คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่จำเลยที่1สร้างสะพานลอยลงบนทางเดินเท้าหน้าที่ดินของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยที่ดินแปลงนี้โจทก์ซื้อมาเป็นเวลาเกือบ20ปีและไม่ได้ปรับปรุงพัฒนาใช้ประโยชน์แต่อย่างใดคงปล่อยให้มีสภาพเป็นที่ว่างเปล่ามีต้นไม้และวัชชพืชขึ้นปกคลุมโครงสร้างอาคารตึกแถวที่ทิ้งร้างไว้ตั้งแต่ตอนโจทก์ซื้อมาทั้งๆที่บริเวณดังกล่าวเป็นย่านธุรกิจการค้าแวดล้อมไปด้วยอาคารพาณิชย์นอกจากนี้จำเลยที่1ยังได้กำหนดโครงสร้างของบันไดสะพานในหน้าที่ดินของโจทก์เป็นบันไดพับเพื่อมิให้ติดขัดในการเข้าออกที่ดินของโจทก์อันเป็นการแสดงว่าจำเลยที่1ได้พยายามให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่โจทก์น้อยที่สุดจึงถือว่าโจทก์มิได้รับความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษอันที่จะห้ามมิให้จำเลยที่1กับพวกงดเว้นการก่อสร้างสะพานดังกล่าวได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ศาล พิพากษา บังคับ ให้ จำเลย งดเว้น การ ก่อสร้างสะพานลอย หน้า ที่ดิน โจทก์ ให้ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ที่ ได้ ทำ ไปแล้ว และ ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ด้วย อ้างว่า การ กระทำของ จำเลย เป็น การ เดือดร้อน เสียหาย แก่ โจทก์ เกินกว่า ที่ ควร คิดหรือ คาดหมาย ได้ ว่า จะ เป็น ไป ตาม ปกติ และ เหตุ อัน สมควร
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ มิได้ รับ ความ เสียหาย ยัง สามารถ ใช้ที่ดิน และ อาคาร ได้ โดย สะดวก ตาม สภาพ ที่ดิน ของ โจทก์ ส่วน จำเลยที่ 2 ให้การ ว่า เป็น เพียง ผู้ รับจ้าง ขอ ให้ ศาล พิพากษา ยกฟ้องโจทก์
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 รื้อถอน สะพาน ส่วน ที่ ปิดบังหน้า ที่ดิน โฉนด ของ โจทก์ โดย ค่าใช้จ่าย ของ จำเลย ที่ 1 และ ให้จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือนละ 2,500 บาท นับแต่ วันพิพากษา จนกว่า จะ รื้อถอน เสร็จ ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียมแทน โจทก์ โดย กำหนด ค่า ทนายความ 5,000 บาท คำขอ นอกจาก นี้ ให้ ยกให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ค่าฤชา ธรรมเนียม ให้ เป็น พับ
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยก คำขอ ของ โจทก์ ใน ส่วน ที่ให้ ใช้ ค่าทดแทน การ ขาดประโยชน์ ตาม คำขอ ท้ายฟ้อง นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ที่ 1 ใช้ ค่า ทนายความชั้นอุทธรณ์ แทน โจทก์ 800 บาท
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ สร้างสะพานลอย พิพาท ลง บน ทางเดินเท้า หน้า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 25262 ของโจทก์ ซึ่ง ตั้ง อยู่ ริมถนน เพชรบุรีตัดใหม่ ที่ดิน ของ โจทก์ มี เพียงโครงสร้าง อาคาร ตึกแถว ที่ สร้าง ทิ้ง ร้าง ไว้ และ ยัง เป็น ที่ว่างเปล่า จึง มี ปัญหา ว่า การ สร้าง สะพานลอย พิพาท ของ จำเลย ที่ 1เป็น เหตุ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เดือดร้อน เสียหาย เพียงใด หรือ ไม่เห็น ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 บัญญัติ ว่า ‘บุคคล ใดใช้ สิทธิ ของ ตน เป็น เหตุ ให้ เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ ได้ รับ ความเสียหาย หรือ เดือดร้อน เกิน ที่ ควร คิด หรือ คาดหมาย ได้ ว่า จะ เป็นไป ตาม ปกติ และ เหตุ อันควร ใน เมื่อ เอา สภาพ และ ตำแหน่ง ที่ อยู่แห่ง ทรัพย์สิน นั้น มา คำนึง ประกอบ ไซร้ ท่าน ว่า เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ มี สิทธิ จะ ปฏิบัติการ เพื่อ ยัง ความ เสียหาย หรือเดือดร้อน นั้น ให้ สิ้น ไป ทั้งนี้ ไม่ ลบล้าง สิทธิ ที่ จะ เรียก เอาค่า ทดแทน’ เห็น ได้ ว่า บทบัญญัติ ดังกล่าว นี้ ความ เสียหาย หรือ ความเดือดร้อน ที่ เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ ได้ รับ นั้น จะ ต้อง ถึง ขนาดเกิน ที่ ควร คิด หรือ คาดหมาย ได้ ว่า จะ เป็น ไป ตาม ปกติ และ เหตุอัน ควร หรือ อีก นัย หนึ่ง ก็ คือ ได้ รับ ความ เดือดร้อน หรือ ความเสียหาย เป็น พิเศษ เกินกว่า ธรรมดา ตาม ความ รู้สึก ของ บุคคล ทั่วๆไป จึง จะ มี สิทธิ ฟ้อง ผู้ใช้ สิทธิ ให้ เกิด ความ เสียหาย นั้น ได้ข้อเท็จจริง ปรากฏ ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 25262 ของ โจทก์ ยัง มี สภาพเป็น ที่ ว่างเปล่า มี ต้นไม้ และ วัชชพืช ขึ้น ปกคลุม โครงสร้าง อาคารตึกแถว ที่ สร้าง ทิ้ง ร้าง ไว้ ตั้งแต่ โจทก์ ซื้อ ที่ดิน แปลง นี้มา ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 จนกระทั่ง บัดนี้ โจทก์ ยัง มิได้ ปรับปรุง พัฒนาให้ เป็น ที่อยู่ อาศัย แต่ อย่างใด อีก ทั้ง โจทก์ เอง ก็ มิได้ อยู่ใน ที่ดิน แปลง นี้ ฉะนั้น โจทก์ จึง มิได้ รับ ความ เดือดร้อน รำคาญอัน เกิดจาก การ สร้าง สะพานลอย พิพาท ของ จำเลย ที่ 1 แต่ ประการ ใดและ เมื่อ คำนึง สภาพ และ ตำแหน่ง ที่ อยู่ แห่ง ที่ดิน ของ โจทก์ มาประกอบ แล้ว เห็นว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 25262 ของ โจทก์ ตั้ง อยู่ริมถนน เพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่ง เป็น ย่าน ธุกิจการค้า แวดล้อม ไป ด้วยอาคาร พาณิชย์ สภาพ ที่ดิน ของ โจทก์ มิใช่ อยู่ ใน ย่าน ที่อยู่ อาศัยอย่างไร ก็ ดี ปรากฏ จาก คำเบิกความ ของ นาย บำเพ็ญ พยาน จำเลย ที่ 1ว่า โครงสร้าง สะพาน บัง หน้า ที่ดิน ของ โจทก์ ไม่ หมด ทาง คณะกรรมการจัด ระบบ การ จราจร ทางบก ใน สำนัก นโยบาย และ แผนงาน มหาดไทย ได้ คำนึงถึง เรื่อง โครงสร้าง สะพาน บังหน้า ที่ดิน ของ โจทก์ ด้วย จึง ได้กำหนด ให้ โครงสร้าง ของ บันได สะพาน ทาง ด้าน ใต้ (หน้า ที่ดิน ของโจทก์) เป็น บันไดพับ เพื่อ มิให้ ติดขัด ใน การ เข้า ออก ที่ดิน ของโจทก์ แสดงว่า การ สร้าง สะพานลอย พิพาท นี้ จำเลย ที่ 1 ได้ พยายามให้ เกิด ความ เดือดร้อน เสียหาย แก่ โจทก์ น้อย ที่สุด โจทก์ มิได้ รับความเดือดร้อน รำคาญ เป็น พิเศษ จาก การ สร้าง สะพานลอย พิพาท หน้าที่ดิน ของ โจทก์ แต่ ประการ ใด
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ค่าฤชา ธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล ให้ เป็นพับ

Share