คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1ที่2ที่3ไปที่ร้านซึ่งผู้ตายเป็นลูกจ้างขายอาหารต่อมาผู้ตายกับจำเลยที่2โต้เถียงวิวาทกันประจักษ์พยานโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามใช้ไม้กับเหล็กแป๊บน้ำตีผู้ตายแต่ตามรายงานการชันสูตรพลิกศพมีว่าศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงไม่ปรากฏบาดแผลตามตัวอีกคงมีแต่บาดแผลที่ศีรษะเท่านั้นซึ่งจำเลยที่2ให้การว่าใช้เหล็กแป๊บน้ำตีผู้ตายดังนี้จำเลยที่1จึงมิได้ร่วมฆ่าผู้ตายด้วย.(ที่มา-เนติฯ)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบ ด้วย มาตรา 83 จำคุก จำเลย ที่ 1ที่ 2 คนละ 15 ปี จำเลย ที่ 3 อายุ 17 ปี ลดมาตราส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง จำคุก 7 ปี 6 เดือน จำเลย ทั้ง สาม ให้การ รับสารภาพ ใน ชั้น จับกุมลดโทษ ให้ คนละ 1 ใน 4 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 ที่ 2 คนละ 11 ปี 3 เดือนจำเลย ที่ 3 5 ปี 7 เดือน 15 วัน ริบ ของกลาง ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืนจำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ เป็น ยุติ ว่าวัน เกิดเหตุ เวลา ประมาณ 23.30 นาฬิกา จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ไป ที่ ร้าน กาแฟ ของ นาย บัณฑิต ไตรทอง ซึ่ง เป็น ร้าน 2 ชั้น ขายอาหาร และ เครื่องดื่ม จำเลย ทั้ง สาม เข้า ไป นั่ง อยู่ ชั้น ล่าง ของร้าน ซึ่ง มี เครื่องเล่น แผ่นเสียง ตั้ง อยู่ 1 เครื่อง และ มีนาย สมศักดิ์ ผู้ตาย เป็น ลูกจ้าง ของ นาย บัณฑิต ทำ หน้าที่ ขาย อาหารอยู่ ชั้นล่าง ต่อมา ผู้ตาย กับ จำเลย ที่ 2 โต้เถียง วิวาท กัน และผู้ตาย ถูก ทำร้าย และ ถึงแก่ความตาย ใน วัน เกิดเหตุ บาดแผล ปรากฏตาม รายงาน ชันสูตร พลิกศพ ท้าย ฟ้อง ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของจำเลย ที่ 1 มี ว่า จำเลย ที่ 1 ร่วม กับ จำเลย ที่ 2 ที่ 3 กระทำ ผิดตาม ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ มี นาย สามารถ จิตรสมพงษ์ เป็น ประจักษ์ พยานเพียง คนเดียว เบิกความ ว่า ขณะ ที่ พยาน กำลัง บริการ อาหาร อยู่ ในร้าน ชั้นบน (ซึ่ง อยู่ ระดับ เดียว กับ ถนน) เห็น จำเลย ทั้ง สามวิ่งไล่ ผู้ตาย มา ทาง หน้า ร้าน เมื่อ ถึง หน้า ร้าน จำเลย ทั้ง สามใช้ ไม้ กับ เหล็ก แป๊บน้ำ ตี ผู้ตาย ซึ่ง ไม่ มี อาวุธ อะไร พยาน เข้าไป ห้าม จำเลย ทั้ง สาม ไม่ ฟัง รุม ตี ผู้ตาย อยู่ ประมาณ 10 นาทีจน กระทั่ง ผู้ตาย ล้ม ลง จำเลย ทั้ง สาม จึง พา กัน วิ่ง หนี้ ทั้งไม้ และ เหล็ก แป๊บ น้ำ ที่ ใช้ ตี ผู้ตาย ไว้ ใกล้ ผู้ตาย ผู้ตายหมด สติ พยาน เข้า ไป ยก ตัว ผู้ตาย