คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่2แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่1ซึ่งเป็นสามีโจทก์ในทางชู้สาวตั้งแต่พ.ศ.2518ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ถือว่าจำเลยที่2ประพฤติตนเป็นชู้ของสามีผู้อื่นทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างมากเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียงและความทุกข์ทรมานทางจิตใจเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172แล้วส่วนความเสียหายแต่ละอย่างเป็นจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้และคดีไม่ขาดอายุความเพราะจำเลยที่2กระทำละเมิดต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดกระทำจนถึงขณะฟ้อง จำเลยที่2แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับจำเลยที่1สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวโดยโจทก์มิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่1อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่2ฉันภริยาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523วรรคสองได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่1ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1มี บุตร ด้วยกัน 2 คน ยัง ไม่ บรรลุนิติภาวะ จำเลย ที่ 1 ได้อุปการะ เลี้ยงดู ยกย่อง จำเลย ที่ 2 ฉัน สามี ภริยา และ ทิ้งร้าง โจทก์ ไปเกิน 1 ปี อีก ทั้ง ยัง ไม่ให้ ความ ช่วยเหลือ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์และ บุตร อันเป็น ปฏิปักษ์ ต่อ การ เป็น สามี ภริยา อย่างร้ายแรง ส่วน จำเลยที่ 2 ทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 มี โจทก์ เป็น ภริยา อยู่ แล้ว ยัง แสดง ตน โดยเปิดเผย ว่า มี ความ สัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 1 ใน ทำนอง ชู้สาว ขอให้ บังคับจำเลย ที่ 1 หย่าขาด จาก โจทก์ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตรทั้ง สอง ให้ จำเลย ที่ 1 จ่าย ค่า อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ และ บุตร ทั้ง สองเดือน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันที่ จำเลย ที่ 1 ละทิ้ง โจทก์ จนกว่า บุตรทั้ง สอง จะ สำเร็จ การศึกษา ชั้น ปริญญาตรี และ มี อาชีพ เลี้ยง ตนเอง ได้และ จนกว่า โจทก์ จะ ทำการ สมรส ใหม่ กับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ใช้ ค่าทดแทน เป็น เงิน 10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ และบุตร ทั้ง สอง ด้วย ดี ตลอดมา แต่ ภายหลัง ขาด การ ส่ง เสีย ไป บ้าง เพราะจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ทำงาน ประกอบ กับ เกิด เรื่อง ทะเลาะวิวาท หึงหวงระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ อยู่กิน ร่วม กับ โจทก์ได้ อีก ต่อไป จึง ออกจาก บ้าน ไป อยู่กิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 ฉัน สามี ภริยาโดย เปิดเผย เป็น เวลา เกินกว่า 1 ปี จำเลย ที่ 1 ยินยอม หย่าขาด จาก โจทก์และ ยอม ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง แต่ ค่า อุปการะเลี้ยงดู โจทก์ และ บุตร ทั้ง สอง ที่ โจทก์ เรียกร้อง มา สูง เกิน ไป จำเลยที่ 1 มี ความ สามารถ ให้ ได้ เพียง เดือน ละ 3,000 – 5,000 บาทส่วน ค่าทดแทน ที่ เรียก จาก จำเลย ทั้ง สอง เป็น เงิน 30,000,000 บาทนั้น โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(1), 1523 วรรคแรก ประกอบ กับ มาตรา 1529 เพราะ ขาดอายุความ แล้ว และ ฟ้องโจทก์ ไม่ บรรยาย รายละเอียด ให้ ชัดแจ้ง ว่าความ ทุกข์ ทรมาน ทาง จิตใจ ที่ โจทก์ ได้รับ เป็น ประการใด เป็น ฟ้องเคลือบคลุม จำเลย ทั้ง สอง ไม่อาจ ยก ข้อต่อสู้ โจทก์ ได้ ถูกต้องขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 หย่าขาด จาก กัน ให้โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง ให้ จำเลย ที่ 1 จ่าย ค่าอุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ เดือน ละ 2,000 บาท นับแต่ เดือน มกราคม 2529จน ถึง วันที่ ศาล มี คำพิพากษา ให้ หย่าขาด และ จ่าย ค่า อุปการะ เลี้ยงดูบุตร ทั้ง สอง คน ละ 2,500 บาท ต่อ เดือน นับแต่ เดือน มกราคม 2529จนกว่า บุตร ทั้ง สอง จะ บรรลุนิติภาวะ โดย จ่าย ให้ บุตร คน โต เพียง วันที่28 มิถุนายน 2533 ซึ่ง เป็น วัน บรรลุนิติภาวะ กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ค่าทดแทน แก่ โจทก์ คน ละ 150,000 บาท
