คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสามและวรรคสี่กำหนดให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงโดยคำนวณตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเป็นเรื่องให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเป็นฝ่ายถือปฏิบัติเมื่อมีกรณีอสังหาริมทรัพย์เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงเกิดขึ้นเพื่อให้การคำนวณราคาเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกันมิได้หมายความว่าหากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นไม่กำหนดราคาที่ลดลงของอสังหาริมทรัพย์เพราะไม่มีพระราชกฤษฎีกาออกมาให้กำหนดราคาแล้วผู้ที่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงบางส่วนไม่สามารถจะเรียกเงินค่าทดแทนได้ การที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาลดลงและโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้นย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้ ที่ดินโจทก์ส่วนที่เหลือจำนวน351ตารางวา อยู่ด้านในไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนนี้ไม่ได้เหมือนเดิมจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าทดแทนแก่โจทก์สำหรับที่ดินส่วนที่เหลือนั้นด้วย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคท้ายบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ10ต่อปีคงที่จึงไม่ถูกต้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 23372 เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน8 วา พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็น ทรัพย์มรดก ของ นาง ระวิวงศ์ พิมพสุต โดย โจทก์ เป็น ผู้จัดการมรดก ถูก เวนคืน เพื่อ สร้าง ทาง พิเศษ โดย จำเลยกำหนด เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ส่วน ที่ 1 เนื้อที่ 2 งาน 73 ตารางวาตารางวา ละ 12,000 บาท ที่ดิน ส่วน ที่ 2 เนื้อที่ 3 งาน 84 ตารางวาตารางวา ละ 750 บาท เงิน ค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง บ้าน ตึก ชั้น เดียวเป็น เงิน 83,490.75 บาท บ้าน ไม้ ชั้น เดียว (โรงรถ ) เป็น เงิน52,294.77 บาท ห้องน้ำ หลังคา เพิง เป็น เงิน 8,961.96 บาท บางส่วน ของบ้าน ตึก ชั้น เดียว อีก 1 หลัง เป็น เงิน 2,204.48 บาท รั้ว คอนกรีตบางส่วน เป็น เงิน 185,243.48 บาท ไม้ยืนต้น จำนวน 27 รายการเป็น เงิน 9,145 บาท รวม เงิน ค่าทดแทน ทั้งหมด จำนวน 3,905,340.06 บาทซึ่ง โจทก์ ได้รับ เงิน จำนวน ดังกล่าว แล้ว แต่ เนื่องจาก ใน วันที่ มีพระราชกฤษฎีกา ที่ดิน ของ โจทก์ มี ราคา ซื้อ ขาย กัน ตาม ปกติ ใน ท้องตลาดตารางวา ละ 50,000 บาท จำเลย ต้อง จ่าย เพิ่ม ให้ แก่ โจทก์ อีก จำนวน29,286,000 บาท เงิน ค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง ที่ โจทก์ ได้รับ มา แล้วไม่สามารถ ปลูกสร้าง บ้าน อยู่อาศัย ใหม่ ใน ราคา ใกล้เคียง ของ เดิม ได้เพราะ จะ ต้อง ใช้ จ่าย เป็น เงิน 1,000,000 บาท จำเลย จึง ต้อง จ่ายเงิน ค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง เพิ่ม แก่ โจทก์ อีก 667,805 บาท ส่วน ที่ดินของ โจทก์ ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน เนื้อที่ 3 งาน 51 ตารางวา ไม่มีทาง เข้า ออก สู่ ถนน สาธารณะ ได้ โจทก์ ขอ คิด ค่า ลด น้อย ถอย ลง ของ ราคาที่ดิน ตารางวา ละ 40,000 บาท รวมเป็น เงิน 14,040,000 บาท รวม เงินค่าทดแทน ที่ จำเลย ต้อง ชำระ แก่ โจทก์ จำนวน 43,993,805 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญาซื้อขาย เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย กำหนด เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ตาม ราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรมค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง กำหนด บน พื้น ฐาน ของ การ สำรวจ ถอด แบบโครงสร้าง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ตาม สภาวะ ราคา ซื้อ ขาย ใน ท้องตลาดใน วัน บังคับ ใช้ พระราชกฤษฎีกา