะ มี รายรับ เกิดขึ้น หรือไม่ ก็ ตาม กำหนด เวลายื่น รายการ การค้า สำหรับ เดือน ภาษี ใน ปี 2527 ถึง 2529 นั้นจึง ถึง กำหนด แล้ว ก่อน การ ประเมิน กำหนด เวลา ยื่น รายการ หา ได้ ขยาย มาจน ถึง ปี 2531 ไม่ และ ตาม มาตรา 18 ทวิ วรรคแรก ให้ อำนาจ เจ้าพนักงานประเมิน ประเมิน ภาษี ก่อน ถึง กำหนด เวลา ยื่น รายการ ทั้ง มาตรา 18 ทวิวรรคสอง ยัง บัญญัติ ให้ ภาษี ที่ ประเมิน เรียกเก็บ ดังกล่าว ให้ ถือ เป็นเครดิต ของ ผู้ต้องเสียภาษี ใน การ คำนวณ ภาษี อีก ด้วย ซึ่ง บ่งชี้ ว่าเป็น การ ประเมิน เรียกเก็บ ภาษี ตั้งแต่ ยัง ไม่ถึง กำหนด ยื่น รายการ นั่นเองเมื่อ ปรากฏว่า เจ้าพนักงาน ประเมิน ของ จำเลย ประเมิน ภาษีการค้า ดอกเบี้ยค้าง รับ ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 27 กรกฎาคม 2531 โดย ประเมิน เป็น ภาษีการค้า สำหรับ เดือน ภาษี ใน ปี 2527 ถึง 2529 จึง เป็น การ ประเมิน ภายหลังจาก พ้น กำหนด เวลา ยื่น รายการ การค้า สำหรับ เดือน ภาษี ใน ปี 2527 ถึง 2529ไป แล้ว ซึ่ง เป็น การ ประเมิน ย้อนหลัง มิใช่ ประเมิน ล่วงหน้า ก่อน ถึง กำหนดเวลา ยื่น รายการ จึง เป็น การ ประเมิน ที่ ขัด ต่อมา ตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้งอุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงานนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง

Share