คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ที่1ที่2และที่3ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดแยกกันมาเป็นส่วนสัดในสำนวนเดียวกันโดยโจทก์ที่1ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์มามีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่1ที่2ชนะคดียกฟ้องโจทก์ที่3และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพียงโจทก์ที่2ชนะคดีโดยยกฟ้องโจทก์ที่1เสียด้วยดังนี้ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับสำหรับคดีเฉพาะโจทก์ที่1โจทก์ที่1จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง. ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้แก่ผู้รับซ่อมไปเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัยจึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าซ่อมรถได้.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ผู้รับ ประกันภัยรถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข.ก.07857 โจทก์ ที่ 2 เป็น ผู้ ครอบครองรถยนต์ คัน ดังกล่าว โดย โจทก์ ที่ 3 เป็น ผู้ ขับขี่ ใน ขณะ เกิดเหตุจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ครอบครอง รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ช.ย. 01361และ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์ คันดังกล่าว เมื่อ วันที่ 5 กันยายน 2522 ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 ขับรถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1โดย ประมาท ชน รถยนต์ คัน อื่น พุ่ง มา ชน ท้าย รถยนต์ ของ โจทก์ ที่2 ได้ รับ ความเสียหาย เสีย ค่า ซ่อม รวมกับ ดอกเบี้ย เป็น เงิน 37,387บาท โจทก์ ที่ 1 ออก เงิน ค่า ซ่อมแซม ไป แล้ว จึง รับช่วง สิทธิ มาฟ้อง รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 2 เสื่อม สภาพ และ โจทก์ ที่ 2 ต้อง ขาดรายได้ ใน การ ใช้ รถ รวมกับ ดอกเบี้ย เป็น เงิน 53,750 บาท และ โจทก์ที่ 3 ได้ รับ บาดเจ็บ สาหัส เสีย ค่า รักษา พยาบาล กับ ค่า ขาดประโยชน์รวม ดอกเบี้ย แล้ว เป็น เงิน 15,050 บาท ขอ ให้ ศาลพิพากษา บังคับ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า โจทก์ ที่ 1 สมยอม จ่ายค่า ซ่อมแซม รถ ไป โดย รู้ ว่า ไม่ ต้อง รับผิด จึง ไม่ ได้ รับช่วงสิทธิ และ ไม่ มี อำนาจฟ้อง โจทก์ ที่ 2 ไม่ ใช่ ผู้ ครอบครองรถยนต์ คัน เกิดเหตุ จึง ไม่ มี อำนาจฟ้อง เหตุ เกิด จาก ความ ประมาทของ รถยนต์ ฝ่าย โจทก์ รถยนต์ ของ โจทก์ เสียหาย ไม่เกิน 3,000 บาทซ่อม แล้ว ไม่ เสื่อมสภาพ และ ค่าขาดประโยชน์ ไม่เกิน 1,000 บาท โจทก์ที่ 3 ตกลง ทำ สัญญา ประนีประนอมยอมความ กับ จำเลย ที่ 1 แล้ว จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ที่ 1จำนวน 34,779 บาท และ ให้ โจทก์ ที่ 2 จำนวน 24,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 3
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 12,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ยกฟ้องโจทก์ ที่ 1 เสียด้วย
โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม คำแก้ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้อง เรียก ค่าซ่อม รถยนต์ เป็น เงิน 37,387 บาท ซึ่ง ทุนทรัพย์ไม่เกิน ห้าหมื่น บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง นั้น เห็นว่าโจทก์ ทั้ง สาม ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย จาก มูลละเมิด แยก กัน มา เป็นส่วนสัด ใน สำนวน เดียวกัน เฉพาะ โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง เรียกร้อง มา มีทุนทรัพย์ ไม่เกิน ห้าหมื่น บาท และ ศาลชั้นตต้น พิพากษา ให้ โจทก์ที่ 1 ชนะ คดี โดย ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ที่ 1 จำนวน 34,779 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แต่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ที่ 1ถือ ว่า ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ สำหรับ คดี เฉพาะ โจทก์ ที่ 1 จึงไม่ ต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง
สำหรับ เรื่อง อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 1 นั้น โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ที่ 1 ได้ รับช่วง สิทธิ จาก บริษัท เชสแมนฮัตตัน อินเวสเมนท์ จำกัดผู้เอา ประกันภัย ตาม กรมธรรม์ ประกันภัย มา ฟ้อง และ โจทก์ ที่ 1 ได้ชดใช้ ค่า สินไหมทดแทน ใน เหตุ วินาศภัย ที่ ได้ เกิดขึ้น แก่ ผู้เอาประกันภัย ซึ่ง เป็น ผู้รับ ประโยชน์ ดัง ที่ ระบุ ไว้ ใน กรมธรรม์ประกันภัย แล้ว และ ได้ความ ว่า บริษัท เชสแมนฮัตตัน อินเวสเมนท์ จำกัดเป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข.ก.07857บริษัท เชสแมนฮันตตัน อินเวสเมนท์ จำกัด จึง เป็น ผู้ มี ส่วน ได้เสียโดยตรง กับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน ข.ก.07857 การ ที่ โจทก์ ที่ 1ชำระ เงิน ค่า ซ่อม รถยนต์ คัน ดังกล่าว ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วน จำกัดขอนแก่น ช.ทวี ผู้รับ ซ่อม ไป เป็น เงิน 34,779 บาท เป็น การ ปฏิบัติหน้าที่ ตาม สัญญา ประกันภัย เพื่อ ประโยชน์ ของ บริษัท เชสแมนฮัตตันอินเวสเมนท์ จำกัด ผู้เอา ประกันภัย จึง ได้ รับช่วง สิทธิ มา ฟ้องจำเลย ทั้ง สอง ได้
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน แก่ โจทก์ที่ 1 จำนวน 34,779 บาท พร้อม ดอกเบี้ย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share