คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ปัญหาที่ว่าอายุความเริ่มนับเมื่อใดเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทราบมูลเหตุแห่งคดีนี้และรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริง. เมื่อคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาดังนั้นย่อมไม่มีข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบโจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหาได้ไม่แม้จะมีผู้พิพากษาที่ลงชื่อในศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม. เมื่อคดีขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ ถือหุ้น ใน บริษัทโรแยลคลิฟบีชโฮเต็ล จำกัด จำเลย เป็น กรรมการ ผู้ มี อำนาจ กระทำ แทนบริษัท และ มี อำนาจ ออก เช็ค สั่ง จ่าย เงิน จาก บัญชี ของ บริษัทเมื่อ วันที่ 19 และ 20 มกราคม 2525 เวลา กลางวัน จำเลย ได้ กระทำ ผิดหน้าที่ ของ ตน โดย ทุจริต ออก เช็ค สั่งจ่าย เงิน ออก จาก บัญชี บริษัทที่ ธนาคารเอเซียทรัสต์ จำกัด สาขา เพชรบุรีตัดใหม่ จำนวน 15,000,000บาท ไป เข้า ฝาก ที่ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เงินทุนสากล จำกัด ที่สามี จำเลย เป็น กรรมการ อยู่ โดย จำเลย ทราบ ดี ว่า บริษัท ต้อง ใช้เงินทุน หมุ่นเวียน และ ยัง เป็น ลูกหนี้ ธนาคาร อื่น อยู่ 36 ล้าน บาทเศษ ซึ่ง ต้อง เสีย ดอกเบี้ย มากกว่า ดอกเบี้ย ที่ ได้ รับ การ กระทำของ จำเลย เป็น การ อาศัย ตำแหน่ง หน้าที่ ที่ ได้ รับ ความ ไว้วางใจมอบหมาย จาก บริษัท และ ผู้ ถือหุ้น เพื่อ ช่วยเหลือ บริษัท ที่ สามีจำเลย เป็น กรรมการ โดย บริษัท ไม่ มี วัตถุประสงค์ เช่นนั้น และ กระทำโดย มิได้ ปรึกษา คณะกรรมการ บริษัท อัน ฝ่าฝืน ข้อบังคับ บริษัททำ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ ประโยชน์ ใน ลักษณะ ที่ เป็น ทรัพย์สิน ของโจทก์ และ ผู้ ถือหุ้น เหตุ เกิด แขวง บางขุนพรหม เขต พระนคร และ แขวงมักกะสัน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร โจทก์ ทราบ การ กระทำ ของ จำเลยเมื่อ วันที่ 1 พฤษภาคม 2525 โจทก์ ไม่ ได้ ร้องทุกข์ เพราะ ประสงค์ดำเนินคดี เอง ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว ให้ ประทับฟ้อง เฉพาะ ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลแขวง พระนครเหนือ พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลยไม่ เป็น การ ผิด หน้าที่ โดย ทุจริต และ คดี ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า การ ที่ ศาลแขวง พระนครเหนือ ฟังข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ทราบ มูลเหตุ แห่ง คดี นี้ และ รู้ ตัว ผู้กระทำ ผิด เกิน 3 เดือน โดย มิได้ ร้องทุกข์ ต่อ พนักงาน สอบสวน คดี ของโจทก์ จึง ขาด อายุความ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 นั้น เป็น การวินิจฉัย ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง แม้ ปัญหา ข้อ ที่ ว่า อายุความ เริ่มนับ เมื่อใด เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย ก็ ตาม แต่ คดี นี้ ไม่ มี ปัญหาพิจารณา ว่า อายุความ เริ่ม นับ เมื่อใด ข้อโต้เถียง ใน คดี นี้ อยู่ที่ ว่า โจทก์ รู้ เรื่อง ความผิด ตั้งแต่ เมื่อใด เป็น คนละ เรื่องกัน การ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า ไม่ รู้เรื่อง ความผิด ก่อน วันที่ 1พฤษภาคม 2525 จึง เป็น การ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แก้ไข เพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาในศาลแขวง พ.ศ. 2503 มาตรา 10 ที่ศาลชั้นต้น รับ อุทธรณ์ และ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ให้ ย่อม ไม่ ชอบ ด้วยวิธีพิจารณา เมื่อ คดี ต้องห้าม มิให้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อเท็จจริงย่อม ไม่ มี ข้อเท็จจริง ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลอุทธรณ์โดย ชอบ โจทก์ จะ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง หา ได้ ไม่ แม้ ว่า จะ มีผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน ศาลอุทธรณ์ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ได้ ก็ ไม่ เกิด ผล ข้อเท็จจริง ที่ ว่า คดี ขาด อายุความยุติ ลง ตาม คำพิพากษา ศาลแขวงพระนครเหนือ แล้ว สิทธิ นำ คดีอาญา มาฟ้องย่อม ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา มาตรา 39(6) โจทก์ไม่ มี อำนาจ นำ คดี มา ฟ้อง พิพากษา ให้ ยก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และยก ฎีกา โจทก์

Share