คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ให้รื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ๆ ได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด 1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์-ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องเป็นใจความว่า โจทก์ได้ออกประกาศอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารและตามเทศบัญญัติกำหนดอาคารที่ปลูกสร้างริมถนนแสงชูโตว่า จากแนวหลังตึก … นั้น ให้เว้นไว้มีความกว้าง ๔ เมตร โดยตลอดห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารยื่นล้ำออกไปในระยะที่เว้นไว้นั้นระหว่างวันที่ ๑๖ ต.ค. ๒๔๙๗ ถึงวันที่ ๓๐ พ.ค. ๒๔๙๘ จำเลยซึ่งได้ทราบประกาศแล้ว ได้ปลูกสร้างต่อเติมอาคารตึกแถวที่ถูกไฟไหม้โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนประกาศและยื่นล้ำออกไปในระยะดังกล่าว มิได้เว้นแนวตึกไว้ ๔ เมตร ทั้งการต่อเติมตึกก็อยู่ในลักษณะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคาร นายช่างซึ่งโจทก์แต่งตั้งขึ้นได้ตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข้.แรงและไม่ปลอดภัย ฯ นายยกเทศมนตรีบ้านโป่งในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวภายใน ๓๐ มิ.ย. ๒๔๙๘ จำเลยทราบคำสั่งแล้วฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๙๘ พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรี ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานปลูกสร้างต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ครั้นวันที่ ๑๒ ก.ย. ๒๔๙๘ จำเลยกับนายกเทศมนตรี ฯ ได้ตกลงกันว่า ตามที่นายกเทศมนตรีแถลงต่อศาลว่า อาคารของจำเลยที่ทำการต่อเติมนั้นชำรุดไม่ปลอดภัย และตรงหลังอาคารจะตัดซอยเข้ามากว้าง ๔ เมตร ซอยนี้จะติดอาคารของจำเลยตามกว้าง ๔.๓๐ เมตร จำเลยยอมตกลงว่า ถ้าจะตัดซอยเข้ามาจริงจำเลยยอมรื้ออาคารเท่าที่จะใช้เป็นซอย แต่จำเลยขอผัดไป ๑ ปี นับแต่วันทำยอมปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๘ ในวันเดียวกัน พนักงานอัยการได้ถอนฟ้องคดีอาญาไป ศาลอนุญาต
โจทก์ได้ดำเนินการตัดซอยหลังอาคารตึกแถวริมถนนแสงชูโตเข้ามาเป็นส่วนมาก และตัดเข้ามาถึงอาคารของจำเลยแล้ว คงเหลือเฉพาะอาคารตึงแถวสองชั้นของจำเลยเท่านั้น แต่จำเลยไม่ยอมรื้ออาคารตามที่จำเลย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยรื้อถอน ฯ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยไห้การต่อสู้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาที่โจทก์อ้างไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากจะถือว่าใช่ก็ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อตกลงเพื่อให้เลิกดีหรือถอนคดีอาญาแผ่นดิน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคณะเทศมนตรีเทศบาลไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านโป่งตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นการถูกต้องตามกฎหมายใช้บังคับได้และเห็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารเท่าที่จะใช้เป็นซอย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ พ.ศ. ๒๔๗๙ มาตรา ๑๑ วรรค ๒ บัญญัติว่า ” เมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นขอร้อง ศาลอาจสั่งให้ผู้กระทำผิด … รื้อถอนอาคาร … ได้ ฯลฯ ” คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านโป่งในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า จึงเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ และเห็นว่าจำเลยตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าของท้องถิ่นว่าจะยอมรื้อถอนอาคารโดยขอผัดการรื้อถอนไปภายในกำหนด ๑ ปี นั้น เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือคณะเทศมนตรีฯจะยังไม่ร้องซอหรือฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ฯ จำเลยก็ไม่จำต้องรื้อถอนก่อน ๑ ปี ฯลฯเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการ และแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด.
พิพากษายืน.

Share