สำหรับ ราคา วัสดุ ก่อสร้าง ใช้ ราคาวัสดุ ตาม ราคา ตลาด ของ กรม เศรษฐกิจ การพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ค่าทดแทน ด้าน สาธารณูปโภค ใช้ ราคา ของรัฐวิสาหกิจ นั้น ๆ เช่นการไฟฟ้า การประปา องค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศ ไทย ค่า ขนย้ายวัสดุ ถือ ตาม ราคา ของ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ค่า อำนวยการค่า ออก แบบ ค่า คุม งาน ใน การ ก่อสร้าง ค่าภาษีอากร และ กำไรใช้ หลักเกณฑ์ ตาม มติ ของ คณะรัฐมนตรี การ กำหนด เงินค่าทดแทน ทรัพย์สิน ของ โจทก์ ที่ ถูก เวนคืน จึง เป็น ราคา ที่ เหมาะสม แล้วหาก จำเลย ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ก็ ไม่เกิน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีโดย นับแต่ วันที่ ศาล พิพากษา เป็นต้น ไป ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ค่าทดแทนเพิ่ม แก่ โจทก์ อีก จำนวน 12,780,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่า โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาง ระวิวงศ์ พิมพสุต เป็น เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 23372 ตำบล ปากเกร็ด (สีกัน) อำเภอปากเกร็ด (ตลาดขวัญ) จังหวัด นนทบุรี เนื้อที่ รวม 2 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา ที่ดิน ดังกล่าวได้ ถูก เวนคืน เป็น เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 57 ตารางวา ตาม พระราชกฤษฎีกากำหนด เขต ที่ดิน ใน บริเวณ ที่ ที่ จะ เวนคืน ใน ท้องที่ อำเภอ ปากเกร็ด อำเภอ เมืองนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี ฯลฯ พ.ศ. 2530 เพื่อ สร้าง ทาง พิเศษ สาย แจ้งวัฒนะ-บางโคล่ และ สาย พญาไท-ศรีนครินทร์ คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ได้ กำหนด เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน แก่ โจทก์ส่วน ที่ 1 เนื้อที่ 273 ตารางวา ตารางวา ละ 12,000 บาท เป็น เงินรวม 3,276,000 บาท ส่วน ที่ 2 เนื้อที่ 384 ตารางวา ตารางวา ละ 750บาท เป็น เงิน รวม 288,000 บาท โดย อาศัย ราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ใน การ จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรมของ กรมที่ดิน พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2534 สำหรับ เงิน ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ได้ กำหนด ให้ 332,195.06 บาท และ เงิน ค่าทดแทน ไม้ยืนต้นกำหนด ให้ 9,145 บาท โดย อาศัย ราคา ของ กรม เศรษฐกิจ การพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ กับ ราคา ของ ส่วนราชการ และ รัฐวิสาหกิจ โจทก์ได้รับ เงิน ค่าทดแทน ดังกล่าว ไป แล้ว และ ได้ ใช้ สิทธิ อุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย และ ได้รับ การ พิจารณา เพิ่ม เงินค่าทดแทน ที่ดิน ใน ส่วน ที่ 2 อีก รวม 346,073 บาท ต่อมา มี ประกาศคณะ รักษา ความสงบ เรียบร้อย แห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การ แก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลย ได้ จ่ายเงินค่าทดแทน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง เพิ่ม ให้ โจทก์ อีก รวมเป็น เงิน10,152,280.67 บาท จึง เป็น เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้างที่ โจทก์ ได้รับ ไป ทั้งสิ้น จำนวน 14,403,693 บาท ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย ประการ แรก มี ว่า โจทก์ ควร ได้รับ เงินค่าทดแทน สำหรับ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ที่ ถูก เวนคืน จำนวน เท่าไร โจทก์ฎีกา ว่า คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น กำหนด เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ โดย ไม่ชอบ โจทก์ ควร ได้รับ เงิน ค่าทดแทน เต็ม ตาม ฟ้องส่วน จำเลย ฎีกา ว่า คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ได้ กำหนด เงินค่าทดแทน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ให้ แก่ โจทก์ โดยชอบ และ เป็น ธรรม แก่โจทก์ แล้ว โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ค่าทดแทน เพิ่มขึ้น นั้น เห็นว่าที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด เงิน ค่าทดแทน ใน ที่ดิน ส่วน ที่ 2 ใน ราคาเดียว กัน กับ ที่ดิน ส่วน ที่ 1 เป็น ตารางวา ละ 30,000 บาท จึง เหมาะสมชอบธรรม ดี แล้ว ใน ข้อ ที่ โจทก์ ฎีกา ขอ เงิน ค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง1,000,000 บาท เห็นว่า เงิน ค่าทดแทน สิ่งปลูกสร้าง ที่ จำเลย จ่ายให้ โจทก์ ดังกล่าว ชอบแล้ว ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ฎีกา ของ จำเลยฟังขึ้น บางส่วน
ปัญหา ประการ ที่ สอง ตาม ฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย มี ว่า โจทก์ ควรได้รับ เงิน ค่าทดแทน สำหรับ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ หรือไม่ จำนวน เท่าใดโจทก์ ฎีกา ว่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน มี ราคา ลดลง ไป เพราะ ไม่มีทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ โดย มี ราคา ลดลง ไป ตารางวา ละ 40,000 บาทรวมเป็น เงิน 14,040,000 บาท เมื่อ คิด พร้อม ทั้ง ดอกเบี้ย จำนวน1,755,000 บาท เป็น เงิน ทั้งสิ้น 15,795,000 บาท ซึ่ง จำเลยต้อง รับผิด จ่ายเงิน ค่าทดแทน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ส่วน จำเลย ฎีกา ว่าคณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ไม่ได้ กำหนดราคา ที่ เพิ่มขึ้นหรือ ลดลง ของ ที่ดิน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน ให้ แก่ โจทก์ เพราะ ไม่เคย มีกฎหมาย หรือ พระราชกฤษฎีกา ออก มา กำหนดราคา เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ ทั้ง สภาพที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน ยัง สามารถ ใช้ ประโยชน์ ได้ และ โจทก์สามารถ ร้องขอ ให้ จำเลย ทำ ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ ได้ หาก โจทก์มีสิทธิ เรียกร้อง เงิน ค่าทดแทน ดังกล่าว โจทก์ น่า จะ เรียกร้อง ได้เพียง ค่าทดแทน ที่ โจทก์ ต้อง ใช้ สิทธิ ให้ แก่ เจ้าของ ที่ดิน ที่ ล้อม อยู่เพื่อ ความเสียหาย อัน เกิด แต่ เหตุ ที่ โจทก์ จะ มีสิทธิ ผ่าน ที่ดิน ส่วนทางสาธารณะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่เท่านั้น เห็นว่า ที่ จำเลย อ้างว่า คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้นไม่ กำหนดราคา ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน อัน ทำให้ ราคา ลดลง แก่โจทก์ เพราะ ไม่มี กฎหมาย หรือ พระราชกฤษฎีกา ออก มา กำหนด เกี่ยวกับเรื่อง นี้ นั้น เป็น การ กล่าวอ้าง ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสาม และ วรรคสี่ที่ บัญญัติ ให้ คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น กำหนด เงิน ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน อัน ราคา ลดลง โดย คำนวณ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ กำหนด ไว้ ใน พระราชกฤษฎีกา ซึ่ง เป็น เรื่อง ให้คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น เป็น ฝ่าย ถือ ปฏิบัติ เมื่อ มี กรณีเช่นนี้ เกิดขึ้น เพื่อ ให้การ คำนวณ ราคา เป็น ระเบียบ แบบ แผน เดียว กันมิได้ หมายความ ว่า หาก คณะกรรมการ กำหนดราคา เบื้องต้น ไม่ กำหนดราคาที่ ลดลง ของ อสังหาริมทรัพย์ เพราะ ไม่มี พระราชกฤษฎีกา ออก มา ให้ กำหนดราคา แล้ว ผู้ที่ ถูก เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ แต่เพียง บางส่วน อัน ทำให้ส่วน ที่ เหลือ นั้น ราคา ลดลง ไม่สามารถ จะ เรียกเงิน ค่าทดแทน ได้คดี นี้ โจทก์ อ้างว่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ มี ราคา ลดลง และ โจทก์ ได้ อุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ให้ กำหนด เงิน ค่าทดแทน เพิ่มขึ้น ย่อม หมายถึง การ อุทธรณ์ เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ทั้งหมด ที่ โจทก์ ควรได้รับ เนื่องจาก เหตุ การ เวนคืน ที่ดิน ของ โจทก์ ครั้งนี้ โจทก์ จึง มีอำนาจฟ้อง เรียกเงิน