แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อวางโทษประหารชีวิตกระทงหนึ่งในคดีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันแล้วย่อมวางโทษปรับในความผิดกระทงอื่นอีกได้แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา212ประกอบมาตรา225
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289,371, 83, 32, 33, 91 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และ สิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 7,8 ทวิ , 72, 72 ทวิ ริบของกลาง ทั้งหมด
ระหว่าง พิจารณา นาง นุดี สุนทรนันท ผู้เสียหาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ให้ ประหารชีวิต จำเลย ให้การรับสารภาพ ชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์ แก่ การ พิจารณา นับ เป็นเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สามตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบ มาตรา 52 คง จำคุกตลอด ชีวิต ริบของกลาง ข้อหา อื่น ให้ยก
โจทก์ โจทก์ร่วม และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบ ด้วย มาตรา 83, 371 เป็น ความผิด หลายกรรมต่างกัน เรียง กระทง ลงโทษ จำเลย ทุกกรรม เป็น กระทง ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ฆ่า ผู้อื่น โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อนให้ ประหารชีวิต ไม่ ลดโทษ ให้ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ฐาน พา อาวุธ ไป ใน เมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะโดย ไม่มี เหตุอันสมควร ปรับ 100 บาท แต่เมื่อ ลงโทษ ประหารชีวิตจำเลย แล้ว ก็ ไม่อาจ ลงโทษ ปรับ อีก ได้ คง ให้ ประหารชีวิต จำเลย สถาน เดียวนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ว่า เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2534 เวลา 14นาฬิกา เศษ ได้ มี คนร้าย ใช้ อาวุธปืน ขนาด .32 ยิง คุณหญิง ขจี กันตะบุตร ถึงแก่ความตาย ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่า จำเลย ได้ กระทำ ผิด ฐาน ฆ่า ผู้อื่น และ พา อาวุธปืน หรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าจำเลย พา อาวุธปืน ติดตัว ไป ใน ทางสาธารณะ และ ใช้ อาวุธปืน ที่ ติดตัวมา ยิง ฆ่า ผู้ตาย โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่ ลดโทษ ให้ แก่ จำเลย โดยวินิจฉัย ว่า คำรับสารภาพ ของ จำเลย ไม่เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา นั้นเห็นว่า เมื่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ จับกุม จำเลย ได้ เมื่อ วันที่ 12มิถุนายน 2534 แล้ว จำเลย ได้ พา เจ้าพนักงาน ตำรวจ ไป ตรวจค้น ห้องพักพบ หมวก แก๊ปที่ จำเลย สวม ใน วันเกิดเหตุ เป็น ของกลาง เป็นเหตุ ให้นาย ทรงพล จำ หน้า จำเลย และ จำ หมวก แก๊ปของกลาง ที่ สวม ใน วัน กระทำผิด ได้ แม้ จำเลย จะ รับสารภาพ หลังจาก นาย ทรงพล ชี้ ตัว แล้ว แต่ ก็ รับสารภาพ ก่อน ที่นาย บุญเรืองและนายบำรุง จะ ดู ตัว คำรับสารภาพ ของ จำเลย จึง เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ สมควร ลดโทษ ให้ แก่ จำเลย
อนึ่ง ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า ความผิด ฐาน พา อาวุธ ไป ใน เมืองหมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะ โดย ไม่มี เหตุอันสมควร ปรับ 100 บาทแต่เมื่อ ลงโทษ ประหารชีวิต จำเลย แล้ว ก็ ไม่อาจ ลงโทษ อีก ได้ นั้นเห็นว่า คดีอาญา ที่ จำเลย กระทำ ความผิด หลายกรรม ต่างกัน เมื่อ วางโทษประหารชีวิต กระทง หนึ่ง แล้ว ย่อม วางโทษ ปรับ ใน ความผิด กระทง อื่น อีก ได้แต่เมื่อ โจทก์ มิได้ ฎีกา ศาลฎีกา ก็ ไม่อาจ ลงโทษ ปรับ จำเลย ใน กระทง นี้ ได้เพราะ จะ เป็น การ พิพากษา เพิ่มเติม โทษ จำเลย ซึ่ง ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)ให้ ลดโทษ แก่ จำเลย หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ประกอบ มาตรา 52(1) คง จำคุก จำเลย ตลอด ชีวิต นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์