แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
สัญญาจ้างเหมามีความว่าเมื่อผู้ว่าจ้างเห็นว่าหากให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใดๆจากผู้ว่าจ้างทั้งสิ้นนั้นหมายถึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาเท่านั้นแต่ผู้รับจ้างหาสิ้นสิทธิได้รับการใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานที่ทำเพื่อกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมในกรณีอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391ไม่. ค่าแห่งการงานตามมาตรา391นั้นไม่จำต้องตีราคางานตรงตามงวดที่ระบุไว้ในสัญญา.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ผิด สัญญา จ้าง ปลูกสร้าง อาคาร บ้านพัก ขอ ให้ใช้ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 1,348,400 บาท พร้อม ดอกเบี้ย จำเลย ให้การและ ฟ้องแย้ง ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา ขอ ให้ ใช้ ค่าเสียหาย เป็นเงิน 250,597 บาท พร้อม ดอกเบี้ย โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลยเป็น ฝ่าย ผิด สัญญา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ และ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ใช้ เงิน 300,000บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา และ วินิจฉัยข้อกฎหมาย ว่า ‘การ ที่ สัญญา จ้างเหมา เอกสาร หมาย จ.2 ข้อ 7 มี ความว่า เมื่อ ผู้ ว่าจ้าง เห็น ว่า หาก ให้ ผู้ รับจ้าง ดำเนินการ ต่อไปอาจ เกิด ความเสียหาย แก่ ผู้ ว่าจ้าง ผู้ ว่าจ้าง มี สิทธิ บอก เลิกสัญญา เสีย ได้ โดย ผู้ รับจ้าง ไม่ มี สิทธิ เรียกร้อง ค่า เสียหายหรือ ค่า ทดแทน ใดๆ จาก ผู้ ว่าจ้าง ทั้งสิ้น นั้น หมายถึง ไม่ มี สิทธิเรียกร้อง ค่า เสียหาย หรือ ค่า ทดแทน เนื่องจาก การ บอก เลิก สัญญาเท่านั้น แต่ ผู้ รับจ้าง หา สิ้น สิทธิ ได้ รับ การ ใช้ เงิน ตาม ควรค่า แห่ง การงาน ที่ ทำ เพื่อ กลับ คืน สู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม ใน กรณี อีก ฝ่าย หนึ่ง ใช้ สิทธิ เลิก สัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ไม่ กรณี เช่นนี้ ไม่ จำเป็น ต้องตีราคา งาน ตรง ตาม งวด ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา หรือ ราคา ตาม ความ ตกลงเพิ่มเติม แต่ อย่างใด ได้ ความ ว่า โจทก์ ว่าจ้าง จำเลย เป็น ค่าจ้างทั้งสิ้น 970,000 บาท แบ่ง งวด งาน เป็น 4 งวด โจทก์ ชำระ ค่าจ้าง ให้จำเลย แล้ว 3 งวด รวม เป็น เงิน 535,000 บาท คง เหลือ 2 งวด เป็น เงิน435,000 บาท นาย กิตติคุณ วิเศษสมบัติ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท จำเลยเอง เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ว่า งาน ที่ เหลือ เมื่อ หา ผู้ รับเหมาคนกลาง มา ปรากฏ ว่า ผู้ รับเหมา นั้น จะ ทำงาน ต่อไป ได้ ใน วงเงิน500,000 บาท แต่ นาย ชาญณรงค์ ผู้ ควบคุม งาน ของ โจทก์ ยืนยัน จะ ให้ช่าง ที่ ตีราคา เจ็ดแสน บาท เศษ เป็น ผู้ทำ ดังนี้ เห็น ได้ ว่าค่าจ้าง ทำงาน ที่ เหลือ สูงกว่า จำนวน ค่าจ้าง ที่ ยัง มิได้ จ่าย หรืออีก นัยหนึ่ง การ งาน ที่ จำเลย ก่อสร้าง ไว้ มี ค่า น้อยกว่า 535,000บาท อัน เป็น จำนวน เงิน ที่ จำเลย รับ ไป แล้ว นั่นเอง จึง ไม่ มีค่า แห่ง การงาน ที่ จำเลย จะ เรียกร้อง จาก โจทก์ อีก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า เมื่อ จำเลย เป็น ฝ่าย ผิด สัญญา จำเลย ไม่ มี สิทธิฟ้องแย้ง เรียก ค่า เสียหาย หรือ ค่า ทดแทน ใดๆ จาก โจทก์ ตาม สัญญาเอกสาร หมาย จ.2 ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ ขึ้น เช่นเดียว กัน’
พิพากษา ยืน