แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ข้อบังคับการทำงานเอกสารล.1จัดทำเป็นภาษาอังกฤษจำเลยเป็นผู้ส่งต่อศาลหากไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยทำคำแปลได้แต่เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยมาแล้วต้องถือว่าถูกต้องตามเอกสารนั้นซึ่งศาลจำต้องวินิจฉัยไปตามนั้นจำเลยจะโต้แย้งภายหลังว่าคำแปลดังกล่าวไม่ถูกต้องไม่ได้. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา14นั้นเป็นที่ชัดแจ้งว่าต้องมีเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งได้ทำขึ้นเป็นสองภาษาจึงจะใช้ความในมาตรานี้บังคับได้ข้อบังคับการทำงานของจำเลยได้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษเพียงภาษาเดียวส่วนภาคภาษาไทยเป็นเพียงคำแปลเท่านั้นเมื่อจำเลยทำคำแปลภาษาไทยมาแล้วศาลก็ย่อมวินิจฉัยภาษาไทยที่จำเลยแปลมานั้น. เมื่อจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์โจทก์ได้ทำเอกสารให้แก่จำเลยมีข้อความในวรรคแรกว่า’โดยความสิ้นสุดแห่งการรับจ้างทำงานให้กับบริษัทฯข้าพเจ้าได้รับเงินจำนวน…..จากบริษัทฯตามข้อบังคับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุ……เป็นการชำระโดยเต็มและถึงที่สุดในเงินค่าจ้างเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุและเงินจำนวนอื่นซึ่งข้าพเจ้ามีสิทธิได้รับ’ข้อความดังกล่าวระบุประเภทของเงินค่าจ้างและเงินบำเหน็จเท่านั้นส่วนคำว่าเงินจำนวนอื่นนั้นจะให้หมายความรวมถึงค่าชดเชยซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายให้โจทก์ด้วยนั้นหาได้ไม่ส่วนความในวรรคสองมีว่า’และโดยที่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวข้างต้นข้าพเจ้าจึงขอรับรองว่าข้าพเจ้าทายาทฯลฯขอสละสิทธิและปลดปล่อยโดยตลอดไปให้บริษัทฯผู้สืบสิทธิและผู้ที่ได้รับมอบหมายปลอดจากสิทธิเรียกร้องใดๆของข้าพเจ้าอันเกี่ยวกับการรับจ้างทำงานให้บริษัท’ข้อความดังกล่าวหาได้มีการระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาปลดหนี้ค่าชดเชยไม่ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องในค่าชดเชยซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมายไม่.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ ทั้ง สอง เพราะ เหตุ เกษียณอายุ โดย ไม่ จ่าย ค่าชดเชยขอ ให้ บังคับ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ว่า จำเลย ได้ จ่าย ค่าชดเชย ให้ แก่โจทก์ ทั้ง สอง พร้อมกับ เงิน บำเหน็จ เกษียณ อายุ แล้ว จำเลย ไม่ เคยผิดนัด ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย พร้อม ดอกเบี้ย แก่โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลยตาม เอกสาร หมาย ล.1 นี้ จำเลย เป็น ผู้ส่ง ต่อ ศาล หาก ไม่ มี คำแปลเป็น ภาษาไทย ศาล ย่อม มี อำนาจ สั่ง ให้ จำเลย ทำ คำแปล ได้ แต่ เมื่อจำเลย ได้ ทำ คำแปล เป็น ภาษาไทย มา แล้ว ต้อง ถือ ว่า ถูกต้อง ตามเอกสาร นั้น ซึ่ง ศาล จำต้อง วินิจฉัย ไป ตาม นั้น จำเลย จะ โต้แย้งภายหลัง ว่า คำแปล ดังกล่าว ไม่ ถูกต้อง นั้น ไม่ อาจ รับฟัง ได้
