แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
แม้จำเลยกับผู้ตายจะเป็นสามีภรรยากันผู้ตายก็ไม่มีอำนาจอันชอบธรรมที่จะทำร้ายจำเลยฉะนั้นเมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุด่าและตบเตะทำร้ายจำเลยก่อนจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นการประทุษร้ายจำเลยฝ่ายเดียวจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตัวได้ดังนั้นการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายดังกล่าวเพื่อยับยั้งผู้ตายมิให้ทำร้ายจำเลยอีกจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้นจากการถูกทำร้ายแต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ตบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธแต่อย่างใดการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายหลายครั้งจนปรากฏบาดแผลที่ตัวผู้ตายถึง5แผลเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายถือได้ว่าจำเลยได้กระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ใช้ มีดปลายแหลม เป็น อาวุธ แทง ทำร้ายร่างกาย นาย เพยาว์ หรือ พะเยาว์ หลายครั้ง เป็น เหตุ ให้ นาย เพยาว์ถึงแก่ความตาย ขอ ให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
จำเลย ให้การ รับ ว่า ได้ ใช้ มีด แทง ผู้ตาย จริง แต่ ได้ กระทำ ไปเพราะ ผู้ตาย ได้ ด่า ว่า จำเลย ด้วย คำหยาบ ชกต่อย ตบตี จำเลยหลายครั้ง จำเลย กระทำ โดย บันดาล โทสะ และ จำต้อง ใช้ มีด แทง ผู้ตายเพื่อ ป้องกันตัว
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า จำเลย ใช้ มีด แทง ผู้ตาย โดยเจตนาฆ่า การ กระทำ ของ จำเลย ไม่ เป็น การ ป้องกัน แต่ เป็น การ กระทำโดย บันดาลโทสะ พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบ กับ มาตรา 72 ให้ จำคุก จำเลย 5 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิจารณา แล้ว เห็น ว่า จำเลย กระทำ โดย บันดาล โทสะ แต่โทษ ที่ ศาลชั้นต้น ลง มา นั้น หนัก เกิน ไป พิพากษา แก้ เป็น ว่าให้ จำคุก จำเลย มี กำหนด 2 ปี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า จำเลย ฎีกา เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า จำเลย แทงผู้ตาย เพราะ ผู้ตาย ด่า และ ตบเตะ จำเลย ก่อน จน จำเลย ได้ รับ อันตรายแก่กาย การ กระทำ ของ จำเลย เป็น การ ป้องกัน พอสมควร แก่ เหตุ จำเลยจึง ไม่ มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ใน การ วินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟังข้อเท็จจริง มา ว่า จำเลย ใช้ มีดปลายแหลม แทง ผู้ตาย หลายที โดย มีเจตนา ฆ่า แต่ จำเลย ทำร้าย ผู้ตาย เพราะ ถูก ผู้ตาย ด่า และ ตบเตะจำเลย ก่อน จน จำเลย ได้ รับ อันตราย แก่ กาย ผู้ตาย กระทำ ไป เพราะความ มึนเมา และ ไม่ ได้ ใช้ อาวุธ แต่ ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ฟังมา นั้น ไม่ พอ แก่ การ วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ศาลฎีกา เห็นควร ฟัง ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน เพิ่มเติมซึ่ง ได้ความ จาก พยาน โจทก์ ว่า จำเลย กับ ผู้ตาย เป็น สามี ภริยา กันผู้ตาย ชอบ ดื่ม สุรา จน มึนเมา และ ทุบตี ทำร้าย ร่างกาย จำเลย เป็นประจำ วัน เกิดเหตุ จำเลย กับ ผู้ตาย นัดกัน ไป จด ทะเบียน หย่า ณที่ว่าการ เขต บางกะปิ จำเลย ไป รอ ผู้ตาย ตาม นัด แต่ ผู้ตาย ผิดนัดเมื่อ ผู้ตาย มา ถึง ที่ว่าการ เขต บางกะปิ จำเลย ต่อว่า ผู้ตาย ผู้ตายจึง ด่า และ ตบเตะ จำเลย จำเลย จึง ใช้ มีดปลายแหลม แทง ผู้ตาย หลายครั้ง พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า แม้ จำเลย กับ ผู้ตาย จะ เป็น สามี ภริยากัน ผู้ตาย ก็ ไม่ มี อำนาจ อัน ชอบธรรม ที่ จะ ทำร้าย จำเลย ฉะนั้นเมื่อ ผู้ตาย เป็น ผู้ ก่อเหตุ ด่า และ ตบเตะ ทำร้าย จำเลย ก่อน จนเป็น เหตุ ให้ จำเลย ได้ รับ อันตราย แก่ กาย อัน เป็น การ ประทุษร้ายจำเลย ฝ่ายเดียว จำเลย ย่อม มี สิทธิ ที่ จะ ป้องกัน ตัว ได้ ดังนั้นการ ที่ จำเลย ใช้ มีด แทง ผู้ตาย ดังกล่าว เพื่อ ยับยั้ง ผู้ตาย มิให้ทำร้าย จำเลย อีก จึง เป็น การ กระทำ เพื่อ ป้องกัน สิทธิ ของ ตน ให้พ้น จาก การ ถูก ทำร้าย แต่ ขณะ เกิดเหตุ ผู้ตาย เพียงแต่ ตบเตะ จำเลยโดย ไม่ มี อาวุธ แต่ อย่างใด การ ที่ จำเลย ใช้ มีดปลายแหลม แทงผู้ตาย หลายครั้ง จน ปรากฏ บาดแผล ที่ ตัว ผู้ตาย ถึง 5 แผล คือ ที่ลำตัว ข้าง ซ้าย หน้าอก ข้าง ซ้าย บริเวณ ลิ้นปี่ เอว ข้าง ซ้าย และหลัง ข้าง ขวา คม มีด ทะลุ เข้า ช่องท้อง ถูก ตับ ตับ อ่อน กระเพาะอาหาร และ ไต ซึ่ง เป็น อวัยวะ สำคัญ เป็น เหตุ ให้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย ถือ ได้ ว่า จำเลย ได้ กระทำ เกินกว่า กรณี แห่ง การจำต้อง กระทำ เพื่อ ป้องกัน การ กระทำ ของ จำเลย ย่อม เป็น ความผิด ฐานฆ่า คน ตาย โดย เจตนา เพื่อ ป้องกัน เกิน สมควร แก่ เหตุ ที่ ศาลล่างทั้ง สอง วินิจฉัย ว่า การ กระทำ ของ จำเลย ไม่ เป็น การ ป้องกัน แต่เป็น การ กระทำ โดย บันดาล โทสะ นั้น ไม่ ต้อง ด้วย ความ เห็น ของศาลฎีกา จำเลย ฟัง ขึ้น บาง ส่วน
พิพากษา แก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ กับ มาตรา 68, 69 ให้ จำคุก 2 ปี เมื่อ พิเคราะห์ พฤติการณ์แห่ง คดี ประกอบ กับ ไม่ ปรากฏ ว่า จำเลย ได้ รับ โทษ จำคุก มา ก่อนจึง ให้ รอ การ ลงโทษ จำเลย ไว้ มี กำหนด 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56