คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่โจทก์ทำประตูเหล็กปิดกั้นถนนพิพาทไม่ยอมให้จำเลยเข้าออกเว้นแต่จะยอมเสียค่าตอบแทนแก่โจทก์ย่อมทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิดังนั้นที่จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นขอให้เปิดถนนพิพาทและในระหว่างพิจารณาได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้ต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องแต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฎว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าการมีคำสั่งเช่นนั้นมีเหตุผลอันสมควรโดยความผิดหรือเลินเล่อของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263(1)การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าถนนพิพาทเป็นของโจทก์และมิได้ตกอยู่ในภารจำยอมดังที่โจทก์อ้างก็ไม่อาจทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นไม่วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงชอบแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ซึ่ง เป็นถนน พิพาท ตั้ง อยู่ แขวง ยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ถนน พิพาท เชื่อม ติดต่อ กับ ถนน เจริญกรุง เป็น ถนน ส่วนบุคคล ต่อมา บริษัท บางรักคอนโดมิเนียม จำกัด ได้ ซ่อมแซม ส่วน ที่ ชำรุด เสียหาย และ ใช้ งาน ได้ ตั้งแต่ ปี 2527 ถนน พิพาท มีไว้ สำหรับ ใช้ เดิน ใช้รถจักรยานยนต์ และ รถจักรยาน สำหรับ คน ใน หมู่บ้าน ส่วน รถยนต์ ทุก ชนิดห้าม ใช้ เว้นแต่ รถยนต์ ที่ ได้รับ อนุญาต จาก โจทก์ ตรง บริเวณ หัว ถนนพิพาท เชื่อม กับ ถนน เจริญกรุง โจทก์ ทำ ประตู เหล็ก ใหญ่ ไว้ สำหรับ รถยนต์ เข้า ออก ประตู เหล็ก เล็ก สำหรับ คน เดิน รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ เข้า ออก ซึ่ง เปิด ไว้ ตลอด เวลา ส่วน ประตู เหล็ก ใหญ่ โจทก์ใส่ กุญแจ ปิด ไว้ โดย มี ยาม เฝ้า ถนน พิพาท บาง ช่วง และ ช่วง ที่ ติดต่อกับ ที่ว่าง เนื้อที่ ประมาณ 100 ตารางเมตร โจทก์ ใช้ จอดรถยนต์ ได้หลาย สิบ คัน และ โจทก์ ใช้ ถนน พิพาท สำหรับ รถยนต์ ของ โจทก์ เหตุ ที่ ห้ามรถยนต์ อื่น เพื่อ รักษา ถนน มิให้ เสียหาย โจทก์ คิด ค่า จอดรถยนต์ ในถนน พิพาท ชั่วโมง ละ 10 บาท หรือ วัน ละ 50 บาท โจทก์ มี รายได้ จาก การให้ จอดรถ ชั่วคราว และ จอดรถ ประจำปี ละ 323,000 บาท ตั้งแต่ ปี 2527เป็นต้น มา จำเลย ทั้ง สิบ สาม เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่20556, 20557, 20580, 20517, 20541, 20519, 20537, 20522,20523, 20514, 20536, 20576, 20577 และ 20579 แขวง ยานนาวา เขต ยานนาวา กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ตึกแถว ซึ่ง ใช้ รถยนต์ ใน ถนน พิพาท โจทก์ คิด ค่า จอดรถยนต์ จาก จำเลย ทั้ง สิบ สามใน อัตรา คัน ละ 5,000 บาท ต่อ ปี แต่ จำเลย ทั้ง สิบ สาม ไม่ยอม จ่ายโจทก์ จึง ห้าม จำเลย ทั้ง สิบ สาม ใช้ รถยนต์ ใน ถนน พิพาท ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2527 หาก จำเลย ทั้ง สิบ สาม จ่าย ค่า จอดรถยนต์ โจทก์ จะ มีรายได้ เป็น เงิน 65,000 บาท ต่อ ปี จำเลย ทั้ง สิบ สาม ได้ ร่วมกัน ฟ้องโจทก์ ต่อ ศาลชั้นต้น ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 9951/2528 เรื่อง ภารจำยอมและ ทาง จำเป็น ระหว่าง ดำเนินคดี ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ โจทก์ เปิดถนน พิพาท ให้ เป็น ถนน สาธารณะ เมื่อ วันที่ 16 กรกฎาคม 2533 การ ที่โจทก์ ต้อง เปิด ถนน พิพาท เป็น ถนน สาธารณะ ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ที่ จะ ได้รับ จาก จำเลย ทั้ง สิบ สาม และ บุคคลอื่น ที่ นำ รถยนต์ เข้า จอด ในถนน พิพาท คดี ดังกล่าว ใน ที่สุด ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา ได้ พิพากษายกฟ้อง การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สิบ สาม ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์โจทก์ ขาด ประโยชน์ ที่ จะ ได้รับ จาก บุคคล ที่ นำ รถยนต์ มา จอด ใน ถนน พิพาทซึ่ง จำเลย ทั้ง สิบ สาม ได้ คาด เห็น หรือ ควร ได้ คาด เห็น คิด เป็น เงินค่า จอดรถยนต์ ที่ โจทก์ ควร จะ ได้รับ จาก จำเลย ทั้ง สิบ สาม และ บุคคลอื่นที่ อ้างว่า เข้า ไป ทำ ธุรกิจ กับ จำเลย ทั้ง สิบ สาม เป็น เงิน ปี ละ 65,000 บาทเป็น เวลา 6 ปี เป็น เงิน 390,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ ที่ โจทก์ ไม่สามารถ เรียกเก็บเงิน จาก บุคคลอื่น ที่ ใช้ ถนน พิพาท ปี ละ 323,000 บาทนับแต่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2527 ถึง วันฟ้อง รวม 6 ปี เป็น เงิน1,938,000 บาท รวมเป็น ค่าเสียหาย ทั้งสิ้น 2,328,000 บาท ขอให้บังคับ จำเลย ทั้ง สิบ สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 11 และ ที่ 13 ให้การ ว่า โจทก์ เคย เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 3400 แขวง ยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร แต่ โจทก์ จัดสรร ที่ดิน ดังกล่าว โดย แบ่งแยก เป็นแปลง ย่อย หลาย สิบ แปลง ติดต่อ กัน จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 11 และ ที่ 13ต่าง ซื้อ ที่ดิน จาก โจทก์ ถนน พิพาท เป็น ถนน อัน เนื่องมาจาก การ จัดสรรที่ดิน ของ โจทก์ จึง เป็น ถนน ตาม ความหมาย ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286เป็น สาธารณูปโภค ที่ โจทก์ ได้ จัด ให้ มี ขึ้น และ ได้ ให้ ผู้ซื้อ ที่ดิน และอาคาร ตึกแถว ของ โจทก์ มีสิทธิ ใช้สอย โดย ตกลง ว่า จะ ไม่ เรียกค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 11 และ ที่ 13 จึง มีสิทธิใช้ ถนน พิพาท ได้ โดย ไม่ต้อง เสีย ค่าตอบแทน โจทก์ ไม่มี สิทธิ กีดขวางถนน พิพาท การ ฟ้องโจทก์ เป็น คดี หมายเลขแดง ที่ 9951/2528 เป็น การ ใช้โดยสุจริต และ ชอบ ด้วย กฎหมาย เพราะ โจทก์ ได้ ทำ ประตู เหล็ก ปิด กั้นถนน พิพาท ทำให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 11 และ ที่ 13 เดือดร้อนไม่สามารถ ใช้ ถนน พิพาท ได้ ทั้ง โจทก์ ไม่เคย เก็บ ค่า จอดรถ ใน ถนน พิพาทค่าเสียหาย อื่น ๆ เป็น ค่าเสียหาย ที่ ไกล เกิน เหตุ หาก โจทก์ จะ เสียหายก็ ไม่เกิน 5,000 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 12 ให้การ ว่า การ ขอให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เปิดถนน พิพาท เป็น การ ใช้ สิทธิ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียกค่าขาดประโยชน์ ที่ จะ ได้รับ จาก บุคคลภายนอก ที่ ไป จอดรถ เพราะศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ โจทก์ เปิด ถนน พิพาท ให้ แก่ ฝ่าย จำเลย เท่านั้นไม่รวม ถึง บุคคลภายนอก ด้วย เป็น ความ เข้าใจผิด ของ โจทก์ เอง หลังจากศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ โจทก์ เปิด ถนน พิพาท จำเลย ที่ 12 ไม่ได้ นำรถยนต์ เข้า ออก ใน ถนน พิพาท โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าสินไหมทดแทนจาก จำเลย ที่ 12 ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ มี ว่าโจทก์ ได้ ตกลง ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 ใช้ รถยนต์ใน ถนน พิพาท ได้ ตลอด ไป โดย ไม่ต้อง เสีย ค่าตอบแทน หรือไม่ ปัญหา ข้อ นี้จำเลย ดังกล่าว และ พยาน ของ จำเลย บางคน เบิกความ สอดคล้อง ต้อง กัน ว่าขณะ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 ซื้อ ที่ดิน พร้อมตึกแถว จาก โจทก์ ใน ระหว่าง ปี 2516 ถึง 2519 นั้น ถนน มี อยู่ ก่อน แล้วใน การ ซื้อ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว โจทก์ ได้ ตกลง ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และที่ 7 ถึง ที่ 13 ใช้ ถนน พิพาท เข้า ออก ได้ โดย ไม่ต้อง เสีย