ขึ้น มี โลหิต ออก ที่ ศีรษะ และเสื้อผ้า ก็ มี โลหิต เปื้อน พยาน พา ผู้ตาย ไป โรงพยาบาล เหตุ ที่พยาน เห็น เหตุการณ์ เนื่องจาก ทำงาน ที่ ร้าน ที่ เกิดเหตุ แต่ ตามคำเบิกความ ตอบคำถาม ค้าน พยาน ทำงาน ผลัด กลางวัน ใน ผลัด ที่ ไม่ทำงาน จะ อยู่ ที่ ร้าน เพราะ นอน ที่ ร้าน นาย บัณฑิต ไตรทอง พยานโจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ ร้าน ที่ เกิดเหตุ เบิกความ ตอบ คำถาม ค้านว่า ลูกจ้าง เมื่อ เลิกงาน แล้ว จะ กลับนอน ที่ บ้าน ซึ่ง อยู่ ต่างหากจาก ร้าน ที่ เกิดเหตุ ที่ นาย สามารถ พยาน โจทก์ อ้าง ว่า ช่วย ทำงานนี้ ที่ ร้าน ทั้ง ที่ ไม่ ใช่ ผลัด ของ พยาน เนื่องจาก นอน ที่ ร้านจึง ขัด กับ คำเบิกความ ของ นาย บัณฑิต และ ตาม คำให้การ ชั้น สอบสวนของ นาย เล็ก ใบมีเด็น ได้ ความ ว่า นาย เล็ก เป็น ผู้ห้าม แต่ ไม่ ได้ผล จึง เข้า ไป ใน ร้าน บอก นาย สามารถ ทราบ นาย สามารถ รีบ ออก มา ที่หน้าร้าน และ พา ผู้ตาย ไป โรงพยาบาล ดังนั้น ที่ นาย สามารถ พยานเบิกความ ว่า เป็น ผู้ห้าม และ อยู่ ที่ ผู้ตาย ถูก ทำร้าย จน พวก จำเลยหลบหนี ไป จึง ขัด กับ คำให้การ ของ นาย เล็ก ตาม คำเบิกความ ของ นายบัณฑิต พยาน โจทก์ ยัง ได้ความ อีก ว่า พบ นาย สามารถ พยาน ที่โรงพยาบาล นาย สามารถ ไม่ ได้ เล่า อะไร ให้ ฟัง ทั้ง ที่ นาย บัณฑิตเป็น เจ้าของ ร้าน ที่ เกิดเหตุ และ เป็น นายจ้าง ประการ ที่ สำคัญนาย สามารถ พยาน ยืนยัน ว่า ผู้ตาย ถูก รุมตี ด้วย เหล็ก แป๊บน้ำและ ไม้ อยู่ ราว 10 นาที ลักษณะ เช่นนี้ ผู้ตาย ย่อม มี บาดแผล อยู่ทั่วไป แต่ ตาม รายงาน การ ชันสูตร พลิกศพ ใน ข้อ สภาพ ของ ศพ มีข้อความ ว่า ศีรษะ ได้ รับ ความ กระทบ กระเทือน อย่าง แรง และ นายแพทย์ไพโรจน์ เกษมศักดิ์พงษ์ ร้อยตำรวจโท ประเสริฐ บุญศรี พนักงานสอบสวนผู้ทำการ ชันสูตร พลิกศพ มิได้ เบิกความ ยืนยัน ว่า นอกจาก บาดแผล ที่ศีรษะ แล้ว ยัง มี บาดแผล ตาม ตัว อีก จึง ต้อง ฟัง ว่า ผู้ตาย มีบาดแผล ที่ ศีรษะ เท่านั้น คำเบิกความ ของ นาย สามารถ พยานโจทก์ และคำให้การ ของ นาย เล็ก ชั้น สอบสวน ที่ ว่า ผู้ตาย ถูก รุม ตี อยู่ประมาณ 10 นาที จึง ขัด กับ ลักษณะ ของ บาดแผล ที่ ตัว ผู้ตาย ซึ่ง ไม่อาจ เปลี่ยนแปลง ได้ พยาน หลักฐาน ของ โจทก์ จึง ไม่ มี น้ำหนัก ให้รับ ฟัง ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ ร่วม กระทำ ความผิด ตาม ฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ลงโทษ จำเลย ที่ 1 ไม่ ต้อง ด้วย ความเห็น ของศาลฎีกา ฎีกา ของ จำเลย ฟัง ขึ้น’
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1 นอกจาก ที่แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share