คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสองที่กล่าวว่า’จะนำสืบการใช้เงินได้’หาได้บัญญัติบังคับเฉพาะเจาะจงเฉพาะนำสืบการใช้ต้นเงินทั้งหมดไม่ดังนั้นถ้ามีการชำระต้นเงินเพียงบางส่วนผู้ยืมจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นและหากมีการชำระต้นเงินทั้งหมดผู้ยืมจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้น.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2518 กู้ เงิน โจทก์ 100,000 บาท สัญญา จะ ชำระ ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ตาม กฎหมาย และ จะ ชดใช้ คืนภายใน วันที่ 3 มิถุนายน 2522 โดย จำเลย ที่ 2 ค้ำประกัน จำเลย ได้ รับเงิน กู้ ไป แล้ว ไม่ เคย ชำระ เงินต้น และ ดอกเบี้ย เมื่อ ทนาย โจทก์ทวงถาม จำเลย ได้ ชำระ หนี้ ให้ 30,000 บาท แล้ว ขอ ลด หย่อน หนี้แต่ โจทก์ ไม่ ยินยอม จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง ชำระ เงิน 100,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ถึง วันที่ 26 เมษายน 2525เป็น เงิน 110,000 บาท หัก เงิน ที่ ชำระ แล้ว 30,000 บาท คง ค้างดอกเบี้ย 80,000 บาท และ ดอกเบี้ย จาก วันที่ 26 เมษายน 2525 ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 1,250 บาท รวม เป็น เงิน 181,250 บาท ขอ ให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ เงิน ดังกล่าว แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 100,000 บาท นับ แต่ วัน ฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 กู้เงิน ของ โจทก์ ตาม ฟ้องโดย จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ ค้ำประกัน แต่ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 2 ต่อ เดือน จำเลย ได้ ชำระ ดอกเบี้ย พ.ศ. 2518 ถึง 2521 เป็นจำนวน ปีละ 24,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ แล้ว และ ยัง ได้ ชำระ ต้นเงินและ ดอกเบี้ย อีก คือ พ.ศ. 2521 ต้นเงิน 4,000 บาท พ.ศ. 2522 ต้นเงิน35,000 บาท ดอกเบี้ย 19,320 บาท พ.ศ. 2523 ต้นเงิน 11,000 บาท ดอกเบี้ย14,420 บาท พ.ศ. 2524 ดอกเบี้ย 10,000 บาท พ.ศ. 2525 ต้นเงิน 30,000บาท จำเลย คง ค้าง ชำระ ต้นเงิน 20,000 บาท การ ที่ โจทก์ ฟ้อง เรียกต้นเงิน 100,000 บาท เป็น การ ใช้ สิทธิ โดย ไม่ สุจริต และ คิดดอกเบี้ย ร้อยละ สอง ต่อ เดือน เป็น การ ต้องห้าม ตาม พระราชบัญญัติห้าม เรียก ดอกเบี้ย เกิน อัตรา พ.ศ. 2475 จึง ไม่ มี สิทธิ ฟ้องเรียก ดอกเบี้ย จาก จำเลย ขอ ให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่น คำให้การ และ ขาดนัด พิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2518 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เงิน เสร็จ ให้ แก่โจทก์ โดย ให้ หัก เงิน 30,000 บาท ที่ โจทก์ ได้ รับ ชำระ แล้ว เป็นค่า ดอกเบี้ย ก่อน ถ้า เงิน จำนวน นี้ ล้ำ จำนวน ดอกเบี้ย แล้ว จึงให้ หัก ใช้ ต้นเงิน ต่อไป ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่ ชำระ ให้ จำเลย ที่ 2ชำระ แทน จน ครบ
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 1 ข้อ แรก ว่าการ ใช้ ต้นเงิน ที่ กู้ยืม เพียง บางส่วน นั้น ต้อง อยู่ ใน บังคับของ บท บัญญัติ มาตรา 653 วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง บัญญัติ ว่า’ใน การ กู้ยืม เงิน มี หลักฐาน เป็น หนังสือ นั้น ท่าน ว่า จะ นำสืบการ ใช้ เงิน ได้ ต่อเมื่อ มี หลักฐาน เป็น หนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่งลง ลายมือชื่อ ผู้ ให้ ยืม มา แสดง หรือ เอกสาร อัน เป็น หลักฐาน แห่งการ กู้ยืม นั้น ได้ เวนคืน แล้ว หรือ ได้ แทง เพิกถอน ลง ใน เอกสารนั้น แล้ว’ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่า บท บัญญัติ มาตรา นี้ หมายถึง การใช้ เงิน กู้ ทั้งหมด หา ใช่ เป็น กรณี ที่ มี การ ผ่อน ชำระ หนี้ แต่เพียง บางส่วน ไม่ ไม่ เช่นนั้น คง จะ ไม่ มี ข้อความ ว่า ‘หรือ เอกสารอัน เป็น หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม นั้น ได้ เวนคืน แล้ว หรือ ได้ แทงเพิกถอน ลง ใน เอกสาร นั้น แล้ว’ จำเลย ที่ 1 จึง นำสืบ การ ชำระ หนี้เงินกู้ บางส่วน แก่ โจทก์ ด้วย เอกสาร อื่น และ พยาน บุคคล ได้ศาลฎีกา เห็น ว่า บท บัญญัติ ดังกล่าว ที่ ว่า ‘จะ นำ สืบ การ ใช้เงิน ได้’ หา ได้ บัญญัติ บังคับ เฉพาะ จะ นำสืบ การ ใช้ ต้นเงินทั้งหมด ดัง ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ไม่ ดังนั้น ถ้า มี การ ชำระ ต้นเงินเพียง บางส่วน ผู้ยืม จะ นำสืบ การ ใช้ เงิน ได้ ต่อ เมื่อ มี หลักฐานเป็น หนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ ให้ ยืม มา แสดงหรือ ได้ แทง เพิกถอน ลง ใน เอกสาร นั้น และ หาก มี การ ชำระ ต้นเงินทั้งหมด ผู้ยืม จะ นำ สืบ การ ใช้ เงิน ได้ ต่อเมื่อ มี หลักฐาน เป็นหนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่ง ลง ลายมือชื่อ ผู้ ให้ ยืม มา แสดง หรือเอกสาร อัน เป็น หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืม นั้น ได้ เวนคืน แล้ว หรือได้ แทง เพิกถอน ลง ใน เอกสาร นั้น
ส่วน ปัญหา เรื่อง ดอกเบี้ย ซึ่ง จำเลย ฎีกา โต้เถียง ว่า ไม่ เคยค้าง ชำระ นั้น ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ที่ 1 รับ ฟัง ไม่ ได้ ว่า จำเลย ได้ ชำระ ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ แล้ว
พิพากษา ยืน.

Share