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่าโจทก์ เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1 มี บุตร ด้วยกัน2 คน เมื่อ ปี 2518 จำเลย ที่ 1 ได้ ไป อยู่กิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 2ฉัน สามี ภริยา โดย เปิดเผย คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ข้อ แรก ตาม ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ ใน เรื่อง ค่าทดแทน เป็น ฟ้องเคลือบคลุมและ ขาดอายุความ หรือไม่ ใน ปัญหา ว่า ฟ้องโจทก์ ใน เรื่อง ค่าทดแทน เป็นฟ้องเคลือบคลุม หรือไม่ นั้น จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ฟ้องโจทก์ ใน ส่วน นี้เคลือบคลุม ไม่ บรรยาย ให้ ได้ความ ชัด พอสมควร ว่า ที่ โจทก์ เสียหายใน เรื่อง เกียรติยศ ชื่อเสียง และ ได้รับ ความ ทุกข์ ทรมาน ทาง จิตใจนั้น คือ อะไร และ อย่างไร บ้าง ค่าเสียหาย แต่ละ อย่าง ที่ โจทก์ อ้าง เป็นจำนวน อย่าง ละ เท่าใด เห็นว่า ฟ้องโจทก์ ได้ บรรยาย ไว้ แล้ว ว่าการ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ แสดง ตน โดย เปิดเผย ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความ สัมพันธ์กับ จำเลย ที่ 1 ใน ทาง ชู้สาว อัน ถือได้ว่า จำเลย ที่ 2 ประพฤติ ตน เป็น ชู้ของ สามี ผู้อื่น ทำให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลยที่ 1ได้รับ ความเสียหาย อย่างมาก โดยเฉพาะ เกี่ยวกับ เกียรติยศ ชื่อเสียงและ ความ ทุกข์ ทรมาน ทาง จิตใจ ส่วน ความเสียหาย แต่ละ อย่าง เป็นจำนวน เท่าใด เป็น รายละเอียด ที่ โจทก์ สามารถ นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ได้ฟ้องโจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น ครบถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วคำฟ้อง โจทก์ ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ เคลือบคลุม
ส่วน ปัญหา ที่ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ นั้น เห็นว่าโจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ แสดง ตน โดย เปิดเผย เพื่อ แสดง ว่าจำเลย ที่ 2 ได้ มี ความ สัมพันธ์ กับ สามี โจทก์ ใน ทำนอง ชู้สาว มา ตั้งแต่ปี 2518 ตลอดมา จน ถึง วันที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ลักษณะ การกระทำ ของ จำเลยที่ 2 ได้ กระทำ ต่อเนื่อง กัน มา ยัง มิได้ หยุด การกระทำ การกระทำ ละเมิดของ จำเลย ที่ 2 ได้ เกิดขึ้น และ มี อยู่ ใน ขณะ ฟ้อง คดี โจทก์ จึง ไม่ ขาดอายุความ
ปัญหา ข้อ สุดท้าย มี ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง ใช้ ค่าทดแทน แก่ โจทก์ หรือไม่ คดี นี้ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ แสดง ตน โดย เปิดเผยเพื่อ แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความ สัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 1 สามี ของ โจทก์ใน ทำนอง ชู้สาว โดย โจทก์ มิได้ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจ ให้ จำเลย ที่ 1อุปการะ เลี้ยงดู หรือ ยกย่อง จำเลย ที่ 2 ฉัน ภริยา โจทก์ จึง มีสิทธิฟ้อง เรียก ค่าทดแทน จาก จำเลย ที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1523 วรรคสอง ได้ โดย ไม่จำต้อง คำนึง ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1ตกลง หย่า กันเอง หรือ ศาล พิพากษา ให้ หย่า กัน เพราะ เหตุ ตาม มาตรา 1516(1)ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคแรกหรือไม่ ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า หาก ศาล จะ วินิจฉัย ให้ จำเลย ที่ 2ต้อง ใช้ ค่าทดแทน แก่ โจทก์ ค่าทดแทน ก็ ควร เป็น จำนวน น้อย ที่สุดเพราะ โจทก์ มี ส่วน ผิด อยู่ ด้วย นั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้น กำหนดค่าทดแทน ให้ โจทก์ เหมาะสม แล้ว ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา จำเลย ที่ 2 ทุก ข้อ ฟังไม่ ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share