มาตรา 14 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติ ว่า ถ้า เอกสารทำ ขึ้น เป็น สอง ภาษา เป็น ภาษาไทย ภาษาหนึ่ง ภาษาอื่น ภาษาหนึ่งแต่ ข้อความ ใน สอง ภาษา นั้น แตกต่าง กัน และ ศาล มิอาจ หยั่ง ทราบเจตนา ของ คู่กรณี ได้ ว่า จะ ให้ ใช้ ภาษาใด บังคับ ให้ ถือ เอาภาษาไทย บังคับ ซึ่ง เป็น ที่ ชัดแจ้ง ว่า ต้อง มี เอกสาร ฉบับใดฉบับหนึ่ง ได้ ทำ ขึ้น เป็น สอง ภาษา จึง จะ ใช้ ความ ใน มาตรา นี้บังคับ ได้ แต่ ความจริง ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ จำเลย ได้ ทำ ขึ้นเป็น ภาษา อังกฤษ เพียง ภาษา เดียว ส่วน ภาค ภาษาไทย เป็น เพียง คำแปลเท่านั้น เมื่อ จำเลย ทำ คำแปล ภาษาไทย มา แล้ว ศาล ก็ ย่อม วินิจฉัยตาม ภาษาไทย ที่ จำเลย แปล มา นั้น
เมื่อ จำเลย จ่าย เงิน จำนวน 330,750 บาท และ 410,625 บาท ให้ แก่โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2 แล้ว โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ทำ เอกสาร หมาย 1 ท้ายคำให้การ ทั้ง สอง คดี ให้ แก่ จำเลย โดย มี ข้อความ เช่นเดียว กันใน วรรคแรก ว่า โดย ความ สิ้นสุด แห่ง การ รับจ้าง ทำงาน ให้ กับ บริษัท เค.แอล.เอ็ม.รอยัลดัทช์แอร์ไลน์ จำกัด ข้าพเจ้า ได้ รับ เงิน จำนวน …….จาก บริษัทฯ ตาม ข้อบังคับ แผน การ เงิน บำเหน็จ เมื่อ เกษียณอายุ ดัง ปรากฏ ใน ภาคผนวก 3 แห่ง ข้อบังคับ การ ทำงาน ของ พนักงานภาคพื้นดิน สายการบิน เค.แอล.เอ็ม. ใน ประเทศไทย เป็น การ ชำระ โดย เต็มและ ถึงที่สุด ใน เงิน ค่าจ้าง เงิน บำเหน็จ เมื่อ เกษียณอายุ และ เงินจำนวน อื่น ซึ่ง ข้าพเจ้า มี สิทธิ ได้ รับ ซึ่ง ข้อความ ดังกล่าว นี้ได้ ระบุ ประเภท ของ เงิน ค่าจ้าง และ เงิน บำเหน็จ เท่านั้น ส่วน คำว่าเงิน จำนวน อื่น นั้น จะ ให้ หมายความ รวม ถึง ค่าชดเชย ซึ่ง จำเลย มีหน้าที่ ตาม กฎหมาย ที่ จะ ต้อง จ่าย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ด้วย นั้น หาได้ ไม่ ส่วน ความ ใน วรรค สอง มี ว่า และ โดย ที่ ได้ รับ เงิน จำนวนดังกล่าว ข้างต้น ข้าพเจ้า จึง ขอ รับรอง ว่า ข้าพเจ้า ทายาท ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้จัดการ มรดก และ ตัวแทน ตาม กฎหมาย ของ ข้าพเจ้า ขอ สละสิทธิ และ ปลดปล่อย โดย ตลอด ไป ให้ บริษัท เค.แอล.เอ็ม.รอยัลดัทช์แอร์ไลน์ จำกัด ผู้ สืบสิทธิ และ ผู้ ที่ ได้ รับ มอบหมายปลอด จาก สิทธิ เรียกร้อง ใดๆ ของ ข้าพเจ้า อัน เกี่ยวกับ การ รับจ้างทำงาน ให้ บริษัทฯ ซึ่ง จำเลย ถือ ว่า เป็น การ ปลดหนี้ ให้ จำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 ศาลฎีกา เห็น ว่า ข้อความดังกล่าว หา ได้ มี การ ระบุ ไว้ โดย แจ้งชัด ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้แสดง เจตนา ปลดหนี้ ค่าชดเชย ไม่ ค่าชดเชย เป็น เงิน ที่ จำเลย ผู้เป็น นายจ้าง ต้อง จ่าย ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็น กฎหมาย เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน กรณี จึง ไม่ อาจถือ ได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง สละ สิทธิ เรียกร้อง ใน ค่าชดเชย ซึ่ง จำเลยมี หน้าที่ ต้อง จ่าย ตาม กฎหมาย ดังกล่าว ด้วย ไม่
พิพากษา ยืน.