แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า ‘ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร’. ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร. แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น. หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้.นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย. ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้. ไม่.ทำให้จำเลยที่ 1. ไม่.เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย.
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา. ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบ.มิใช่การแกล้งกล่าวหา. แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้ว.ละเว้นไม่จับกุม.ย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149.
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน. แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า. หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ. ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่า.จำเลยที่2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1. โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน. ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งสารวัตรประจำกองปราบปรามกรุงเทพฯ มีอำนาจสืบสวนสอบสวนจับกุมผู้กระทำผิดอาญาทั่วราชอาณาจักร ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นราษฎรได้บังอาจสมรู้ใช้วานยุยงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้อำนาจหน้าที่มิชอบ โดยบังคับขู่เข็ญข่มขืนใจให้นายใจจิ่งหรือเท้า แซ่ก๊วย และนางสาวประทุมมาศหรือม่วย แซ่ก๊วย ยอมจ่ายเงิน5,000 บาทแก่จำเลยทั้งสอง โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าได้แทงสลากกินรวบโดยถือเลขท้ายสามตัวของรางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาลงวดวันที่25 กันยายน 2506 เป็นหลักแพ้ชนะไว้กับบุคคลทั้งสองดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ได้แทงถูกเลขรางวัลดังกล่าว เป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองซึ่งกลัวตามคำขู่ว่าจะถูกตั้งข้อหาเป็นเจ้ามือสลากกินรวบถูกจับไปสอบสวนและถูกสั่งขังเป็นบุคคลอันธพาลยอมจ่ายเงินเป็นจำนวน 3,000บาทแก่จำเลยทั้งสองไป ทั้งนี้ โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังอาจใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ กระทำการดังกล่าว และยังปฏิบัติละเว้นปฏิบัติหน้าที่อันมิชอบโดยร่วมมือกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เข้าเล่นสลากกินรวบอันเป็นผิดกฎหมาย ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 149, 157, 84, 86 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 4, 5, 13 ริบโพยสลากกินรวบของกลางกับคืนเงิน 3,000 บาท และสัญญากู้แก่เจ้าของ จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้ใช้อำนาจหน้าที่มิชอบบังคับขู่เข็ญผู้เสียหายให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148บทเดียว ไม่ผิดตามมาตรา 149, 157 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าพนักงานเป็นผู้จ้างวานใช้ให้กระทำผิด จึงผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 86 พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502มาตรา 4 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี ลงโทษจำเลยที่ 2 เพียง2 ใน 3 ตามมาตรา 86 ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีมากเป็นเหตุบรรเทาโทษจึงลดโทษจำเลยคนละ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงเหลือโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี 6 เดือนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย โพยสลากกินรวบให้ริบเงิน 3,000 บาทคืนให้นายใจจิ่งหรือเท้าผู้เสียหาย สัญญากู้เงินคืนให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงยืนตามศาลชั้นต้นและวินิจฉัยว่าอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ว่ามิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายฟังไม่ขึ้นแต่วินิจฉัยการกระทำของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นการขู่ว่าจะกระทำการซึ่งตนมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ เพราะนายใจจิ่งเป็นเจ้ามือสลากกินรวบมิใช่เป็นการแกล้งกล่าวหาโดยปราศจากมูลความจริง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 มิใช่มาตรา 148ดังที่ศาลชั้นต้นปรับบทวินิจฉัย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่แจ้งเรื่องถูกสลากกินรวบให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือนั้น ก็สุดแต่ดุลพินิจของจำเลยที่ 1 จะพิจารณาดำเนินการเองจึงไม่เป็นผิดในฐานสนับสนุนการกระทำผิด พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 5 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามฟ้อง ให้ยกฟ้องโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 เสีย ความอื่นนอกจากที่แก้นี้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ฎีกาซึ่งศาลสั่งรับแต่ปัญหาข้อกฎหมายว่า (1) จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งสารวัตรแผนก 2 กองกำกับการ 6 กองปราบปราม มิได้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดฐานเล่นการพนันจึงมิใช่เจ้าพนักงานเกี่ยวกับเรื่องราวตามฟ้อง อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 149 (2) หากจะถือว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดทั่วราชอาณาจักรพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำภายในอำนาจหน้าที่โดยชอบ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับฎีกาจำเลยที่ 1 ว่า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 ออกตามความในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 ได้กำหนดเขตอำนาจของกองปราบปรามไว้ว่า “กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร” ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดคดีอาญาทั้งปวงได้ทั่วราชอาณาจักร แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดแบ่งเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ เช่นกองกำกับการ 6ซึ่งจำเลยที่ 1 สังกัดอยู่นี้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละกองแผนกไว้เท่านั้น หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตอำนาจของตน นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย เพียงแต่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่และศาลอุทธรณ์ฟังว่า นายใจจิ่งเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่การแกล้งกล่าวหาเรียกได้ว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบ แต่การที่จำเลยที่ 1 ขู่ให้ชำระเงินแก่จำเลยที่ 2แล้วละเว้นไม่จับกุม เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ส่วนฎีกาโจทก์ที่ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่าข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสารวัตรกองปราบปราม หากแต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในฐานะเจ้าพนักงานขู่เข็ญเอาจากนายใจจิ่งเองโดยพลการ ไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 โดยการใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด พิพากษายืน.