คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ที่2ได้ฟ้องบังคับจำนองและได้บังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วก่อนศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่2เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อไปแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของผู้คัดค้านที่2ก็มีผลเท่ากับได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง มาจาก เจ้าพนักงาน บังคับคดี ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 11826/2523 ของ ศาลแพ่ง ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท คือที่ดิน โฉนด เลขที่ 1532 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 3 ซึ่ง เป็นลูกหนี้ (จำเลย ) ที่ 2 ใน คดี นี้ ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ซึ่ง เป็น โจทก์ใน คดีแพ่ง ดังกล่าว ใน ราคา 14,000,000 บาท เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์2531 โจทก์ ยื่น คำร้อง ว่า โจทก์ ได้ ร้องขอ ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 เพิกถอนการ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท และ ให้ โอน ทรัพย์พิพาท เข้า มา ใน คดี นี้แต่ ผู้คัดค้าน ที่ 2 มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ โจทก์ คำสั่ง ของ ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ลูกหนี้ ที่ 2 ถูก พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดเมื่อ วันที่ 13 มกราคม 2530 ก่อน การ บังคับคดี แพ่ง ได้ สำเร็จ บริบูรณ์เจ้าพนักงาน บังคับคดี จึง ต้อง โอน อำนาจ การ บังคับคดี มา ให้ ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการ ต่อไป การ ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยัง คง ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน ขณะที่ ศาล ยัง มิได้พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลาย ย่อม ไม่มี อำนาจ จะ ทำได้ตาม กฎหมาย และ ราคา ทรัพย์ ที่ ตกลง ขาย ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ก็ ต่ำกว่าความ เป็น จริง มาก ทั้ง ไม่ได้ เป็น ไป เพื่อ ประโยชน์ แก่ เจ้าหนี้ ราย อื่นนอกจาก นี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไม่ได้ แจ้ง กำหนด วัน ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ให้ โจทก์ ทราบ ทำให้ ไม่มี โอกาส ไป ควบคุม การ ขายทอดตลาด และการ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ ที่ 2 เท่ากับ สละ สิทธิ ใน ฐานะ เป็น เจ้าหนี้ มี ประกัน ขอให้ มีคำสั่ง เพิกถอน คำสั่ง ของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ที่ ยกคำร้อง ของ โจทก์และ ขอให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท แล้ว โอน ทรัพย์พิพาท เข้ามา ไว้ ใน คดีล้มละลาย ต่อไป
ผู้คัดค้าน ที่ 1 ยื่น คำคัดค้าน ว่า คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่11826/2523 ของ ศาลแพ่ง ถึงที่สุด แล้ว ผู้คัดค้าน ที่ 1 ใน ฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิ ยึดทรัพย์ พิพาท ซึ่ง จำนอง ไว้ แก่ผู้คัดค้าน ที่ 1 ขายทอดตลาด เพื่อ นำ เงิน มา ชำระหนี้ ได้ ผู้คัดค้าน ที่ 1ได้ ซื้อ ทรัพย์พิพาท จาก การ ขายทอดตลาด โดยสุจริต ใน ราคา 14,000,000บาท ซึ่ง สูง กว่า ราคาประเมิน เมื่อ เจ้าพนักงาน บังคับคดี หัก ค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม และ จ่ายเงิน ให้ แก่ เจ้าหนี้ มี ประกัน แล้ว หาก มี เหลือ ก็ ส่งเป็น ทรัพย์สิน ใน คดีล้มละลาย จัด แบ่ง ให้ แก่ เจ้าหนี้ ราย อื่น ได้ โดยไม่ต้อง เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และ การ บังคับคดี เสร็จ บริบูรณ์ แล้วขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 2 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น ผู้รับจำนอง ทรัพย์พิพาท ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ใน คดีล้มละลาย ต่อ ผู้คัดค้านที่ 2 ใน ฐานะ เจ้าหนี้ มี ประกัน โดย ขอให้ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน อันเป็นหลักประกัน แล้ว ขอรับ ชำระหนี้ สำหรับ จำนวน ที่ ยัง ขาด อยู่ ผู้คัดค้านที่ 1 จึง มีอำนาจ ให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาทต่อไป ได้ โดย ไม่ต้อง โอน ทรัพย์พิพาท เข้า มา ใน คดีล้มละลายซึ่ง ไม่ต้อง รอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ ลูกหนี้ ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลาย ก่อนทั้ง ไม่ต้อง แจ้ง วัน ขายทอดตลาด ให้ โจทก์ ทราบ และ โจทก์ ไม่มี หลักฐานสนับสนุน ว่า ราคา ที่ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ได้ นั้น ต่ำกว่า ปกติ ขอให้ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่าผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหนี้ มี ประกัน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ตาม คำพิพากษาคดี หมายเลขแดง ที่ 11826/2523 ของ ศาลแพ่ง และ ได้ ดำเนินการ บังคับคดีแก่ ทรัพย์พิพาท ของ ลูกหนี้ ที่ 2 ซึ่ง จำนอง เป็น หลักประกัน ตาม คำพิพากษาดังกล่าว โดย ขอให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ พิพาท มา ขายทอดตลาดแต่ก่อน การ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ หารือ กับ ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้คัดค้าน ที่ 2 ได้ ขอให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ต่อไป และ หาก มี เงิน สุทธิ เหลือ หลังจาก หัก ชำระหนี้ จำนอง แก่ผู้คัดค้าน ที่ 1 แล้ว ก็ ให้ โอน เข้า มา ใน คดีล้มละลาย เจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการ ขายทอดตลาด 7 ครั้ง ปรากฏว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็นผู้ซื้อ ได้ ใน ราคา 14,000,000 บาท ซึ่ง สูง กว่า ราคา ที่ ประเมิน ไว้ที่ โจทก์ ฎีกา ว่าการ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ใน ฐานะเจ้าหนี้ มี ประกัน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96(3)โดย ขอให้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท แล้ว ขอรับ ชำระหนี้สำหรับ จำนวน ที่ ขาด อยู่ ต่อมา ผู้คัดค้าน ที่ 2 มี คำสั่ง ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการ ขายทอดตลาด ไป นั้น การ ขายทอดตลาด โดย เจ้าพนักงานบังคับคดี จึง ถือว่า เป็น การ ขายทอดตลาด ใน คดีล้มละลาย ตาม คำสั่งของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 และ โดย ผู้คัดค้าน ที่ 2 ซึ่ง เมื่อ ปรากฏว่า ไม่ได้มี การ แจ้ง วัน ขายทอดตลาด ให้ แก่ โจทก์ และ เจ้าหนี้ อื่น ใน ฐานะ ผู้ มี ส่วนได้เสีย ใน คดีล้มละลาย เพื่อ เปิด โอกาส ให้ โจทก์ และ เจ้าหนี้ อื่น เข้า มาตรวจสอบ ดูแล ควบคุม การ ขายทอดตลาด เป็นเหตุ ให้ ขาย ทรัพย์พิพาทได้ ใน ราคา ที่ ต่ำกว่า ความ เป็น จริง มาก ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ และ เจ้าหนี้ ทั้งปวง อีก ทั้ง เกิดความ เสียเปรียบ ระหว่าง เจ้าหนี้ อื่น จึง เป็น การ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นั้นเห็นว่า เมื่อ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ แล้ว พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) บัญญัติ ให้ อำนาจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียว ใน การ เก็บ รวบรวม และ รับ เงิน หรือ ทรัพย์สินซึ่ง จะ ตก ได้ แก่ ลูกหนี้ หรือ ซึ่ง ลูกหนี้ มีสิทธิ จะ ได้รับ จาก ผู้อื่น แม้ทรัพย์สิน นั้น จะ อยู่ ใน ระหว่าง การ บังคับคดี ของ เจ้าพนักงาน บังคับคดีก็ ตาม เจ้าพนักงาน บังคับคดี ก็ ยัง ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำขอ ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน นั้น เว้นแต่ การ บังคับคดี นั้น ได้สำเร็จ บริบูรณ์ แล้ว ก่อน วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตาม มาตรา 110วรรคแรก ประกอบ ด้วย มาตรา 112 ทั้งนี้ ด้วย วัตถุประสงค์ ที่ จะ รวบรวมทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ มา แบ่ง เฉลี่ย ให้ แก่ เจ้าหนี้ ทั้งหลาย โดย เสมอภาคตาม ส่วน อย่างไร ก็ ตาม อำนาจ ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ดังกล่าวไม่ กระทบ ถึง สิทธิ ของ เจ้าหนี้ มี ประกัน ใน การ บังคับคดี แก่ ทรัพย์สินอันเป็น หลักประกัน ตาม มาตรา 110 วรรคท้าย เมื่อ ข้อเท็จจริงได้ความ ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 เป็น เจ้าหนี้ จำนอง ทรัพย์พิพาท ของ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ ฟ้องบังคับจำนอง และ ทำการ บังคับคดี โดย นำ เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์ พิพาท เพื่อ ขายทอดตลาด แล้ว ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ ที่ 2 เด็ดขาด ใน คดี นี้ ผู้คัดค้าน ที่ 2 ย่อมไม่มี อำนาจ ที่ จะ ขอให้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี โอน การ ยึดทรัพย์ พิพาทมา ไว้ ใน คดีล้มละลาย เพราะ เป็น การ กระทบ ต่อ สิทธิ ของ ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ มี ประกัน ใน การ บังคับ แก่ ทรัพย์ อันเป็น หลักประกัน โดยตรง เทียบ ตาม นัย คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 5744/2531ระหว่าง บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ มหาสมุทร จำกัด โจทก์ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ผู้ร้อง นางสาว เล็ก ผาสุขวณิชย์ จำเลย ดังนั้น การ ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ซึ่ง จำนองเป็น หลักประกัน ต่อไป ใน การ บังคับคดี แพ่ง แม้ เป็น การ ปฏิบัติ ตาม คำขอของ ผู้คัดค้าน ที่ 2 เมื่อ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ กระทบ ถึง สิทธิดังกล่าว ของ ผู้คัดค้าน ที่ 1 เช่นนี้ จึง มีผล เท่ากับ เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาท ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ ของ ตนใน การ บังคับคดี แพ่ง ตาม บทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค 4 ลักษณะ 2 การ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา หรือ คำสั่ง หาใช่เป็น การ ขายทอดตลาด ใน คดีล้มละลาย อันเป็น อำนาจ หน้าที่ ของ ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ ผู้เดียว ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 แต่ ประการใดไม่ โจทก์ หรือ เจ้าหนี้ อื่น จึง มิใช่ ผู้มีส่วนได้เสีย ใน การ บังคับคดีแก่ ทรัพย์สิน ที่ จะขาย ซึ่ง เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ต้อง แจ้ง ให้ ทราบซึ่ง วัน ขายทอดตลาด ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 306 ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ยก คำร้องของ โจทก์ ชอบแล้ว ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ”
พิพากษายืน

Share