แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยได้กระทำการยุยงทหารให้ก่อการกำเริบ และละเลยไม่ให้กระทำการตามหน้าที่เป็นการกระทำให้เสื่อมวินัยทหารอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำรัฐประหารและจำเลยอยู่ในจำพวกรัฐประหารด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยอยู่ในข่ายพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหารพ.ศ.2490
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยสมคบกันยุยงผู้ซึ่งรับราชการฝ่ายทหารให้กำเริบและละเลยไม่ให้กระทำการตามหน้าที่ และสมคบกันกระทำให้สิบโทอุดมเสื่อมเสียอิสรภาพ กับจำเลยที่ 1 มีอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษ จำเลยให้การว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อคณะรัฐประหาร และเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นการชอบด้วยพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหารพ.ศ. 2490 ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 พิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 1 ปีตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 103 และจำคุกคนละ 3 เดือน ตามมาตรา 268 ตอน 3ปรับจำเลยที่ 1 อีก 50 บาท ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน 2490 มาตรา 7, 72 ศาลทหารบกกลางพิพากษากลับ ให้ยกฟ้องปล่อยจำเลยทั้ง 2 ไป
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า จำเลยได้กระทำไปเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำรัฐประหารและจำเลยอยู่ในจำพวกรัฐประหาร จริงอยู่การกระทำของจำเลยในคดีนี้เป็นการทนงองอาจไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการให้เสื่อมวินัยทหารอย่างที่ศาลมณฑลทหารบกที่ 4 วินิจฉัยมา แต่เมื่อได้มีพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ไม่ประสงค์เอาโทษแก่บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใด ๆ เนื่องในการกระทำรัฐประหาร