แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรกประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิดแม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบหากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่ โจทก์ที่2บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน1,428.33บาทโดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วันมิได้หยุดในปีใดปีละกี่วันฟ้องของโจทก์ที่2จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนโจทก์ที่9บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ12วันรวม2ปีเป็นเวลา24วันได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว15วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด9วันคิดเป็นเงิน5,724บาทดังนี้เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่9ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้ายเป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง เก้า สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชยสำหรับ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 9 จำเลย ไม่ จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุดพักผ่อน ประจำปี ซึ่ง โจทก์ ที่ 9 มี สิทธิ หยุด พักผ่อน ปีละ 12 วันสอง ปี มี สิทธิ หยุด 24 วัน ได้ หยุด ไป แล้ว 15 วัน คง ไม่ ได้ ใช้สิทธิ อีก 9 วัน ขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่ โจทก์แต่ละ สำนวน และ จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี แก่โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 1,428.33 บาท แก่ โจทก์ ที่ 9 เป็น เงิน 5,724บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ต่อสู้ หลาย ประการ และ ตัดฟ้อง ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ที่2 และ โจทก์ ที่ 9 เรื่อง ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปีเป็น ฟ้อง เคลือบคลุม
วันนัด พิจารณา ศาลแรงงานกลาง สอบ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 9เกี่ยวกับ ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี โจทก์ ทั้งสองแถลงว่า ขอ เรียก ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี สอง ปีสุดท้าย ก่อน ถูก เลิกจ้าง คือ พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ซึ่ง ยังไม่ ได้ ใช้ สิทธิ หยุด คนละ 9 วัน จำเลย แถลงรับ ว่า โจทก์ ที่ 2และ โจทก์ ที่ 9 ยัง ไม่ ได้ ใช้ สิทธิ หยุด พักผ่อน ประจำปี คนละ9 วัน จริง แต่ จำนวนเงิน ที่ เรียก มา ตาม คำฟ้อง ไม่ ถูกต้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ ทุก สำนวนยกเว้น โจทก์ ที่ 6 ที่ 7 และ วินิจฉัย ปัญหา เรื่อง ฟ้อง เคลือบคลุมว่า แม้ โจทก์ ที่ 2 และ โจทก์ ที่ 9 ไม่ ได้ บรรยาย รายละเอียดเกี่ยวกับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ไว้ แต่ จำเลย สามารถ ตรวจสอบวัน ลาหยุด พักผ่อน ประจำปี ของ โจทก์ ทั้งสอง ได้ เพราะ หลักฐานการ ลา อยู่ ที่ จำเลย ใน วันนัด พิจารณา โจทก์ ทั้งสอง และ จำเลยก็ แถลงรับกันว่า ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 โจทก์ ทั้งสอง ยังไม่ ได้ หยุด พักผ่อน ประจำปี คนละ 9 วัน ฟ้อง โจทก์ เรื่อง ค่าจ้างสำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ไม่ เคลือบคลุม พิพากษา ให้ จำเลยจ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี แก่ โจทก์ ที่ 2จำนวน 1,278 บาท แก่ โจทก์ ที่ 9 จำนวน 5,724 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ที่ 6 ที่ 7 และ จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ใน ประเด็น เรื่อง ฟ้อง เคลือบคลุมว่า โจทก์ ที่ 2 บรรยายฟ้อง ใน เรื่องนี้ เพียง ประโยคเดียว ว่า จำเลยไม่ จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ครั้น แล้ว ก็ มีคำขอ ให้ จำเลย จ่าย เงิน ประเภทนี้ เป็น จำนวน 1,528 บาท 33 สตางค์ไป เลย ทีเดียว โจทก์ ที่ 2 มิได้ บรรยายฟ้อง ว่า ตน มี สิทธิ หยุดพักผ่อน ประจำปี ได้ ปีละ กี่วัน มิได้ หยุด ใน ปีใด ปีละ กี่วันดังนี้ ศาลฎีกา เห็น ว่า ฟ้อง โจทก์ ที่ 2 ใน ข้อนี้ ตกเป็น ฟ้องเคลือบคลุม แล้ว เมื่อ เป็น ฟ้อง ที่ เคลือบคลุม เป็น ฟ้อง ที่ ไม่ชอบ มา แต่แรก ประเด็น ตาม คำฟ้อง จึง ไม่ เกิด จริงอยู่ ศาล มี อำนาจสอบถาม คู่ความ เพื่อ ให้ ได้ ความชัด ใน ประเด็น ข้อพิพาท แต่ การสอบถาม นั้น ก็ จำต้อง ตรวจ คำคู่ความ ที่ ชอบ ตาม ที่ คู่ความ ยื่นต่อ ศาล หาก ไม่ เป็น คำคู่ความ ที่ ชอบ เสียแล้ว แม้ คู่ความ จะ แถลงเป็น ประการใด ก็ หา อาจ ทำให้ คำคู่ความ ที่ ไม่ ชอบแล้ว นั้น กลับเป็น คำคู่ความ ที่ ชอบ และ มี ประเด็น ขึ้น ตาม ที่ ศาล สอบถาม และตาม คำแถลง ของ คู่ความ ไม่ เหตุนี้ ที่ ศาลแรงงานกลาง สอบถาม โจทก์ที่ 2 กับ จำเลย ใน ชั้นพิจารณา แล้ว ย้อน วินิจฉัย ไป ถึง ขึ้น ตรวจคำคู่ความ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2 เป็น ฟ้อง ที่ ไม่ เคลือบคลุม นั้นศาลฎีกา ไม่ เห็นพ้อง ด้วย
ส่วน โจทก์ ที่ 9 ได้ บรรยายฟ้อง ว่า ตน มี สิทธิ หยุด พักผ่อน ประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็น เวลา 24 วัน แต่ โจทก์ ที่ 9 ได้ ใช้ สิทธิหยุด พักผ่อน ไป แล้ว 15 วัน โจทก์ ที่ 9 จึง มี สิทธิ ได้ รับ ค่าจ้างสำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี ที่ ไม่ ได้ หยุด 9 วัน คิด เป็น เงิน5,724 บาท ดังนี้ เห็นว่า เป็น ฟ้อง ที่ พอ เข้าใจ ได้ แล้ว ว่าโจทก์ ที่ 9 ฟ้อง เรียก ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อน ประจำปี สำหรับสอง ปี สุดท้าย เป็น ฟ้อง ที่ ได้ แสดง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลักแห่ง ข้อหา เพียงพอ แก่ ความ ต้องการ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ที่ 9 ใน ส่วนนี้ หา เป็น ฟ้อง เคลือบคลุม ไม่ ชอบ ที่ ศาลแรงงานกลางจะ สอบถาม ให้ ได้ ความ ยิ่งขึ้น ว่า ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุด พักผ่อนประจำปี 9 วัน ที่ เรียกร้อง นั้น เป็น ของ ปีใด และ เป็น จำนวน กี่ปี
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ไม่ ต้อง จ่าย ค่าจ้าง สำหรับ วัน หยุดพักผ่อน ประจำปี พร้อมด้วย ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง