คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่าเรือลำเลียงที่จำเลยที่1ใช้ขนส่งจอดอยู่ที่ท่ากำลังบรรทุกสินค้ามีคลื่นจากเรืออื่นมาทำให้เรือลำเลียงนั้นโคลงและล่มลงเมื่อไม่ปรากฏว่าคลื่นนั้นมีความร้ายแรงผิดปกติจนไม่อาจคาดหมายหรือไม่อาจป้องกันมิให้เรือลำเลียงล่มได้จำเลยที่1ย่อมคาดหมายได้ว่าจะมีคลื่นมากระทบเรือลำเลียงและอาจมีการระมัดระวังมิให้เรือลำเลียงล่มเพราะถูกคลื่นกระทบได้การที่เรือล่มจึงไม่ใช่ผลบังคับที่ไม่อาจป้องกันได้และมิใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1จึงต้องรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ รับ ประกันภัย การ ขนส่ง นมข้น กระป๋อง ของบริษัท อุตสาหกรรมนม พระนคร จำกัด ด้วย วิธี การ ขนส่ง ทาง ทะเล จำเลยที่ 1 ได้ รับจ้าง บริษัท อุตสาหกรรมนม พระนคร จำกัด ขนส่ง นมข้นกระป๋อง ที่ โจทก์ รับประกันภัย ไว้ จาก บริษัท อุตสาหกรรมนม พระนครจำกัด ตำบล บางหญ้าแพรก อำเภอ พระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ โดย เรือลำเลียง เพื่อ นำ ไป ส่งมอบ ให้ แก่ เรือ เดินทะเล ซึ่ง จอด ขนถ่ายสินค้า ที่ โกดัง ริมแม่น้ำ เจ้าพระยา อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้แทน จำเลย ที่ 1 และ ใน ฐานะส่วนตัว รับช่วง ขนส่ง สินค้า จาก จำเลย ที่ 1 ได้ เช่า เรือ ลำเลียงจาก เจ้าของ เรือ ไป รับ ขนส่ง นม กระป๋อง ดังกล่าว จำเลย ที่ 3 เป็นลูกจ้าง จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ควบคุม เรือ จำเลย ที่ 3 ได้ กระทำ การโดย ประมาท เลินเล่อ โดย ได้ รับ มอบ นมข้น กระป๋อง จำนวน หนึ่ง มาบรรทุก ใน เรือ ได้ นำ หีบ นมข้น กระป๋อง ที่ บรรจุ ใน กระบะ ไม้ ลงบรรทุก ใน ระวาง ใต้ ท้องเรือ และ นำ หีบ นมข้น กระป๋อง ที่ ไม่ ได้ ใส่กระบะ ไม้ บรรทุก ไว้ พื้นเรือ ตอนบน โดย ไม่ มี เชือก ผูก ยึด ให้ แน่น เมื่อ มี คลื่น เกิดจาก เรือ แล่น ผ่าน ทำ ให้ เรือ โคลง ทำ ให้ หีบนมข้น กระป๋อง ที่ ไม่ ได้ ใส่ กระบะ ไม้ เลื่อน ไป ทาง ด้าน ที่ เรือเอียง ด้านเดียว เรือ เสีย การ ทรงตัว กราบเรือ ต่ำกว่า ระดับ น้ำน้ำ เข้า เรือ ทำ ให้ เรือ จม ลง นม จำนวน หนึ่ง ได้ รับ ความ เสียหายจำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใน ฐานะ เป็น ผู้ รับจ้าง ขน สินค้า และนายจ้าง จำเลย ที่ 3 จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ใน ฐานะ รับช่วง การ ขนส่งสินค้า จาก จำเลย ที่ 1 โจทก์ ได้ ชำระ ค่าเสียหาย ตาม สัญญา ประกันภัยเป็น เงิน 1,970,102.98 บาท แล้ว จึง รับช่วง สิทธิ มา ฟ้อง บังคับให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า การ ที่ เรือ ลำเลียง ล่ม เกิดจาก ถูกคลื่น เรือ ใหญ่ การ บรรทุก นม ได้ จัด เรียง แน่น และ ไม่ เกินน้ำหนัก บรรทุก ของ เรือ เรือ ลำเลียง ล่ม ขณะ จอด อยู่ และ อยู่ ในความ รับผิด ชอบ ของ ผู้ ว่าจ้าง จำเลย ที่ 3 ไม่ ได้ คุมเรือ และประมาท ดัง ฟ้อง โจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิด เป็น ส่วนตัว นั้นไม่ ชอบ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย1,868,102.98 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 3 ไม่ ได้ ประมาท เลินเล่อ จำเลย ที่ 2 ไม่ ได้ รับ ช่วง งาน จาก จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้ง สองไม่ ต้อง รับผิด คง วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย สำหรับ จำเลย ที่ 1 ว่าโจทก์ ฟ้อง ให้ จำเลย ที่ 1 รับผิด ใน ฐานะ ผู้ ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิด ใน การที่ นมข้น กระป๋อง ของ บริษัท อุตสาหกรรมนม พระนคร จำกัด สูญหาย หรือบุบสลาย เว้นแต่ จะ พิสูจน์ ได้ ว่า การ สูญหาย หรือ บุบสลาย นั้นเกิด แต่ เหตุ สุดวิสัย เมื่อ ไม่ ปรากฏ ว่า คลื่น ที่ ทำ ให้ เรือลำเลียง ล่ม นั้น มี ความ ร้ายแรง ผิด ปกติ จน ไม่ อาจ คาดหมาย หรือไม่อาจ ป้องกัน มิให้ เรือ ลำเลียง ล่ม ได้ จำเลย ที่ 1 ย่อม คาดหมาย ได้ว่า จะ มี คลื่น มา กระทบ เรือ ลำเลียง และ อาจ มี การ ระมัด ระวังมิให้ เรือ ลำเลียง ล่ม เพราะ ถูก คลื่น กระทบ ได้ การ ที่ เรือ ลำเลียงล่ม เพราะ โดน คลื่น นี้ จึง ไม่ ใช่ ผล บังคับ ที่ ไม่ อาจ ป้องกันได้ การ ที่ เรือ ลำเลียง ล่ม ลง หา ใช่ เกิดจาก เหตุ สุดวิสัย ไม่จำเลย ที่ 1 จึง ไม่ พ้น ความ รับผิด
พิพากษา แก้ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้ จำเลยที่ 1 คง รับผิด ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ แต่ ผู้เดียว.

Share