คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ใช้ให้นาย ว. กระทำความผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 335, 357 ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา ทรัพย์ ที่ ยัง ไม่ได้คืน เป็น เงิน 59,700 บาท แก่ ผู้เสียหาย
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ใช้ ให้ ผู้อื่นกระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(8)ประกอบ มาตรา 84 จำเลย อายุ ไม่เกิน 17 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 คง จำคุก 1 ปี 6 เดือนปรับ 3,000 บาท เนื่องจาก จำเลย ยัง เป็น นักเรียน เห็นสมควร ให้ จำเลยมี โอกาส ได้ เล่าเรียน และ กลับ ตน เป็น คนดี โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษไว้ 2 ปี ให้ รายงาน ตัว ต่อ พนักงานคุมประพฤติ ทุก 3 เดือน ต่อ 1 ครั้งหาก ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ กักขัง แทน ให้ จำเลย คืน หรือ ใช้ ราคา พระเครื่องเลี่ยม ทองคำ เป็น เงิน 38,700 บาท แก่ ผู้เสียหาย คำขอ นอกจาก นี้ให้ยก ยกฟ้อง ฐาน รับของโจร
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พยานหลักฐาน โจทก์ ที่ สืบ มา ฟัง ไม่ได้ ว่าจำเลย เป็น ผู้ใช้ ให้ นาย วีรวัฒน์ กระทำผิด ฐาน ลักทรัพย์ ของ ผู้เสียหาย แต่ จำเลย ได้ ช่วย จำหน่าย พระเครื่อง เลี่ยม ทองคำ โดย รู้ อยู่ ว่า เป็นทรัพย์ ซึ่ง ได้ มาจาก การกระทำ ความผิด การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็นความผิด ฐาน รับของโจร มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ประการ สุดท้าย ว่า ศาลฎีกาจะ พิพากษา ลงโทษ จำเลย ฐาน รับของโจร ได้ หรือไม่ ปัญหา ดังกล่าว ศาลฎีกาโดย มติ ที่ ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้ ข้อเท็จจริง ที่ ปรากฏ ใน การ พิจารณา จะต่างกัน ระหว่าง การกระทำ ความผิด ฐาน ลักทรัพย์ และ รับของโจรก็ ไม่ ถือว่า ต่างกัน ใน ข้อ สาระสำคัญ และ จำเลย ก็ มิได้ หลงต่อสู้ทั้ง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว ศาลล่าง ทั้ง สอง ก็ ได้ ยกขึ้น ว่ากล่าว กันมา แล้ว เพียงแต่ ปรับ บท ฐาน ความผิด ต่างกัน เท่านั้น ศาลฎีกา มีอำนาจลงโทษ จำเลย ใน ความผิด ฐาน รับของโจร ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ได้ความ ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ ถือว่าพิพากษา เกินคำขอ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายก ฟ้อง นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย
พิพากษากลับ ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน รับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง จำเลย อายุ ไม่เกิน17 ปี ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75ให้ จำคุก 9 เดือน คำเบิกความ ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณาอยู่ บ้าง มีเหตุ บรรเทา โทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78ลดโทษ ให้ อีก หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 6 เดือน จำเลย เป็น นักเรียนและ ไม่ปรากฏ ว่า เคย ได้รับ โทษ จำคุก มา ก่อน อีก ทั้ง จำเลย ไม่ได้ประโยชน์ จาก การกระทำ ความผิด เห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลย ได้ กลับประพฤติ ตน เป็น คนดี ต่อไป จึง ให้ รอการลงโทษ จำคุก ให้ แก่ จำเลย ไว้ มี กำหนด2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ข้อหา และ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก

Share