แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่.