แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหมายถึงนายอำเภอการมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้ บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ประกอบมาตรา850แล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น บุตร โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ นาย โพธิ์ และ นาง เป๋ ส่วน จำเลย เป็น บุตร ของ นาง เจียน ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาย โพธิ์และนางปาน ขณะที่ นาย โพธิ์และนางเป๋ อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กัน นาย โพธิ์ มี กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ร่วม กับ นาย ยิก คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1416 ที่ดิน ดังกล่าว จึง เป็น สินสมรส ระหว่างนาย โพธิ์และนางเป๋ ต่อมา นาย โพธิ์ ถึงแก่ความตาย ส่วน ที่ แยก สินสมรส ออก ไป แล้ว ตกเป็น มรดก ของ นาง เป๋ นายถั่ว โจทก์ และ จำเลย ขณะที่ นาง เป๋ นายถั่ว ยัง มี ชีวิต อยู่ จำเลย ได้ พา นาง เป๋ นายถั่ว และ โจทก์ ไป แสดง เจตนา ที่ จะ ไม่รับ มรดก ใน ส่วน ของ นาย โพธิ์ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน แต่ ไม่ได้ ทำ ต่อ เจ้าพนักงาน ตาม ที่ กฎหมาย กำหนด ไว้จึง ไม่ ถือว่า เป็น การ สละ มรดก โจทก์ มีสิทธิ ที่ จะ ได้รับ มรดก ที่ดินบางส่วน ขอให้ บังคับ จำเลย จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่1416 ส่วน ที่ เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย โพธิ์ ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า นาย โพธิ์ ร่วม กับ นาย ยิก ซื้อ ที่พิพาท มา ตั้งแต่ นาย โพธิ์ อยู่กิน เป็น สามี ภรรยา กับ นาง ปาน ซึ่ง เป็น ยาย ของ จำเลย จึง เป็น สินสมรส ระหว่าง นาย โพธิ์และนางปาน เมื่อ นาง ปาน ถึงแก่ความตาย ที่ดิน ส่วน ของ นาง ปาน กึ่งหนึ่ง จึง ตกเป็น มรดก ของ จำเลย ด้วย โจทก์ กับ นาง เป๋และนายถั่ว เคย โต้เถียง กับ จำเลย เกี่ยวกับ ส่วนแบ่ง มรดก ใน ที่พิพาท แล้ว ได้ ตกลง ประนีประนอม ยอมความ กันโดย จำเลย ชำระ เงิน ตอบแทน แก่ โจทก์ นาง เป๋และนายถั่ว เมื่อ จำเลย ไป ขอรับ มรดก ที่ดิน ส่วน ของ นาย โพธิ์ ทั้งหมด โจทก์ กับ นาง เป๋ และ นาย ถั่ว จึง ได้ ไป แสดง เจตนา ด้วย ความสมัครใจ ทำ เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ยอม ให้ ที่พิพาท ทั้งหมด ตกเป็น มรดก แก่ จำเลยเป็น การแสดง เจตนา สละ มรดก อย่าง ชัดแจ้ง และ บันทึก ดังกล่าว ยัง เป็นสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ยอม ให้ จำเลย รับโอน มรดก ใน ที่พิพาท ไป ทั้งหมดโดยชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ มาตรา 1750ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612บัญญัติ ว่า การ สละ มรดก นั้น ต้อง แสดง เจตนา ชัดแจ้ง เป็น หนังสือ มอบ ไว้แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือ ทำ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังนั้นการ สละ มรดก จึง กระทำ ได้ โดย ทำ เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่อย่างหนึ่ง กล่าว คือ ทำ เป็น หนังสือ มอบ ไว้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตามกฎกระทรวง มหาดไทย พ.ศ. 2481 และ พนักงาน เจ้าหน้าที่ คือ นายอำเภอตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบ บริหาร ราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2495 ดังนั้นการ มอบ เอกสาร ซึ่ง จำเลย ยื่น เรื่องราว ขอรับ มรดก ที่พิพาท ใน ส่วน ของนาย โพธิ์ โดย โจทก์ นาง เป๋และนายถั่ว ไป แสดง เจตนา สละ มรดก ส่วน ของ นาย โพธิ์ ให้ แก่ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จึง มิใช่ การ ทำ หนังสือ สละ มรดก ที่ มอบ ให้ แก่ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1612 ส่วน อีก กรณี หนึ่ง นั้น โดย ทำ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความโดย ต้อง มี ลักษณะ เป็น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 850 ตาม เอกสาร การ สละ มรดก มี ข้อความ ว่าโจทก์ กับ ทายาท ที่ ระบุ ชื่อ ใน ช่อง ผู้ ไม่รับ มรดก ไม่ประสงค์ จะ รับมรดกที่ดิน แปลง ดังกล่าว โดย ให้ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน มรดก แก่ผู้ขอ ได้ โดย รับรอง ว่า จะ ไม่ ใช้ สิทธิเรียกร้อง เกี่ยวกับ มรดก ที่ดินแปลง ดังกล่าว และ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ไม่ต้อง ส่ง ประกาศ รับมรดก ที่ดินราย นี้ ให้ แก่ ผู้ซึ่ง สละ มรดก อีก และ ได้ เซ็น ชื่อ หรือ พิมพ์ ลาย นิ้วมือไว้ เป็น สำคัญ ต่อ พยาน 2 คน มี ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ โจทก์ กับ ทายาทที่ ระบุ ชื่อ ข้างต้น ใน ช่อง ผู้ ไม่รับ มรดก มี พยาน ลงชื่อ 2 คน และ มีจำเลย ลงชื่อ ใน ช่อง ผู้ขอรับมรดก เห็นว่า ข้อความ ใน เอกสาร ดังกล่าวเป็น การ ประนีประนอม ยอมความ ใน การ สละ มรดก ถูกต้อง ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1612 ประกอบ มาตรา 850 แล้ว เพราะ โจทก์ผู้รับผิด ใน ฐานะ ผู้ สละ มรดก และ จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับมรดก ได้ ลงชื่อ ไว้ แล้ว
พิพากษายืน