คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

คำว่า”สภาพแห่งข้อหา”ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองหมายถึงเหตุหรือสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยว่าโจทก์มีสิทธิหรือเหตุอย่างไรเหนือจำเลยเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ขายรถยนต์พิพาทและส่งมอบรถแก่โจทก์โดยโจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความเสียหายแก่โจทก์โดยปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่2เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถในเอกสารคู่มือจดทะเบียนรถทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนรถเป็นชื่อของโจทก์จึงขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่2ออกแล้วใส่ชื่อโจทก์แทนเป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วหาต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำอย่างไรให้มีรายละเอียดว่านี้ไม่เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องต้องการให้ศาลบังคับให้จำเลยที่2ถอนชื่อออกจากทะเบียนรถยนต์พิพาทย่อมมีความหมายในตัวว่าจำเลยที่2ต้องไปดำเนินการดังกล่าวมิฉะนั้นโจทก์ก็ไม่อาจให้นายทะเบียนดำเนินการใส่ชื่อโจทก์ลงไปแทนการที่ศาลบังคับให้จำเลยที่2ไปดำเนินการดังกล่าวหากไม่ปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ใช่การพิพากษาเกินคำขอ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ชื่อ ของ จำเลย ที่ 2 ออกจาก รายการ จดทะเบียนรถยนต์กระบะ ยี่ห้อ นิสสัน หมายเลข เครื่องยนต์ 25-เอส 15644หมายเลข ทะเบียน 4 ห-8209 กรุงเทพมหานคร และ ให้ จด ชื่อ ของ โจทก์ลง ใน รายการ จดทะเบียน รถ คัน ดังกล่าว หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษาให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ และ ฟ้องแย้ง กับ แก้ไข คำให้การ และ ฟ้องแย้งขอให้ ยกฟ้อง ให้ โจทก์ คืน รถยนต์ พิพาท หมายเลข ทะเบียน 4 ห-8209กรุงเทพมหานคร ให้ จำเลย ที่ 2 ใน สภาพ เรียบร้อย โดย ค่าใช้จ่าย ของโจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ ชดใช้ ราคา แทน เป็น เงิน 270,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย ที่ 2
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 2
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ไป ดำเนินการ โอน ทะเบียนรถยนต์พิพาท ยี่ห้อ นิสสัน บิ๊กเอ็ม กระบะ สี ขาว หมายเลข เครื่องยนต์ 25-เอส 15644 หมายเลข ทะเบียน 4 ห-8209 กรุงเทพมหานคร ให้ แก่ โจทก์หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ให้ยก ฟ้องแย้งของ จำเลย ที่ 2 คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 มี ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม หรือไม่ โดย จำเลย ที่ 2ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่ได้ บรรยาย ให้ ชัดแจ้ง ถึง สภาพแห่งข้อหา ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน กระทำ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ อย่างไรไม่ชอบ อย่างไร เห็นว่า คำ ว่า “สภาพแห่งข้อหา ” ที่ บัญญัติ ไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง หมายถึงเหตุ หรือ สิทธิ ของ โจทก์ ที่ ขอให้ ศาล บังคับ เอา แก่ จำเลย ว่า โจทก์ มีเหตุหรือ สิทธิ อย่างไร เหนือ จำเลย เมื่อ พิเคราะห์ ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่าจำเลย ที่ 1 ตกลง ขาย รถยนต์ พิพาท แก่ โจทก์ และ ได้ ส่งมอบ รถ แก่ โจทก์โดย โจทก์ ชำระ ราคา ครบถ้วน แล้ว ดังนี้ แสดง ว่า โจทก์ ได้ บรรยาย ถึงรถยนต์ พิพาท ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ โดยชอบ มีสิทธิ เหนือ กว่า จำเลย ทั้ง สองฉะนั้น เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ร่วมกัน กระทำ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่โจทก์ โดย ปรากฏ ต่อมา ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้มีชื่อ เป็น เจ้าของ รถใน เอกสาร คู่ มือ จดทะเบียน รถ คัน ดังกล่าว ทำให้ โจทก์ ไม่สามารถจดทะเบียน รถ เป็น ชื่อ ของ โจทก์ จึง ขอให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ 2ออกจาก รายการ จดทะเบียน รถยนต์ พิพาท แล้ว ใส่ ชื่อ โจทก์ แทน ก็ เป็นการ บรรยาย โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับ ทั้ง ข้ออ้างที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา พอ ที่ จำเลย ที่ 2 จะ เข้าใจ และ สามารถ ต่อสู้คดี ได้ แล้ว โจทก์ จึง หา ต้อง บรรยาย รายละเอียด มาก กว่า นี้ ไม่ เพราะจำเลย ทั้ง สอง จะ ร่วมกัน กระทำการ อย่างไร อันเป็น การ เสียหาย แก่ โจทก์นั้น เป็น เพียง รายละเอียด ที่ โจทก์ นำสืบ ใน ชั้นพิจารณา ได้ ฟ้องโจทก์จึง ไม่ เคลือบคลุม
ปัญหา ประการ สุดท้าย ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ศาลล่าง ทั้ง สองพิพากษา เกินคำขอ เพราะ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ชื่อ จำเลย ที่ 2ออกจาก ทะเบียนรถยนต์ พิพาท แล้ว ใส่ ชื่อ โจทก์ แทน เท่านั้น ไม่ได้ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 2 ไป กระทำการ ยื่น คำร้องขอ ใด ๆ เพื่อ ขอ ถอน ชื่อจำเลย ที่ 2 ออกจาก ทะเบียนรถยนต์ พิพาท แล้ว ใส่ ชื่อ โจทก์ ลง ไป แทนพิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ตาม คำฟ้อง และ คำขอ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ก็ เพื่อต้องการ ให้ ศาล บังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 ถอน ชื่อ ออกจาก ทะเบียนรถยนต์ พิพาทย่อม มี ความหมาย อยู่ ใน ตัว ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง ไป ดำเนินการ เพื่อให้ ถอน ชื่อ ของ จำเลย ที่ 2 ออกจาก ทะเบียนรถยนต์ พิพาท เสีย ก่อนมิฉะนั้น โจทก์ ก็ ไม่อาจ ให้ นายทะเบียน ดำเนินการ ใส่ ชื่อ โจทก์ลง ไป แทน ดังนั้น ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง บังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 ไป ดำเนินการถอน ชื่อ ออกจาก ทะเบียนรถยนต์ พิพาท แล้ว ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ แทนจึง เป็น การ ถูกต้อง เพราะ ถ้าหาก จำเลย ที่ 2 ไม่ปฏิบัติ ตาม ก็ จะ ได้ ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย ที่ 2 เป็น กรณีที่ ให้ คำพิพากษา และ คำขอบังคับ สามารถ มีผล ใช้ บังคับ ได้ จึง ไม่ใช่กรณี พิพากษา เกินคำขอ ของ โจทก์ ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ”
พิพากษายืน

Share