คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2499

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อได้ความว่าจำเลยสมรู้ให้เจ้าพนักงานกระทำผิดตาม ม.136 แล้ว แม้จำเลยจะเป็นราษฎรก็ตามก็ย่อมมีความผิดฐานเป็นผู้สมรู้ในความผิดที่เจ้าพนักงานกระทำนั้น
ผู้สมรู้ก็เป็นกระทำผิดเมื่อความผิดนั้น ๆ ต้องตามบทมาตราใน พ.ร.บ. กักกัน ฯ ก็ลงโทษกักกันผู้สมรู้นั้นได้ พ.ร.บ. กักกันฯ มิได้ประสงค์ให้ลงโทษแต่เฉพาะตัวการไม่.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงตนต่อนางอุ้ยจิงว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานแล้วจับนางฮุ้งจิง โดยแกล้งกล่าวหาว่านางฮุ้ยจิงเล่นการพนันสลากกินรวบ แล้วควบคุมพาไปที่ต่าง ๆ ให้ปราศจากความเป็นอิสสระแก่ตน และบังคับให้นางฮุ้ยจิงหาเงินให้แก่จำเลย ๕,๐๐๐ บาท
วันเดียวกันจำเลยทั้งสองไปแสดงตนต่อนายจั้กฮวง สามีนางฮุ้ยจิงว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วจับหาว่าเล่นการพนันสลากกินรวบ พาไปที่ต่าง ๆ และบังคับให้นายจั้กฮวงหาเงินมาให้จำเลย ๒,๐๐๐ บาท นายจั้กฮวงกลัวจึงให้เงินแก่จำเลย ๑๐๐ บาท จำเลยยึดใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและบังคับให้นำเงิน ๑,๙๑๐ บาท มาให้แก่จำเลยในวันต่อมานายจั้กฮวงก็ได้นำเงินไปให้
จำเลยที่ ๑ เคยต้องโทษตาม ก.ม.อาญา ม.๒๕+ พ้นโทษไปยังไม่เกิน ๕ ปี จำเลยที่ ๒ เคยต้องโทษจำคุกหลายครั้ง พ้นโทษไปแล้วมาทำผิดคดีนี้อีกใน ๓ ปี โทษครั้งก่อนและครั้งนี้เป็นความผิดอาญาอันเป็นเหตุร้ายตาม แ.ม. ขอให้ลงโทษตาม ม.๑๒๗,๑๓๖,๒๗๐,๓๐๓,๖๓,๗๑,๗๒,๗๓ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.อาญา พ.ศ. ๒๔๘๔ ม.๓ พ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนด พ.ศ. ๒๔๘๔ ม.๓ และ พ.ร.บ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. ๒๔๗๙ ม.๘,๙ ฯลฯ
จำเลยทั้งสองปฏิเสธ แต่แถลงว่าเคยต้องโทษและพ้นโทษมาตามใบแดงแจ้งโทษท้ายฟ้องจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.๑๒๗,๑๓๖,๒๗๐,๓๐๓ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.อาญา พ.ศ. ๒๔๘๔ ม.๓ พ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าว พ.ศ. ๒๔๘๔ ม.๓ ให้รวมกระทงลงโทษตาม ม.๗๑ ให้จำคุกจำเลยที่ ๑ มีกำหนด ๓ ปี และให้เพิ่มโทษตาม ม.๓๒ แต่ลดโทษเพราะคำให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตาม ม.๕๙ ให้ ๑ ใน ๓ เป็นอันกลบลบกันไปกับโทษที่เพิ่มคงให้จำคุกจำเลยที่ ๑ มีกำหนด ๓ ปี ส่วนจำเลยที่ ๒ ให้จำคุก ๒ ปี เพิ่มโทษตาม ม.๗๓ กึ่งหนึ่ง เป็นจำคุก ๓ ปี เมื่อพ้นโทษแล้วให้ส่งตัวไปกักกัน ๓ ปี ตาม พ.ร.บ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. ๒๔๗๙ ม.๘,๙ ฯลฯ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ ๑ ผิดตาม ก.ม.อาญา ม.๑๓๖,๒๗๐ และพระราชกำหนด พ.ร.บ. ตามที่โจทก์อ้าง จำเลยที่ ๒ ผิดตาม ม.๒๗๐ และผิดตาม ม. ๑๓๖ ประกอบด้วย ม.๖๕ และพระราชกำหนด พ.ร.บ.ดังกล่าว ส่วนกำหนดโทษ การเพิ่มโทษ การกักกัน และการคืนใบสำคัญคนต่างด้วยให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ ๒ ผู้เดียวฎีกา
ศาลอาญาเห็นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม จึงสั่งไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลฎีกาเห็นว่า ฎีกาของจำเลยข้อ ๓(๑) และ (๗) จำเลยโต้เถียงเป็นปัญหาข้อ ก.ม. จึงสั่งให้รับฎีกาของจำเลยในข้อนี้
ฎีกาข้อ ๓ (๑) จำเลยที่ ๒ ค้านว่า จำเลยที่ ๒ เป็นราษฎร การกระทำของจำเลยที่ ๒ จึงไม่เป็นความผิดตาม ก.ม. อาญา ม.๑๓๖ ประกอบด้วย ม.๖๕
ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ผู้สมรู้ให้เจ้าพนักงานกระทำผิดย่อมมีความผิดฐานเป็นผู้ประสงค์ให้ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดที่เป็นตัวการ ส่วนจำเลยเป็นเพียงผู้สมรู้ จึงลงโทษกักกันแก่จำเลยไม่ได้
ศาลฎีกาเห็นว่าผู้สมรู้ก็เป็นผู้กระทำผิด เมื่อความผิดนั้น ๆ ต้องตามบทมาตราใน พ.ร.บ.กักกันฯ ก็ลงโทษกักกันผู้สมรู้นั้นได้ พ.ร.บ.กักกันฯ มิได้ประสงค์ให้ลงโทษแต่เฉพาะตัวการดังจำเลยโต้แย้งมา
พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ยกฎีกาจำเลยที่ ๒ เสีย.

Share