คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทำสัญญาเช่าฉางกับจำเลยเพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือกของโจทก์และมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกไว้มิให้สูญหายหากสูญหายจำเลยจะรับผิดชอบชดใช้ราคาข้าวเปลือกให้มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยเมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยต้องใช้ราคาแทนการฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์กรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมหนี้เงินนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระได้ตามมาตรา224วรรคแรกไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166เดิมแต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2522 โจทก์ ได้ ทำสัญญาเช่า ฉางจาก จำเลย เพื่อ ใช้ เป็น สถานที่ เก็บรักษา ข้าวเปลือกมี กำหนด 12 เดือน นับ ตั้งแต่ วันที่ 24 ธันวาคม 2522 ถึง วันที่23 ธันวาคม 2523 อัตรา ค่าเช่า เกวียน ละ 110 บาท ต่อ ปี แบ่ง ชำระ เป็น2 งวด เท่า ๆ กัน งวด แรก ชำระ ภายใน 60 วัน นับแต่ วัน ทำ สัญญางวด ที่ สอง ชำระ ภายใน 60 วัน นับแต่ วันสิ้นสุด สัญญา โดย จำเลย รับรองว่า จะ เก็บรักษา ข้าวเปลือก ไว้ มิให้ เสียหาย หาก เกิด ความเสียหาย ขึ้นจำเลย จะ เป็น ผู้รับผิดชอบ และ ยินยอม ชดใช้ ราคา ข้าวเปลือก ที่ เสียหายไม่ว่า ด้วย เหตุใด ยกเว้น ข้าวเปลือก ยุบ ตัว ตาม สภาพ ไม่เกิน2 เปอร์เซ็นต์ หรือ เกิดจาก เหตุสุดวิสัย เมื่อ ระหว่าง วันที่ 24ธันวาคม 2522 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2523 โจทก์ ได้ ส่งมอบ ข้าวเปลือกให้ แก่ จำเลย เป็น ผู้ เก็บรักษา ไว้ ใน ฉางของ จำเลย เป็น ข้าวเปลือก เจ้าชนิด 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 839,497 กิโลกรัม และข้าวเปลือก เจ้า ชนิด 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 2,959,802 กิโลกรัมต่อมา โจทก์ สั่ง ให้ จำเลย ส่งมอบ ข้าวเปลือก จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ บริษัท ไทยเจริญปราจีน จำกัด จำเลย ส่งมอบ ข้าวเปลือก ให้ แก่ บริษัท ไทยเจริญปราจีน จำกัด คือ ข้าวเปลือก เจ้า ชนิด 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 736,449.42 กิโลกรัม และ ข้าวเปลือก เจ้าชนิด 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 2,701,982.50 กิโลกรัม เมื่อ หักน้ำหนัก ข้าว ยุบ ตัว 2 เปอร์เซ็นต์ แล้ว ข้าวเปลือก เจ้า ชนิด 10 ถึง15 เปอร์เซ็นต์ ขาด จำนวน ไป 86,257.64 กิโลกรัม ราคา กิโลกรัม ละ3 บาท รวมเป็น เงิน 258,772.92 บาท และ ข้าวเปลือก เจ้า ชนิด 20 ถึง25 เปอร์เซ็นต์ ขาด จำนวน ไป 198,616.60 กิโลกรัม ราคา กิโลกรัม ละ2.90 บาท เป็น เงิน 575,988.14 บาท รวมเป็น ค่า ข้าวเปลือก ทั้งสิ้น834,761.06 บาท เมื่อ หัก ค่าเช่า ฉางและ ค่า กรรมกร ขน ข้าวเปลือกที่ โจทก์ เป็น หนี้ จำเลย จำนวน 404,190.97 บาท แล้ว จำเลย ยัง คง เป็นหนี้ ค่า ข้าวเปลือก ที่ สูญหาย ไป เป็น เงิน 430,570.09 บาท ขอให้ บังคับจำเลย ชำระ ราคา ข้าวเปลือก ที่ สูญหาย พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2523 ถึง วันฟ้องเป็น เงิน ทั้งสิ้น 743,146.51 บาท และ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ของ ต้นเงิน 430,570.09 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้รับ ฝาก ข้าวเปลือก ของ โจทก์ ไว้ ใน ฉางของ จำเลย ตาม สัญญาเช่า ฉางเอกชน ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ จริง แต่ จำเลย ไม่ต้องรับผิด ใน การ ที่ ข้าวเปลือก ขาด น้ำหนัก เพราะ ข้าวเปลือก ของ โจทก์ ที่ฝาก ไว้ ใน ฉางไม่ได้ มี การ เคลื่อนย้าย ไป ที่อื่น จึง ไม่มี ข้าว ขาด จำนวนการ ที่ ข้าว ขาด น้ำหนัก เป็น เพราะ พนักงาน ของ โจทก์ ไป รับ ซื้อ ข้าวคุณภาพ เลว ความชื้น สูง เมื่อ เอา ข้าวเปลือก มา ฝาก จำเลย เพียง 6 เดือนข้าวเปลือก ก็ เสื่อมคุณภาพ เป็น ข้าว ฟัน หนู สี เหลือง จำเลย ไม่สามารถทำให้ ข้าวเปลือก ที่ เสื่อมสภาพ แล้ว กลับคืน ดี เหมือนเดิม ได้ จึง เป็นเหตุสุดวิสัย จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ตาม สัญญาเช่า ฉางเอกชน ท้ายฟ้อง ข้อ 4จำเลย รับ ฝาก ข้าวเปลือก ไว้ จาก โจทก์ คือ ชนิด 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์จำนวน 751,479 กิโลกรัม และ ชนิด 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน2,757,125 กิโลกรัม เมื่อ โจทก์ สั่ง ให้ จำเลย ส่งมอบ ข้าวเปลือก ทั้งหมดให้ แก่ บริษัท ไทยเจริญปราจีน จำกัด ปรากฏว่า ข้าวเปลือก ชนิด 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ขาด น้ำหนัก เพราะ ข้าวเปลือก ยุบ ตัว เพียง 15,029กิโลกรัม และ ข้าวเปลือก ชนิด 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ขาด น้ำหนัก55,142.50 กิโลกรัม ตาม เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 3 ถึง 4 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เพราะ โจทก์ มิได้ เรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทน ภายใน 6 เดือนนับ ตั้งแต่ วันที่ 19 กันยายน 2523 อันเป็น วันสิ้นสุด สัญญา และฟ้องโจทก์ ใน เรื่อง ดอกเบี้ย ขาดอายุความ เพราะ โจทก์ มิได้ เรียกร้องภายใน กำหนด 5 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 430,570.09 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 กันยายน2523 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้องต้อง ไม่เกิน 312,576.42 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความเพราะ เป็น การ ฟ้อง เรียก ให้ ชดใช้ ราคา ต้อง ฟ้อง ภายใน 6 เดือน แต่ โจทก์ฟ้อง เกินกว่า 6 เดือน นั้น เห็นว่า ตาม สัญญาเช่า ฉางเอกชน เอกสาร หมายจ. 2 นอกจาก โจทก์ ทำ สัญญาเช่า ฉางกับ จำเลย เพื่อ ใช้ เป็น สถานที่ เก็บข้าวเปลือก ของ โจทก์ แล้ว ยัง มี ข้อ สัญญา ว่า จำเลย จะ เก็บรักษาข้าวเปลือก ไว้ มิให้ สูญหาย หาก ข้าวเปลือก สูญหาย จำเลย จะ ต้อง รับผิดชอบชดใช้ ราคา ข้าวเปลือก ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง ลักษณะ เป็น สัญญา ฝากทรัพย์รวม อยู่ ใน ตัว ด้วย ฉะนั้น จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับ ฝากทรัพย์ ซึ่ง จะ ต้อง คืนทรัพย์ ที่ รับ ฝาก ไว้ แก่ โจทก์ เมื่อ ทรัพย์ ที่ รับ ฝาก สูญหาย ไป จำเลยจึง ต้อง ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ รับ ฝาก ไว้ แทน ตัว ทรัพย์ การ ฟ้อง เรียก ให้ ใช้ราคา ทรัพย์ ใน กรณี นี้ ไม่ใช่ เรียก ค่าสินไหมทดแทน เกี่ยว แก่ การ ฝากทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติอายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 164 เดิม จำเลย ส่งมอบ ข้าวเปลือก ให้ แก่บริษัท ไทยเจริญปราจีน จำกัด ตาม คำสั่ง โจทก์ วันที่ 19 กันยายน 2523 ซึ่ง เป็น วันที่ รู้ ว่า จำนวน ข้าวเปลือก ที่ เก็บรักษา ไว้ ใน ฉางหาย ไป ถึง วันฟ้อง คือ วันที่ 24 พฤษภาคม 2533 ยัง ไม่ครบ สิบ ปีฟ้องโจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ก็ ฟังไม่ขึ้นที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ เรียก ดอกเบี้ย จาก จำเลย เกินกว่า 5 ปี ไม่ได้เพราะ เป็น ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง นั้น เห็นว่า เมื่อ จำเลย จะ ต้อง รับผิดชดใช้ ราคา ข้าวเปลือก ที่ สูญหาย ให้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน หนี้ เงิน นี้โจทก์ มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ได้ ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ระหว่างเวลา ที่ จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก ดอกเบี้ย ดังกล่าว ไม่ใช่ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม แต่ เป็น ดอกเบี้ย ที่กำหนด แทน ค่าเสียหาย และ ไม่มี กฎหมาย บัญญัติ อายุความ ไว้ โดยเฉพาะจึง มี อายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ก็ ฟังไม่ขึ้น ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ชอบแล้วฎีกา ทุก ข้อ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share