แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยว่าหากโจทก์ส่งปฏิทินและสมุดบันทึกที่จำเลยสั่งให้โจทก์จัดพิมพ์ไม่ทันกำหนดยินยอมให้ปรับวันละ1,000บาทเป็นข้อสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรซึ่งนอกจากเรียกให้ชำระหนี้แล้วจำเลยจะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคหนึ่งโดยต้องบอกสงวนสิทธิดังกล่าวต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยโดยสิ้นเชิงแล้วและจำเลยรับชำระหนี้นั้นเมื่อโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบปฏิทินและสมุดให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงหาหมดสิทธิจะเรียกเอาเบี้ยปรับไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ ค่า พิมพ์ ปฏิทิน และ สมุดบันทึกจำนวน 163,647.50 บาท ให้ แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ7.5 ต่อ ปี นับ ตั้งแต่ วันที่ 8 มกราคม 2533 จน ถึง วันฟ้อง เป็น เงินดอกเบี้ย 3,068.39 บาท และ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีของ เงินต้น 163,647.50 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย รับ สมุดบันทึก จำนวน 7,340 เล่ม ไป จาก โจทก์หาก จำเลย ไม่ยอม รับ ขอให้ ศาล สั่ง ให้ โจทก์ นำ สมุดบันทึก ดังกล่าวไป วาง ไว้ ณ สำนักงาน วางทรัพย์ กลาง โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ เสียค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่าย อื่น ที่ จะ เกิดขึ้น ใน การ วางทรัพย์ กับ ให้จำเลย คืน เช็ค ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา วงเวียน 22 กรกฎา จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ ฟ้องแย้ง ขอให้ บังคับ ให้ โจทก์ชำระ เงิน จำนวน 12,812.50 บาท ให้ แก่ จำเลย พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง แย้ง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง โดย ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ให้ โจทก์ ชำระ เงิน แก่ จำเลยเป็น เงิน 12,812.50 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ จำเลย ฟ้องแย้ง (วันที่ 26 มิถุนายน 2533) เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 23,187.50 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก เงิน จำนวน 23,187.50บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และ ให้ จำเลย คืน เช็คธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา วงเวียน 22 กรกฎา จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ให้ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และ ใน การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย นั้น ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 238 ประกอบ ด้วย มาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เมื่อ เดือน สิงหาคม 2532 จำเลย ทำ สัญญา ว่าจ้างโจทก์ จัด พิมพ์ ปฏิทิน ของ จำเลย และ ของ บริษัท ยิบอินซอยและแย๊คส์ จำกัด รวม 18,560 ฉบับ คิด เป็น เงิน 125,280 บาท กับ สมุดบันทึกของ จำเลย จำนวน 5,840 เล่ม คิด เป็น เงิน 110,960 บาท กำหนด ส่งมอบภายใน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 หาก โจทก์ ส่งมอบ ไม่ ทัน กำหนด ยอม ให้จำเลย ปรับ วัน ละ 1,000 บาท จำเลย ได้ ชำระ ค่า พิมพ์ ปฏิทิน และ สมุดบันทึกดังกล่าว ล่วงหน้า 100,000 บาท ใน วัน ทำ สัญญา นั้น โดย โจทก์ ได้ มอบ เช็คธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา วงเวียน 22 กรกฎา ไม่ ลงวันที่ จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้ จำเลย ไว้ เป็น ประกัน การ จัด พิมพ์ ปฏิทิน และบันทึก ดังกล่าว ต่อมา เดือน กันยายน 2532 และ เดือน ตุลาคม 2532จำเลย ว่าจ้าง ให้ โจทก์ จัด พิมพ์ สมุดบันทึก ของ บริษัท เอ็กซิมเทรดดิ้ง (1975) จำกัด จำนวน 1,000 เล่ม คิด เป็น เงิน 20,000 บาท และ จัด พิมพ์ สมุดบันทึก ของ จำเลย เพิ่ม อีก จำนวน 500 เล่มคิด เป็น เงิน 9,500 บาท โจทก์ ได้ ทยอย ส่งมอบ ปฏิทิน ที่ โจทก์ จัด พิมพ์แล้ว เสร็จ ให้ จำเลย หลังจาก พ้น กำหนด วัน ส่งมอบ ตาม สัญญา แล้ว เป็น จำนวน18,250 ฉบับ คิด เป็น เงิน 123,187.50 บาท โจทก์ ยัง ไม่ได้ ส่งมอบปฏิทิน ที่ เหลือ 310 ฉบับ และ สมุดบันทึก 7,340 เล่ม ที่ จำเลย สั่ง ให้โจทก์ จัด พิมพ์ ให้ แก่ จำเลย จำเลย บอกเลิก สัญญา แก่ โจทก์ เมื่อ วันที่5 มกราคม 2533
คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ต้อง วินิจฉัย เป็น ข้อ แรก ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ว่าจำเลย หมด สิทธิ เรียก ค่าปรับ จาก โจทก์ เนื่องจาก จำเลย ไม่ได้ บอก สงวนสิทธิเรียก ค่าปรับ ไว้ ใน เวลา รับชำระหนี้ หรือไม่ เห็นว่า ที่ โจทก์ สัญญากับ จำเลย ว่า หาก โจทก์ ส่ง ปฏิทิน และ สมุดบันทึก ที่ จำเลย สั่ง ให้ โจทก์จัด พิมพ์ ให้ ไม่ ทัน กำหนด ภายใน วันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 ยินยอม ให้ปรับ วัน ละ 1,000 บาท นั้น เป็น ข้อ สัญญา ว่า จะ ให้ เบี้ยปรับ เมื่อ โจทก์ไม่ชำระ หนี้ ให้ ถูกต้อง สมควร ซึ่ง นอกจาก เรียก ให้ ชำระหนี้ แล้วจำเลย ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ จะ เรียก เอา เบี้ยปรับ อัน จะ พึง ริบ นั้น อีก ด้วยก็ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคหนึ่งส่วน ที่ วรรคสาม ของ มาตรา ดังกล่าว บัญญัติ ว่า “ถ้า เจ้าหนี้ ยอมรับชำระหนี้ แล้ว จะ เรียก เอา เบี้ยปรับ ได้ ต่อเมื่อ ได้ บอก สงวนสิทธิ เช่นนั้นไว้ ใน เวลา รับชำระหนี้ ” นั้น หมายความ ว่า เจ้าหนี้ จะ ต้อง บอก สงวนสิทธิที่ จะ เรียก เอา เบี้ยปรับ ต่อเมื่อ ลูกหนี้ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้โดย สิ้นเชิง แล้ว และ เจ้าหนี้ รับชำระหนี้ นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า โจทก์ ได้ ส่งมอบ ปฏิทิน ให้ จำเลย เพียง 18,250 ฉบับ โดยยัง ไม่ได้ ส่งมอบ ปฏิทิน ที่ เหลือ 310 ฉบับ และ สมุดบันทึก 7,340 เล่มที่ จำเลย สั่ง พิมพ์ ให้ จำเลย โจทก์ จึง ยัง ไม่ได้ชำระ หนี้ ให้ แก่ จำเลยโดย สิ้นเชิง ดังนั้น แม้ จำเลย มิได้ บอก สงวนสิทธิ ที่ จะ เรียก เอาเบี้ยปรับ ไว้ ใน เวลา ที่ จำเลย รับมอบ ปฏิทิน บางส่วน ที่ โจทก์ ทยอย ส่งมอบให้ จำเลย จำเลย ก็ หา หมด สิทธิ ที่ จะ เรียก เอา เบี้ยปรับ ใน การ ที่ โจทก์ส่งมอบ ปฏิทิน และ สมุดบันทึก ให้ ไม่ ทัน กำหนด วัน ละ 1,000 บาท จาก โจทก์ ไม่จำเลย จึง เรียก ค่าปรับ จำนวน 36,000 บาท จาก โจทก์ ได้ ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ต้อง คืน เช็ค ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา วงเวียน 22 กรกฎา จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ นั้น ปรากฏ จาก รายงาน กระบวนพิจารณา ลงวันที่5 พฤศจิกายน 2533 ว่า โจทก์ ได้รับ เช็ค ดังกล่าว คืน ไป จาก จำเลย แล้วจึง ไม่มี เช็ค ดังกล่าว ที่ จำเลย จะ ต้อง คืน ให้ แก่ โจทก์ อีก ฎีกา ของ จำเลยข้อ นี้ ฟังขึ้น เช่นกัน ”
พิพากษากลับ ให้ โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน 12,812.50 บาท ให้ แก่จำเลย พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง แย้ง (วันที่ 26 มิถุนายน 2533) เป็นต้น ไป จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ ให้ยก ฟ้องโจทก์