คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยลงจากรถจักรยานยนต์ของพวกจำเลยซึ่งจอดที่ถนนห่างผู้เสียหายประมาณ15เมตรและไปชิงเอาทรัพย์ของผู้เสียหายได้แล้วก็กลับมานั่งซ้อนท้ายรถที่จอดอยู่หลบหนีไปถือว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อพาทรัพย์นั้นไปและหลบหนีเพื่อให้พ้นการจับกุมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา340ตรี

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 339,340 ตรี และ ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ 2,250 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 339 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 340 ตรี จำคุก 15 ปี ให้ จำเลยคืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ 2,250 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง ลงโทษ จำคุก 10 ปี นอกจากที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นฟังได้ ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่เกิดเหตุ ตาม ฟ้อง มี คนร้าย สอง คนร่วมกัน ชิงทรัพย์ สร้อยคอ ทองคำ หนัก 2 สลึง ราคา 2,250 บาทและ กุญแจ รถจักรยานยนต์ ของ ผู้เสียหาย ไป คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลยร่วม กับพวก ชิงทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย ไป หรือไม่ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ร่วม กับพวก ชิงทรัพย์ของ ผู้เสียหาย พยาน ฐาน ที่อยู่ ของ จำเลย ไม่มี น้ำหนัก พอ ที่ จะ หักล้างพยานหลักฐาน ของ โจทก์ ได้ จำเลย จึง มี ความผิด ฐาน ชิงทรัพย์ ของ ผู้เสียหายที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย กับพวก ได้ ร่วมกัน ใช้ รถจักรยานยนต์ เป็นยานพาหนะ ใน การกระทำ ความผิด นั้น เห็นว่า จำเลย กับพวก จอดรถ จักรยานยนต์ที่ ถนน ห่าง ผู้เสียหาย ประมาณ 15 เมตร แล้ว จำเลย ลง จาก รถ ไป ยังผู้เสียหาย เมื่อ ชิง เอา ทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย ได้ แล้ว ก็ กลับมา นั่งซ้อน ท้ายรถ ที่ จอด อยู่ หลบหนี ไป เช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลย ได้ ร่วมกันกระทำ ความผิด ฐาน ชิงทรัพย์ โดย ใช้ รถจักรยานยนต์ เป็น ยานพาหนะ เพื่อพา ทรัพย์ นั้น ไป และ หลบหนี เพื่อ ให้ พ้น การ จับกุม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ตรี ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้องด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ส่วน ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share