แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
จำเลยมีอาวุธปืนไม่รับใบอนุญาต ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯปล้นทรัพย์และถูกจับพร้อมด้วยปืนระหว่างนั้นกฎหมายให้ไปขอรับใบอนุญาตได้ เป็นกฎหมายยกเว้นโทษจำเลยไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา3 วรรคแรก
ย่อยาว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ และลงโทษจำเลยที่ 1ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 จำคุก 6 เดือน ริบปืนและกระสุนปืนของกลาง ศาลอุทธรณ์ยกข้อหาจำเลยที่ 1 ฐานปล้น จำเลยที่ 3ฎีกาในข้อหาฐานปล้นที่ถูกลงโทษ
ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า “สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาด้วย นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 ยอมให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปขอรับอนุญาตได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงต้องถือว่าในระหว่างนั้นกฎหมายยกเว้นโทษให้แก่จำเลย แสดงว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิด และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 เป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้พระราชบัญญัตินี้มาปรับกับคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานนี้ ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้จึงไม่ถูกต้อง และในปัญหาดังกล่าวนี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นมาสู่ศาลฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง, 340 ตรี ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21พฤศจิกายน 2514 ข้อ 14, 15 จำคุก 22 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2514 ข้อ 14 จำคุก 15 ปี ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1ในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์”