ค่าตอบแทนให้ แก่ โจทก์ มิฉะนั้น จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13ก็ คง ไม่ ซื้อ ที่ดิน พร้อม ตึกแถว จาก โจทก์ และ เมื่อ ได้ ซื้อ ที่ดิน พร้อมตึกแถว จาก โจทก์ แล้ว ก็ ได้ ใช้ รถยนต์ เข้า ออก ถนน พิพาท ตลอดมา โดย โจทก์มิได้ ทักท้วง จน กระทั่ง ปี 2527 โจทก์ ได้ ทำ ประตู เหล็ก ปิด กั้นถนน พิพาท ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13ใช้ รถยนต์ เข้า ออก เว้นแต่ จะ เสีย ค่าตอบแทน ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง โจทก์ก็ ยอมรับ ว่า เพิ่ง มา ขอ เก็บ ค่าตอบแทน การ ใช้ รถยนต์ เข้า ออก ถนน พิพาทจาก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 ใน ปี 2527 เห็นว่าข้อ นำสืบ ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 มีเหตุ ผลน่าเชื่อ ถือ เพราะ ตาม ปกติ วิสัย วิญญูชน ทั่วไป ผู้ซื้อ ที่ดิน พร้อมตึกแถว จาก ผู้ขาย นั้น ย่อม ต้องการ ทาง สัญจร เข้า ออก โดย สะดวก และยิ่ง มี ถนน ที่ ใช้ รถยนต์ เข้า ออก โดย สะดวก อยู่ ก่อน แล้ว เชื่อ ว่าไม่มี ผู้ซื้อ ราย ใด จะ ยอม ให้ ผู้ขาย กำหนด ให้ ผู้ซื้อ ใช้ ถนน ได้ เฉพาะเป็น ทางเดิน หรือ ใช้ รถจักรยานยนต์ ดัง ที่ โจทก์ นำสืบ พยานหลักฐานมี น้ำหนัก น้อย ข้อเท็จจริง เชื่อ ได้ว่า ขณะที่ โจทก์ ขาย ที่ดิน พร้อมตึกแถว โจทก์ ได้ ตกลง ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13ใช้ รถยนต์ ใน ถนน พิพาท ได้ ตลอด ไป โดย ไม่ต้อง เสีย ค่าตอบแทน ให้ แก่ โจทก์เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ดัง วินิจฉัย มา การ ที่ โจทก์ ทำ ประตู เหล็ก ปิด กั้นถนน พิพาท เมื่อ ปี 2527 ไม่ยอม ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7ถึง ที่ 13 เข้า ออก เว้นแต่ จะ ยอม เสีย ค่าตอบแทน แก่ โจทก์ ย่อม ทำให้จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 เชื่อ โดยสุจริต ว่า ถูกโจทก์ โต้แย้ง สิทธิ ดังนั้น ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7ถึง ที่ 13 ได้ ยื่นฟ้อง โจทก์ ต่อ ศาลชั้นต้น ใน คดี หมายเลขแดง ที่9951/2528 ขอให้ เปิด ถนน พิพาท และ ใน ระหว่าง พิจารณา ได้ ยื่น คำร้องขอ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน พิพากษา ก็ เป็น การ ใช้ สิทธิ ตาม ที่ กฎหมายบัญญัติ ไว้ แม้ ต่อมา ศาลฎีกา พิพากษายก ฟ้อง แต่ ทางนำสืบ ของ โจทก์ไม่ ปรากฎ ว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง โดย มี ความเห็น หลง ไป ว่าการ มี คำสั่งเช่นนั้น มีเหตุ ผล อัน สมควร โดย ความผิด หรือ เลินเล่อ ของ จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 263(1) การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13จึง ไม่เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าสินไหมทดแทนจาก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 และ ที่ โจทก์ ฎีกา ว่าศาลชั้นต้น มิได้ วินิจฉัย ใน ประเด็น ว่า ถนน พิพาท ตกอยู่ใน ภารจำยอมหรือไม่ เป็น การ ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ นั้น เห็นว่า คดี นี้ เป็น การ พิพาทกัน ใน เรื่อง ที่ โจทก์ ฟ้อง กล่าวหา ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7ถึง ที่ 13 มิได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 4 และ ที่ 7 ถึง ที่ 13 มิได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์จึง ไม่ต้อง ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ แม้ ข้อเท็จจริง จะ ฟังได้ว่า ถนน พิพาท เป็น ของ โจทก์ และ มิได้ ตกอยู่ใน ภารจำยอม ดัง ที่ โจทก์อ้าง ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ ทำให้ ผล ของ คำพิพากษา เปลี่ยนแปลง ไป แต่ ประการใดดังนั้น ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ วินิจฉัย ประเด็น ข้อพิพาท ดังกล่าวจึง ชอบแล้ว
พิพากษายืน

Share