ค่าทดแทน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืน ได้มี ปัญหา ต่อไป ว่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ของ โจทก์ มี ราคา ลดลง หรือไม่ข้อเท็จจริง นี้ โจทก์ นำสืบ รับฟัง ได้ว่า ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จำนวน 351ตารางวา ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ เนื่องจาก ที่ดิน ส่วน ที่ ติดกับถนน แจ้ง วัฒนะถูก เวนคืน ไป หมด ซึ่ง โจทก์ ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ จำเลย ทำ ทางออก สู่ ทางสาธารณะ 2 ครั้ง แล้วแต่ จำเลย ยัง ไม่ ดำเนินการ ทำ ทาง ออก ให้จาก ทางนำสืบ ของ จำเลย ก็ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ทำ ทาง ให้ ที่ดิน ที่ เหลือของ โจทก์ ออก สู่ ทางสาธารณะ จึง รับฟัง ได้ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ส่วนที่ เหลือ อยู่ ด้าน ใน ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ พฤติการณ์ เช่นนี้ ย่อมทำให้ โจทก์ ใช้ ประโยชน์ ที่ดิน ส่วน นี้ ไม่ได้ เหมือนเดิม จำเลย ต้องรับผิด ใช้ เงิน ค่าทดแทน แก่ โจทก์ ด้วย เกี่ยวกับ เงิน ค่าทดแทน ที่ดิน ส่วนที่ เหลือ นั้น โจทก์ คิด ค่าทดแทน ตารางวา ละ 40,000 บาท โดย โจทก์ไม่ได้ นำสืบ ให้ เห็นว่า โจทก์ เคย นำ ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ จาก การ เวนคืนไป เสนอ ขาย ให้ แก่ ผู้ใด ได้ หรือไม่ เพียงใด หรือ มี ผู้ เสนอ ซื้อ ราคาเท่าใด ทั้ง ไม่นำ ผู้ มี ความรู้ เกี่ยวกับ ราคาประเมิน ที่ดิน มา สืบ ให้เห็นว่า ที่ดิน ดังกล่าว ลดลง เหลือ ราคา ตารางวา ละ เท่าใด หรือ มี ราคาซื้อ ขาย ใน ท้องตลาด ราคา ตารางวา ละ เท่าใด แม้ ที่ดิน โจทก์ ขณะ นี้จะ ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ แต่ ยัง อาจ ขอ ทาง จำเป็น ได้ ใน โอกาส ต่อไปและ โจทก์ ยัง สามารถ ใช้ ประโยชน์ ใน ที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ ใน การ ปลูก บ้านอยู่อาศัย ได้ เพียงแต่ ไม่ได้ รับ ความสะดวก เหมือนเดิม ที่ ศาลล่างทั้ง สอง กำหนด เงิน ค่าทดแทน ส่วน นี้ ให้ โจทก์ ตารางวา ละ 20,000 บาทเป็น เงิน จำนวน 7,020,000 บาท นั้น เป็น ธรรม แก่ โจทก์ แล้วฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา สุดท้าย ตาม ฎีกา ของ จำเลย มี ว่า จำเลย ต้อง รับผิด ชำระ ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์ หรือไม่ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วย การ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย บัญญัติ ว่าใน กรณี ที่ รัฐมนตรี หรือ ศาล วินิจฉัย ให้ ชำระ เงิน ค่าทดแทน เพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าทดแทน ได้รับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา สูงสุด ของดอกเบี้ย เงินฝาก ประเภท ฝาก ประจำ ของ ธนาคารออมสิน ใน จำนวนเงิน ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่ วันที่ ต้อง มี การ จ่าย หรือ วางเงิน ค่าทดแทน นั้นโจทก์ มี นาย มงคล ชวาลกุล นิติกร ธนาคาร ออมสิน มา เบิกความ เป็น พยาน ว่า อัตรา ดอกเบี้ย เงินฝาก ประจำ เมื่อ เดือน มกราคม 2533ถึง เดือน ธันวาคม 2535 มี อัตรา ดอกเบี้ย ร้อยละ 10 ซึ่ง ช่วง ระยะเวลา ดังกล่าว โจทก์ ได้ สัญญา รับ เงิน ค่าทดแทน จาก จำเลย ตามเอกสาร หมาย จ. 10 จำเลย จึง ต้อง ชำระ ดอกเบี้ย ใน เงิน ค่าทดแทน ที่เพิ่มขึ้น ให้ แก่ โจทก์ ตั้งแต่ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่ง เป็น วันจ่ายเงิน ค่าทดแทน แต่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี คงที่ นับแต่ วันที่27 กุมภาพันธ์ 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ นี้ ไม่ถูกต้อง สมควรแก้ไข ให้ ถูกต้อง ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตราดอกเบี้ย เงินฝาก ประเภท ฝาก ประจำ ของ ธนาคาร ออมสิน ใน จำนวนเงิน ค่าทดแทน ที่ เพิ่มขึ้น แต่ ไม่เกิน อัตรา ร้อยละ 10 ต่อ ปี นับแต่ วันที่27 กุมภาพันธ์ 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share